๓๓๖. สภาสตรีแห่งชาติฯร่วมกับโรงเรียนวัดเวฬุวนาราม หนุนเยาวชน “ออมไม่อด จดไม่จน” สร้างจิตสำนึกเรื่องการออม เพื่ออนาคตที่มั่นคง

ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบหมายให้นางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะกรรมการฝ่ายวิชาการสภาสตรีแห่งชาติฯ ดำเนินการ จัดโครงการ “ออมไม่อด จดไม่จน” โดยมี คณะวิทยากรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้ความรู้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน ขณะเดียวกันก็เป็นการปูพื้นฐานให้กับเยาวชนนักเรียน มีนิสัยรักการออมโดยผ่านการจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย รู้จักการคิดคำนวณ รู้คุณค่าของเงิน และมีวินัยทางการเงินโดยผู้เข้าอบรมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม นอกจากนี้ยังมี สมาชิกของสภาสตรีแห่งชาติฯ สนใจลงชื่อเข้าร่วมรับฟัง รวมจำนวนทั้งหมด ๑๙๕ คน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
นางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติ กล่าวว่า ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้อนุมัติให้ฝ่ายวิชาการ จัดทำโครงการ “ออมไม่อด จดไม่จน” ร่วมกับคณะวิทยากรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเยาชน และกลุ่มเป้าหมายรองเป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯและประชาชนทั่วไป เนื่องจากการรู้จักเก็บหอมรอบริบเป็นก้าวสำคัญ ในการจุดประกายกระตุ้นให้เยาวชนรู้จักอดออม อีกทั้งมีหลักเกณฑ์การคิด ทำให้สามารถคำนวณ ตัวเลขการมีเงินสะสมในอนาคต เพื่อเป็นเครื่องมือนำทางให้ผู้ทำบัญชี รู้จักคิด รู้จักจ่าย รู้จักออม และเกิดแรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนตนเองสู่ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

โอกาสนี้ประธานฝ่ายวิชาการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามฝ่ายวิชาการขอขอบพระคุณ ท่านที่ปรึกษาประธานสภาสตรีแห่งชาติฯทุกท่าน ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ท่านประธานคณะกรรมการบริหาร ท่านรองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร ท่านนายกองค์กร และสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ทุกท่าน ที่ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรม หรือมาเยี่ยมเยียน ในระหว่างการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นกำลังใจ ให้คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ มีความมุ่งมั่น จัดทำโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน ต่อสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯและประเทศชาติโดยรวม ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการ ยินดีเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อรวบรวมนำเสนอโครงการดีดี เข้าที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการฯและนำเรียนท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติในการขออนุมัติจัดทำโครงการต่างๆ ในปี ๒๕๖๓ ต่อไป

ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” รณรงค์ร่วมกัน เชิดชูอัตลักษณ์ ผ้าพื้นถิ่นของ ๑๘ อำเภอ

วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๒ นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนางนงค์นิตย์ เนียมศิริ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ อาทิ ดร.อัจฉรา พรสีมา นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนกาฬสินธุ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ (สธวท กาฬสินธุ์) ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีนายนรินทร์ เกล้าจะโป๊ะ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวรายงาน และมีการนำเสนอผ้าพื้นถิ่นของทั้ง ๑๘ อำเภอ สร้างความตื่นตาตื่นใจบนเวที ด้วยความงดงาม โดดเด่นบ่งบอกถึงภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ณ พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธ์ุ
โครงการนี้วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทย คงอยู่คู่แผ่นดิน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๔. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานเชิญผู้แทนสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมประชุมคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓

นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ และนางเยาว์มาลย์ วัชระเรืองศรี คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ โดยมีนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ องค์กรนายจ้าง องค์การลูกจ้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสตรี อาทิ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีผู้อำนวยการกลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สืบเนื่องจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กำหนดจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้แนวคิด “แรงงานสตรี ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความเสมอภาค สู่สังคมไทย” และได้ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จมาประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม ชั้น ๔ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
การประชุม มีประเด็นที่ฝ่ายเลขานุการ ขอให้คณะกรรมการได้พิจารณา จำนวน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย การพิจารณาประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่จะใช้คัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาตามลำดับ ดังนี้
๑. ประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดประเภทของสตรีทำงานดีเด่นไว้ ๘ ประเภท จำนวน ๒๙ รางวัล ประกอบด้วย (เอกสารหมายเลข ๓)
- สตรีนักบริหารดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีเครือข่ายด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๕ รางวัล
- สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น จำนวน ๔ รางวัล
- ศิลปินสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สื่อมวลชนสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีนักวิชาการด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
ทั้งนี้ สาขาสตรีทำงานดีเด่นที่ไม่มีผู้เสนอชื่อในปีที่แล้วประกอบด้วย
สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น (ภาคกลางและภาคใต้) และสตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น รวมทั้งหมด ๓ รางวัล จึงทำให้ผู้ได้รับรางวัลสตรีทำงานดีเด่นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวน ๒๖ รางวัล
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการพิจารณาแล้วเห็นว่าประเภทรางวัล จำนวน ๘ ประเภท มีการกำหนดมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และสามารถนำมากำหนดประเภทรางวัลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ได้ สำหรับจำนวนรางวัลนั้น แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จะไม่มีผู้เสนอชื่อจำนวน ๓ รางวัล แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มีผู้เสนอชื่อและได้รับรางวัลดังกล่าว โดยฝ่ายเลขานุการจึงขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่าประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ดังนี้
๑. กำหนดหลักเกณฑ์และสรรหาคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๒. พิจารณาสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ เข้ารับประทานโล่ รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณในวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๓. รายงานผลการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ ต่อคณะกรรมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมาย การประชุมในวันนี้เป็นการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เพื่อพิจารณาประเภท จำนวนรางวัล คุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย
๑) คุณสมบัติ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเป็น
รายประเภท สาขาของสตรีทำงานดีเด่น ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กำหนด
๒) รายละเอียดหลักเกณฑ์ของแต่ละสาขาที่จะใช้ในการพิจารณา
คัดเลือก ซึ่งจะนำไปกำหนดเป็นน้ำหนักคะแนนในการคัดเลือก
๓) หน่วยงานที่จะเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่นเข้ารับการคัดเลือกโดย
กำหนดหน่วยงานไว้เป็นการเฉพาะของแต่ละประเภทรางวัลที่สามารถเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่น
ทั้งนี้ การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นทั้งหมดคณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคัดกรองเบื้องต้น โดยพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ก่อนและนำคะแนนของผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดไล่ตามลำดับเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในอัตรา ๓ คน ต่อจำนวน ๑ รางวัล สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการขอนำเสนอให้ใช้การกำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินการตามปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด หรือควรมีการปรับปรุงเป็นอย่างไร

ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดปทุมธานี ลงนาม รณรงค์ ๒๑ หน่วยงานเชิดชูอัตลักษณ์“ผ้าใยกล้วยบัวหลวง” และ “ผ้ามณีเจ้าพระยาปทุมธานี” ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน

ที่ห้องประชุมราชสีห์บัวหลวง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย การประสานความร่วมมือ โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีนายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ปลัดจังหวัดปทุมธานี นายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการและภาคีการพัฒนาจังหวัดหลายภาคส่วน จำนวน 21 หน่วยงาน เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”จังหวัดปทุมธานี เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่ ผ้าไทย ศิลปะอันล้ำค่าของชาติ ให้ดำรงคงอยู่ ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี คือ“ผ้าใยกล้วยบัวหลวง” และ “ผ้ามณีเจ้าพระยาปทุมธานี” ให้เกิดกระแสความนิยม การแต่งกายผ้าไทย แก่ประชาชนทั่วจังหวัดปทุมธานี โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐ เอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่องและเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายผ้าไทย มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจฐานรากดีขึ้นและรณรงค์ให้คนไทยทุกเพศ ทุกวัย แต่งกายผ้าไทยให้มากขึ้น
ปัจจุบันรัฐบาลได้รณรงค์ให้แต่งกายผ้าไทยทุกวันอังคาร โดยจังหวัดปทุมธานีได้รณรงค์ให้แต่งกายผ้าไทยทุกวันพฤหัสบดี เพื่อให้ประชาชนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยผ่านการแต่งกายผ้าไทยและสร้างเสริมรายได้ให้ผู้ประกอบอาชีพทอผ้า ทั้งในจังหวัดและทั่วประเทศ

