๓๒๖. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดนครปฐม และพัฒนาการจังหวัดนครปฐม ลงนามบันทึก "อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" รณรงค์สวมใส่ผ้าไทยทุกวัน

นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มอบหมาย ร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยขอให้เชิญชวนผู้นำ/กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายในงานพัฒนาชุมชน ร่วมใส่ผ้าไทยทุกวัน

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖


๓๒๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดลำพูน จับมือ ๒๘ องค์กร ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ “โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ระหว่างจังหวัดลำพูน และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดลำพูน กับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคีเครือข่าย และภาคประชาสังคม ทั้งหมด ๒๘ องค์กร/หน่วยงาน ได้แก่ แม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน สภาสตรีจังหวัดลำพูน ที่ทำการปกครองจังหวัดลำพูน สำนักงานจังหวัดลำพูน สำนักงานคลังจังหวัดลำพูน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน สำนักงานแรงงานจังหวัดลำพูน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำพูน คณะกรรมการสันนิบาตเทศบาลจังหวัดลำพูน ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดลำพูน เครือข่ายโอทอปจังหวัดลำพูน สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยจังหวัดลำพูน หอการค้าจังหวัดลำพูน สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน คณะกรรมการคลัสเตอร์สิ่งทอจังหวัดลำพูน บริษัทประชารัฐ รักสามัคคีลำพูน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดลำพูน ณ เวทีกลาง ในงานสักการะพระนางจามเทวีและงานฤดูหนาว บ้านแม่สารป่าแดด ถนนสายลำพูน - ดอยติ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน

ในการนี้ นางอาภัสรา ธงพิทักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดลำพูน ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อ 1) สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก 2) เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแส ความนิยม การแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ผ้าท้องถิ่นไทยให้คงคู่อยู่ในแผ่นดินสืบไปและยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มสตรีในท้องที่/ท้องถิ่น ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๒๔. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดกระบี่ และพัฒนาการจังหวัดกระบี่ ลงนามบันทึก "อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบหมายให้นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการ “อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ” ระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา กับ ปลัดจังหวัด นายก อบจ. ท้องถิ่นจังหวัดองค์กร สตรีสภาสตรีแห่งชาติ ประกอบด้วย องค์กรสมาชิกของสภาสตรีทุกสมาคมที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประธานเครือข่าย OTOP และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา โดยมี น.ส.ศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายพิศ นันทพูนพิพัฒน์ รกท.พจ.นครราชสีมา และหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอทุกคน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าวด้วย ณ โรมแรมสบายโฮเทล อ.เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา


ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๒๓. สภาสตรีแห่งขาติฯ เรียนเชิญคณะกรรมการจัดงานกาชาดประจำปี ๒๕๖๒ ร่วมพบปะสังสรรค์และสนับสนุนสินค้าชุมชนในงาน “OTOP City 2019”

๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ และ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ ในฐานะ ประธานร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒ เปิดห้อง วีไอพี ต้อนรับ และเลี้ยงรับรอง คณะกรรมการจัดงานกาชาดร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒ ประกอบด้วยรองประธานสภาสตรีแห่งชาติ นางสุกัญญา ประจวบเหมาะ ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี อาจารย์ศรีวรรณ สายฟ้า และ อาจารย์สมจิตร ศิริเสนา เลขาธิการสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ห้อง ๑ – ๓ อิมแพคเมืองทองธานี
ในโอกาสนี้ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กล่าวเชิญชวนให้คณะกรรมการจัดงานกาชาดร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒ สนับสนุนสินค้าในงาน “OTOP City 2019” จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ ๑๓ ถึง ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ – ๓ อิมแพคเมืองทองธานี และร่วมเป็นต้นแบบให้คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย ไม่ว่าจะเป็นผ้าฝ้ายผ้าไหม เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย
"หากคนไทยทั้งประเทศพร้อมใจกันสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันทั้งประเทศ จะช่วยเป็นการส่งเสริมการทอผ้าในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ถ้าคนไทยร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย เพียง ๓๕ ล้านคน ตื่นตัวให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และถ้าหากคนไทยร่วมใจกันแต่งกายด้วยผ้าทอไทยเป็นประจำทุกวัน แค่ ๓๕ ล้านคน เฉลี่ยซื้อคนละ ๑๐ เมตร จะมีความต้องการผ้าไทย ๓๕๐ ล้านเมตรๆ ละ ๓๐๐.-บาท คิดเป็นเงิน กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท” ประธานสภาสตรี กล่าว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๒๒. ประธานสภาสตรีแห่งชาติ เปิดเวทีรับฟังปัญหาการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของกลุ่มสตรีภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันนี้ 18 ธันวาคม 2562 เวลา 11.00 น. - 14.00 น.
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เปิดเวทีรับฟังปัญหาการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของกลุ่มสตรีภาคใต้ โดยมีหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด 7 จังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง สตูล ภูเก็ต ปัตตานี และพังงา) ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 ของกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้ "โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน" ร่วมเวทีเสวนา

