๓๑๙. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ บรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ให้กลุ่มสตรีภาคเหนือ ปลุกพลังสตรี สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาศักยภาพของสตรี เพื่อร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง

วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สตรี change for good” ให้กับสมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี แบ่งการอบรมออกเป็น ๔ รุ่น ๔ ภาค ๆ ละ จำนวน ๕๐๐ คน รวม ๒,๐๐๐ โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัด “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ ตาม “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๑ - ๑๓ อิมแพค เมืองทองธานี

สืบเนื่องจาก “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังสตรีซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกองทุนฯ ในระดับพื้นที่ ได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และทิศทางการดำเนินงานกองทุนฯ ในอนาคต อีกทั้งโครงการในครั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในช่องทางส่งเสริมการตลาดให้กับกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนฯ ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน OTOP CITY 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี . และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ คน และในวันนี้ เป็นวันที่ ๒ ของการบรรยายให้กับกลุ่มสตรีภาคเหนือ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งการบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานกองทุนฯ ระดับจังหวัด การจัด work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกองทุนฯ ในงาน OTOP City 2019 การจัดเวทีเสวนาจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้ดีเด่น รวมทั้งการมอบเกียรติบัตรจังหวัดที่นำเสนอผลการ work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ รุ่นละ ๕ รางวัล และจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้กองทุนฯ ดีเด่น ๑๐ จังหวัด
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” พร้อมกล่าวด้วยว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งทุนในการพัฒนาสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ สตรีมีความมั่นคงด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านเงินทุนหมุนเวียนด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยล ๓ ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เปิดโอกาสให้สตรีได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน และเป็นแหล่งทุนในการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีผ่านเงินอุดหนุน
“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี “เปรียบเสมือนกองทุนแห่งลมหายใจของสตรี เพราะเป็นกองทุนเพื่อสตรี โดยเฉพาะสตรีที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่สามารถสนับสนุนสตรี ทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรี ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ สร้างพลังของสตรีให้เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงต่อไป” ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวย้ำ

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๘. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน บรรยายพิเศษ “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ในงาน” รวมพลังสตรี พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สร้างโอกาสให้กับสตรีไทย

วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับเกียรติจากกรมการพัฒนาชุมชน เรียนเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยาย เรื่อง พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน โดย มี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จากภาคกลาง จำนวนมากกว่า ๕๐๐ คน เข้าร่วมรับฟังการบรรยายดังกล่าว ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๑- ๑๓ อิมแพค เมืองทองธานี
ดร.วันดี กล่าวว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ในการพัฒนาอาชีพสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ สตรีมีความมั่นคงด้านรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในชุมชน ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านเงินทุนหมุนเวียนด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ ๓ ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เปิดโอกาสให้สตรีได้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน และเป็นแหล่งทุนในการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีผ่านเงินอุดหนุน โดยกล่าวถึงศักยภาพของสตรีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าสินค้า ด้วยการดึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษท้องถิ่นสู่สากล คิดอย่างสร้างสรรค์ มีทั้งสินราคาถูก ราคาแพง จะเห็นว่ากรมการพัฒนาชุมชน จัดให้มี OTOP ศิลปิน เชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ผลงานของบุคคลที่ได้อนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น OTOP นวัตวิถี ที่มุ่งพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ เน้นการสร้างรายได้จากความต้องการของชุมชน และ OTOP เลดี้ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชน มีบูธ ๒๐ กว่าบูธ ให้กับกองทุนพัฒนาสตรี ขอให้ทุกท่านไปเยี่ยมชมผลงานของพวกเราด้วย
ดร.วันดีกล่าวเพิ่มเติมเป็นกำลังใจให้สตรีทุกท่านว่า ขอให้ร่วมกันใช้พลังของสตรี ให้มากที่สุด ช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นด้วยดีทุกปัญหา ขอให้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ความสำเร็จไม่ไปไหน อยู่ในมือของสตรีเราทุกคน
ในโอกาสนี้นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “สตรี change for good”ปลุกสตรี มุ่งสร้างชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยสตรีมีส่วนร่วมพัฒนาในทุกมิติ สร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ทำให้ชุมชนมีความสุข และกล่าวความสำคัญของพลังสตรีในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน ขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ สร้างความปลื้มปิติให้กับกลุ่มสตรีผู้เข้าร่วมรับการบรรยายพิเศษในวันนี้เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้มีภายในงานมีการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานกองทุนฯ ระดับจังหวัด การจัด work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกองทุนฯ ในงาน “OTOP City 2019” การจัดเวทีเสวนาจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้ดีเด่น รวมทั้งการมอบเกียรติบัตรจังหวัดที่นำเสนอผลการ work shop ประสบการณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนฯ รุ่นละ ๕ รางวัล และจังหวัดที่บริหารจัดการหนี้กองทุนฯ ดีเด่น ๑๐ จังหวัด
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัด “โครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมพลังสตรีซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกองทุนฯ ในระดับพื้นที่ ได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และทิศทางการดำเนินงานกองทุนฯ ในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด/อำเภอ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัด (กพส.จ.) คณะทำงานเครือข่ายอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี . และกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ คน แบ่งการอบรมออกเป็น ๔ รุ่น ๔ ภาค มีการบรรยาย “พลังสตรี สร้างสุขในชุมชน” โดยวิทยากรพิเศษผู้ทรงคุณวุฒิได้รับเกียรติจาก ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ อีกทั้งโครงการในครั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในช่องทางส่งเสริมการตลาดให้กับกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนฯ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนฯ ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน “OTOP CITY 2019” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐- ๒๕๖๒ กองทุนฯ ได้จัดสรรงบประมาณในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม ๗๖จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประเภทเงินทุนหมุนเวียน ๔,๘๙๒,๑๘๐,๖๔๐ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๓๙,๐๐๓3โครงการ และประเภทเงินอุดหนุน ๗๕๓,๗๐๔,๗๔๖ บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ๑๑,๙๓๕ โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒) เพื่อช่วยให้สมาชิกมีทุนในการประกอบอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ สถาบันครอบครัวอยู่พร้อมหน้า ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่น สตรีได้รับการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรี ทำให้เกิดการยอมรับจากสังคม และสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เปรียบเสมือนกองทุนแห่งลมหายใจของสตรี เพราะเป็นกองทุนเพื่อสตรี โดยเฉพาะสตรีที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนที่สามารถสนับสนุนสตรี ทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรี ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ สร้างพลังของสตรีให้เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงต่อไป”

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดสมุทรปราการ พัฒนาการจังหวัด องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดสมุทรปราการ และภาคีเครือข่ายลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันพุธที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. นางศิวพร ฉั่วสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงใว้ในแผ่นดิน”เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม/องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง และมีการจัดแสดงผ้าไทย จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเครื่องแต่งกาย ณ ห้องสิมิลัน โรงแรมเบย์ ถนนศรีนครินทร์ ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๖ . สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดปราจีนบุรี ชมรมแม่บ้านมหาดไทย พัฒนาการจังหวัด องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดปราจีนบุรี และภาคีเครือข่ายลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานในพิธีและลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ระหว่างจังหวัดปราจีนบุรีกับส่วนราชการ และองค์กรภาคีเครือข่ายในงานพัฒนาชุมชน จำนวน ๑๒ หน่วย ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี สภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดปราจีนบุรี คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดปราจีนบุรี ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี คณะกรรมการเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดปราจีนบุรี คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดปราจีนบุรี คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจังหวัดปราจีนบุรี และคณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี ณ ห้องประชุม ๔๐๑ (สระมรกต) ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี
การลงนามในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และเพื่ออนุรักษ์ผ้าไทย ให้คงอยู่คู่แผ่นดิน รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย และองค์กรภาคีเครือข่ายในงานพัฒนาชุมชน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ


๓๑๕ สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดอุทัยธานี และพัฒนาการจังหวัด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงใว้ในแผ่นดิน”

วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงใว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทยเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม/องค์กร เข้าร่วมลงนาม จำนวน ๒๕ หน่วยงาน และการจัดแสดง การจำหน่าย ผ้าทอลายโบราณ ผ้าทอมือลาวครั่ง และการประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๓ โดยมี นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดอุทัยธานี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้ประกอบการ OTOP ภาคเอกชน ประชาชนและเจ้าหน้าที่พัฒนานาชุมชนจังหวัด เข้าร่วมฯ ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดอุทัยธานี ตำบลหนองไผ่แบน อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๔. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดนครพนม และพัฒนาการจังหวัด ลงนามบันทึกข้องตกลง( MOU)"สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย มีส่วนราชการ หน่วยงาน ภาคเอกชน กลุ่มองค์กร ประชาชน ร่วมพิธีลงนาม จำนวน ๗๓ หน่วยงาน/องค์กร โดยมี นายสามารถ โรจนวิเชียร พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และมีนายรังสรรค์ คัมภิรานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมพระธาตุพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" มีการจัดแสดงสินค้า "ผ้าไทนคร ร้อยหลากพรรณลาย" และจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ จากชุมชน มาจำหน่ายในงานอีกด้วย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับจังหวัดยะลา พัฒนาการจังหวัด จับมือ หน่วยงานภาคี และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