๓๒๑. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน บรรยายพิเศษ “สตรี change for good” สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ตามโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จากภาคเหนือ และภาคใต้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี

๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พบปะให้กำลังใจสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อม บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สตรี change for good” ปลุกสตรี มุ่งสร้างชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ตามโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ให้กับคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจากภาคเหนือ และภาคใต้ จำนวนกว่า ๕๐๐ คน ที่เข้าร่วมรับฟัง โอกาสนี้ได้มอบรางวัล นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความสำเร็จ การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ๔ รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิษณุโลก รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน รางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดตาก ลำปาง ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๑-๑๓ อิมแพค เมืองทองธานี
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นเครื่องมือที่จะใช้พัฒนาอาชีพ พัฒนารายได้ ให้กับสตรีไทย ซึ่งเราต้องให้เกียรติสตรีเพราะว่าสตรีเป็นเพศแม่ เป็นผู้ที่เราต้องให้การนับถือเสมือนเขาก็เป็นผู้นำคนหนึ่ง การทำงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ ต้องเข้าใจการทำงานในการพัฒนาโดยนำหลักการของ change for good เข้ามาปรับใช้ ต้องช่วยกันบริหารจัดการให้กองทุนมีความเข้มแข็งดูภาพรวมรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่อที่เราจะได้ลดจำนวนหนี้เสียลง ซึ่งตั้งเป้าให้ยอดหนี้เสียคงเหลือเพียง ๐-๙ % เพื่อที่จะนำทุนหมุนเวียนที่ได้กลับคืนมานำไปใช้กับกลุ่มอื่นต่อให้เกิดประโยชน์ แล้วนำมาพัฒนาอาชีพ พัฒนารายได้ ในประเทศต่อไป

ขณะที่ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” พร้อมกล่าวด้วยว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งทุนในการพัฒนาสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ สตรีมีความมั่นคงด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านเงินทุนหมุนเวียนด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ ๓ ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เปิดโอกาสให้สตรีได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน และเป็นแหล่งทุนในการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีผ่านเงินอุดหนุน “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เปรียบเสมือนกองทุนแห่งลมหายใจของสตรี เพราะเป็นกองทุนเพื่อสตรี โดยเฉพาะสตรีที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่สามารถสนับสนุนสตรี ทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรี ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ สร้างพลังของสตรีให้เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงต่อไป” ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวย้ำ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ กองทุนฯ ได้จัดสรรงบประมาณในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประเภทเงินทุนหมุนเวียน ๔,๘๙๒,๑๘๐,๖๔๐ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๓๙,๐๐๓ โครงการ และประเภทเงินอุดหนุน ) ๗๕๓,๗๐๔,๗๔๖ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๑๑,๙๓๕ โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ ) เพื่อช่วยให้สมาชิกมีทุนในการประกอบอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ สถาบันครอบครัวอยู่พร้อมหน้า ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่น สตรีได้รับการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรี ทำให้เกิดการยอมรับจากสังคม และสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
ดร.วันดี กล่าวเพิ่มเติมเป็นกำลังใจให้สตรีจากภาคเหนือ และภาคใต้ ที่เข้ารับฟังในวันนี้ ขอให้ร่วมกันใช้พลังของสตรี ให้มากที่สุด ช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นด้วยดีทุกปัญหา มีความมุ่งมั่นเพียงช่วยกันคนละไม้คนละมือ ความสำเร็จไม่ไปไหน อยู่ในมือของสตรีเราทุกคน
นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานกองทุนฯ ระดับจังหวัด การจัดเวทีเสวนาจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้ดีเด่น รวมทั้งการมอบเกียรติบัตรจังหวัดที่นำเสนอผลการ work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ รุ่นละ ๕ รางวัล และจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้กองทุนฯ ดีเด่น ๑๐ จังหวัด โอกาสนี้กลุ่มสตรีภาคต่างๆ ได้ร่วมศึกษาดูงานในการนำผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ร่วมจำหน่าย ในงาน “OTOP City 2019” ด้วย