วันนี้ (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ) นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมศรียะลา อาคาร ๒ ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดยะลา
นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดินเพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รณรงค์ให้พี่น้องประชาชนคนไทย ร่วมใจกันแต่งกายด้วยผ้าไทยเป็นประจำทุกวัน เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงอยู่ และให้เห็นคุณค่าการอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลาได้รวบรวมข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการผ้าไทย รวมทั้งร้านตัดเย็บ เพื่อนำมาแสดงเผยแพร่ให้อย่างกว้างขวาง ด้วยการจัดกิจกรรมสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เช่น จัดนิทรรศการผ้าถิ่นไทย ออกร้านแสดงและจำหน่าย การเดินแบบผ้าชุดผ้าไทย พร้อมทั้งรณรงค์สวมใส่ชุดผ้าไทย ทุกวันตามนโยบายของจังหวัด ประกอบกับกระทรวงมหาดไทย ได้มุ่งเน้นให้ขับเคลื่อนและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดให้กรมการพัฒนาชุมชน ขับเคลื่อนงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและส่วนราชการในพื้นที่ รวมถึงการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ขึ้นในครั้งนี้
ด้านนายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดยะลา กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ที่สมัครใจร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดยะลา ในการปฏิบัติงานทุกวัน ยกเว้นในวันที่มีการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ หรือแบบฟอร์มของหน่วยงานนั้น ๆโดยมีหน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ จำนวนทั้งสิ้น ๒๘ หน่วยงาน และได้รับเกียรติจากนายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ร่วมเป็นสักขีพยาน
สำหรับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดยะลา ที่ร่วมโครงการในการผลิตผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๙ กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มศรียะลาบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มเก๋บาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มอาดือนันบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มสีมายา อำเภอเมืองยะลา กลุ่มบือแนบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มอิบรอเฮงบาติก อำเภอกรงปินัง กลุ่มแอนด์อินแฮนด์รามัน อำเภอรามัน กลุ่มบาติกมัดย้อมสีธรรมชาติ อำเภอรามัน และกลุ่มเสื้อยืดโปโลมลายู A&M by Imtihan (เอ แอน เอ็ม บาย อิมติฮาน)
สำหรับการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ในครั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการแสดงและจำหน่ายผ้าไทยในจังหวัดยะลา รวมทั้งได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไทยผ่านแค๊ตตาล็อก เพื่อเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้กับส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร และประชาชน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๑๒. สภาสตรีแห่งชาติ จับมือองค์กรสมาชิกสตรีนนทบุรี จับมือส่วนราชการจังหวัด ร่วมใจสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน

วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี มอบหมายให้ นายอดิเทพ กมลเวชช์ ปลัดจังหวัดนนทบุรี เป็นประธาน ลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่งมมือ (MOU) ร่วมโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี โดยนายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี กล่าวรายงาน และมีองค์กรเครือข่ายพัฒนาชุมชน คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดนนทบุรี กองทุนแม่ของแผ่นดิน ผู้นำอาสาพัฒนา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ร่วมลงนาม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้แทน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมเป็นเกียรติในการลงนามดังกล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนนทบุรี

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยคงอยู่คู่แผ่นดิน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้รณรงค์ให้สวมใส่ผ้าไทยในทุกวันอังคาร เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ผ่านการสวมใส่ผ้าถิ่นไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การลงนามวันนี้ เป็นการขอความร่วมมือหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน สมาคมองค์กร สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมมือร่วมใจกันสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน อีกด้วย

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๑๑. สภาสตรีแห่งชาติ จับมือองค์กรสมาชิก และกรมพัฒนาชุมชน เดินหน้า ชวนชาวโคราช สวมใส่ผ้าไทยตามโครงการ “อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ”

วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบหมายให้นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการ “อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ” ระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา กับ ปลัดจังหวัด นายก อบจ. ท้องถิ่นจังหวัดองค์กร สตรีสภาสตรีแห่งชาติ ประกอบด้วย องค์กรสมาชิกของสภาสตรีทุกสมาคมที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประธานเครือข่าย OTOP และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา โดยมี น.ส.ศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายพิศ นันทพูนพิพัฒน์ รกท.พจ.นครราชสีมา และหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอทุกคน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าวด้วย ณ โรมแรมสบายโฮเทล อ.เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา


ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๑๐. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมใจสวมใส่ชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยมี นางนิศากร สิงหเสนี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางกฤษณา แผ่แสงจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมลงนามร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดีจำนวน ๔๗ หน่วยงาน โดยมีวัตถุเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เชิดชูอัตลักษณ์ผ้าท้องถิ่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสนิยมแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย ทั้งจังหวัด ณ ลานพิธีเอนกประสงค์ หน้าศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมกันสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ได้พระราชทานโครงการด้านศิลปาชีพให้กับชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือโครงการศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริลำดับต้นๆ ของประเทศ ช่วยให้กลุ่มสตรีในพื้นที่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน มีรายได้เสริมจากอาชีพการทำประมงด้วยการทอผ้าฝ้ายด้วยกี่กระตุกแบบโบราณจนพัฒนากลายเป็นอาชีพหลัก ซึ่งปัจจุบันผ้าฝ้ายทอมือเขาเต่ามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ หากทุกคนพร้อมใจกันสวมใส่ก็จะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดให้คนทั่วไปได้ทราบ นอกจากนี้ ผ้าไทยยังถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ปัจจุบันมีการนำผ้าไทยมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่สวยงามทันยุคทันสมัยมากขึ้น ทำให้ชุดผ้าไทยยังคงอยู่ในกระแสนิยมสามารถสวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัย และถือเป็นการสนับสนุนสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