ขอบคุณภาพ/ข่าว : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๒๐. นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพ แห่งประเทศไทย ปทุมนนท์ นำคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯประจำปี ๒๕๖๒ ด้วยพลังเข้มแข็ง

คุณสุกัญญา นิยมมาลัย นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพ แห่งประเทศไทย ปทุมนนท์ กล่าวว่า งานกาชาดประจำปี ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพ แห่งประเทศไทย ปทุมนนท์ เป็นองค์กรสมาชิกของสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความภาคภูมิใจ ในการมาปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าภาพประจำร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ด้วยงานกาชาด เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำหรับในปี ๒๕๖๒ งานกาชาดจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เย็นศิระเพราะบริบาล เกิดสายธารการให้ที่งดงาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ราชูปถัมภกสภากาชาดไทย เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจพระบรมราชูปถัมภก องค์สภานายิกาและองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เพื่อเผยแพร่ภารกิจและกิจกรรมของสภากาชาดไทยในการช่วยช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานผู้มีอุปการคุณและประชาชนได้มีส่วนร่วมกับสภากาชาดไทย และหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย โดยมีที่ปรึกษาสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพ แห่งประเทศไทย ปทุมนนท์ และคณะกรรมการ ประกอบด้วย ที่ปรึกษา คุณรัชนี วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา คุณเบญจมาศ ชาญประดิษฐ์ และกรรมการ ประกอบด้วยคุณณัฐฉรา พูลเกษ คุณธิดารักษ์ สัจจะพงศ์ คุณกัณตนา ตันพิพัฒน์ คุณวรรณพร บวรวราภรณ์ คุณอิสรีย์ ธนกุลเสถียร คุณธัญมน เจริญรุ่งศิริ คุณปฒิชยา มีแสงนิล คุณจิตสุนันท์ ศีลหพงศ์ เป็นต้น
ทั้งนี้บรรยากาศในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการสมาคมฯ และประชาชนที่เข้ามาในร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ ต่างมีความสุข ในการมาทำบุญเป็นผู้ให้ เพื่อร่วมมทำบุญผ่านร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ อีกทั้งบรรยากาศของร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความสุขสนุกสนาน สร้างรอยยิ้ม ความรักความสามัคคี ช่วยกันขายสินค้าต่างๆ หรือเชิญให้ลูกค้าเข้ามาซื้อบัตรสอยกัลปพฤกษ์ ด้วยการต้อนรับที่อบอุ่นมีไมตรีจิต สร้างความสนุกสนานกับลูกค้าที่ได้รับรางวัลพิเศษอีกด้วย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ



๓๑๙. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ บรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ให้กลุ่มสตรีภาคเหนือ ปลุกพลังสตรี สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาศักยภาพของสตรี เพื่อร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง

วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สตรี change for good” ให้กับสมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี แบ่งการอบรมออกเป็น ๔ รุ่น ๔ ภาค ๆ ละ จำนวน ๕๐๐ คน รวม ๒,๐๐๐ โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัด “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ ตาม “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๑ - ๑๓ อิมแพค เมืองทองธานี

สืบเนื่องจาก “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังสตรีซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกองทุนฯ ในระดับพื้นที่ ได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และทิศทางการดำเนินงานกองทุนฯ ในอนาคต อีกทั้งโครงการในครั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในช่องทางส่งเสริมการตลาดให้กับกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนฯ ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน OTOP CITY 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี . และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ คน และในวันนี้ เป็นวันที่ ๒ ของการบรรยายให้กับกลุ่มสตรีภาคเหนือ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งการบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานกองทุนฯ ระดับจังหวัด การจัด work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกองทุนฯ ในงาน OTOP City 2019 การจัดเวทีเสวนาจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้ดีเด่น รวมทั้งการมอบเกียรติบัตรจังหวัดที่นำเสนอผลการ work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ รุ่นละ ๕ รางวัล และจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้กองทุนฯ ดีเด่น ๑๐ จังหวัด
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” พร้อมกล่าวด้วยว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งทุนในการพัฒนาสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ สตรีมีความมั่นคงด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านเงินทุนหมุนเวียนด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยล ๓ ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เปิดโอกาสให้สตรีได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน และเป็นแหล่งทุนในการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีผ่านเงินอุดหนุน
“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี “เปรียบเสมือนกองทุนแห่งลมหายใจของสตรี เพราะเป็นกองทุนเพื่อสตรี โดยเฉพาะสตรีที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่สามารถสนับสนุนสตรี ทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรี ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ สร้างพลังของสตรีให้เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงต่อไป” ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวย้ำ

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๘. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน บรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ในงาน” รวมพลังสตรี พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สร้างโอกาสให้กับสตรีไทย

วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน เรียนเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยาย เรื่อง พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน โดย มี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จากภาคกลาง จำนวนมากกว่า ๕๐๐ คน เข้าร่วมรับฟังการบรรยายดังกล่าว ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๑- ๑๓ อิมแพค เมืองทองธานี
ดร.วันดี กล่าวว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ในการพัฒนาอาชีพสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ สตรีมีความมั่นคงด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านเงินทุนหมุนเวียนด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ ๓ ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เปิดโอกาสให้สตรีได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน และเป็นแหล่งทุนในการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีผ่านเงินอุดหนุน โดยกล่าวถึงศักยภาพของสตรีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าสินค้า ด้วยการดึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษท้องถิ่นสู่สากล คิดอย่างสร้างสรรค์ มีทั้งสินราคาถูก ราคาแพง จะเห็นว่ากรมการพัฒนาชุมชน จัดให้มี OTOP ศิลปิน เชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ผลงานของบุคคลที่ได้อนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี ที่มุ่งพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ เน้นการสร้างรายได้จากความต้องการของชุมชน และ OTOP เลดี้ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชน มีบูธ ๒๐ กว่าบูธ ให้กับกองทุนพัฒนาสตรี ขอให้ทุกท่านไปเยี่ยมชมผลงานของพวกเราด้วย
ดร.วันดีกล่าวเพิ่มเติมเป็นกำลังใจให้สตรีทุกท่านว่า ขอให้ร่วมกันใช้พลังของสตรี ให้มากที่สุด ช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นด้วยดีทุกปัญหา ขอให้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ความสำเร็จไม่ไปไหน อยู่ในมือของสตรีเราทุกคน
ในโอกาสนี้นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “สตรี change for good”ปลุกสตรี มุ่งสร้างชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยสตรีมีส่วนร่วมพัฒนาในทุกมิติ สร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ทำให้ชุมชนมีความสุข และกล่าวความสำคัญของพลังสตรีในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ สร้างความปลื้มปิติให้กับกลุ่มสตรีผู้เข้าร่วมรับการบรรยายพิเศษในวันนี้เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้มีภายในงานมีการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานกองทุนฯ ระดับจังหวัด การจัด work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกองทุนฯ ในงาน “OTOP City 2019” การจัดเวทีเสวนาจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้ดีเด่น รวมทั้งการมอบเกียรติบัตรจังหวัดที่นำเสนอผลการ work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ รุ่นละ ๕ รางวัล และจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้กองทุนฯ ดีเด่น ๑๐ จังหวัด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัด “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังสตรีซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกองทุนฯ ในระดับพื้นที่ ได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และทิศทางการดำเนินงานกองทุนฯ ในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี . และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ คน แบ่งการอบรมออกเป็น ๔ รุ่น ๔ ภาค มีการบรรยาย “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” โดยวิทยากรพิเศษผู้ทรงคุณวุฒิได้รับเกียรติจาก ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ อีกทั้งโครงการในครั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในช่องทางส่งเสริมการตลาดให้กับกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนฯ ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน “OTOP CITY 2019” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐- ๒๕๖๒ กองทุนฯ ได้จัดสรรงบประมาณในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม ๗๖จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประเภทเงินทุนหมุนเวียน ๔,๘๙๒,๑๘๐,๖๔๐ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๓๙,๐๐๓3โครงการ และประเภทเงินอุดหนุน ๗๕๓,๗๐๔,๗๔๖ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๑๑,๙๓๕ โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒) เพื่อช่วยให้สมาชิกมีทุนในการประกอบอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ สถาบันครอบครัวอยู่พร้อมหน้า ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่น สตรีได้รับการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรี ทำให้เกิดการยอมรับจากสังคม และสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เปรียบเสมือนกองทุนแห่งลมหายใจของสตรี เพราะเป็นกองทุนเพื่อสตรี โดยเฉพาะสตรีที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่สามารถสนับสนุนสตรี ทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรี ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ สร้างพลังของสตรีให้เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงต่อไป”

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดสมุทรปราการ พัฒนาการจังหวัด องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดสมุทรปราการ และภาคีเครือข่ายลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันพุธที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงใว้ในแผ่นดิน”เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม/องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง และมีการจัดแสดงผ้าไทย จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเครื่องแต่งกาย ณ ห้องสิมิลัน โรงแรมเบย์ ถนนศรีนครินทร์ ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