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชนเรียบเรียงข้อมูล:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๒. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดบึงกาฬ และพัฒนาการจังหวัดจำนวน ๑๑ หน่วยงาน ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน

๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑. ๐๐ น. นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ มอบหมายให้นายพงษ์ศักดิ์ เหมธุลิน หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการ"สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยจัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างหน่วยงานราชการ กลุ่ม องค์กร และภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ ที่ทำการปกครองจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการเครือข่ายOTOP จังหวัดบึงกาฬ หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ

โครงการ"สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ส่งเสริมและเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยคงอยู่คู่แผ่นดิน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิตผู้ประกอบOTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๑. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัด และพัฒนาการจังหวัดปัตตตานี ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน

วันนี้ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มอบหมายให้ นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฯ ร่วมลงนามข้อตกลงสร้างความร่วมมือ (MOU) กับ ส่วนราชการ ภาคเอกชน กลุ่ม/องค์กร ร่วมด้วย หัวหน้ากลุ่มงานฯ/ฝ่ายฯ /พัฒนาการอำเภอ ทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนฯ ร่วมกิจกรรม โดยมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ผ้าทอ ผ้าไทย ผ้าพิมพ์ลายอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดย นายวัชระ ธรรมปัญญาสกุล หน.กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดปัตตานี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นในการปฏิบัติงานทุกวัน ยกเว้นในวันที่มีการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ หรือเครื่องแบบของหน่วยงานนั้น ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคารห้องสมุด TK Park เทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี

/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖


๓๓๐. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดอ่างทอง และพัฒนาการจังหวัด ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) ๘ องค์กร ตามโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ร่วมกับ ๘ องค์กร ได้แก่ เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดอ่างทอง คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอ่างทอง เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอ่างทอง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอ่างทอง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน บริษัท อ่างทอง โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด เครือข่าย OTOP จังหวัดอ่างทอง ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าให้ดำรงคงอยู่ในแผ่นดิน อีกทั้งเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมรายได้ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่นอีกด้วย

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๒๙. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรภาคประชาชน และกลุ่มสตรี รวม ๓๔ แห่ง สวมใส่ชุดผ้าไทย

วันศุกร์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายชรัส บุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานพิธีจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ร่วมกับนางรัชฏา บุญณสะ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด นายสุเมธ ธีรนิติ ปลัดจังหวัด นางอรสา ชัยวัฒน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีนางสาวนิภา ทองก้อน พัฒนาการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวรายงานฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรภาคประชาชน และกลุ่มสตรีทั้ง ๓ อำเภอที่เป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ สวมใส่ชุดผ้าไทยเข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ณ เรือนอาวุธสร้าง อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้ลงนามบันทึกข้อตกร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริมและเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยคงอยู่คู่แผ่นดิน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เชิญชวนส่วนราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค หน่วยงาน องค์กร และภาคประชาชน ร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยมีส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรภาคประชาชน จำนวน ๓๔ แห่ง เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงตามโครงการดังกล่าว
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๒๘. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดบุรีรัมย์ ลงนามบันทึก กับ ๔๘ หน่วยงาน ในจังหวัดบุรีรัมย์ รณรงค์สวมใส่ผ้าไทยตามโครงการ "อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"

วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น.ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ มอบหมาย นายดำรงค์ชัย เนรมิตพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เป็นประธานในพิธี บันทึกข้อตกลง โครงการ "อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"โดย นางบุญยิ่ง เทศน้อย พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์การจัด โครงการ "สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทยไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน" (รณรงค์สวมใส่ผ้าไทย ผ้าไหมบุรีรัมย์) เพื่อเป็นการรณรงค์และอนุรักษ์ให้หน่วยงานราชการ ลงนามความร่วมมือสวมใส่ผ้าไทยผ้าไหมบุรีรัมย์ ระหว่างหน่วยงานราชการ ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานเอกชนในจังหวัดบุรีรัมย์รวมทั้งสิ้น ๔๘ หน่วยงา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ภายในงานมี การเดินแบบผ้าไหมลายเอกลักษณ์ของแต่ละอำเภอรวมทั้งได้รับเกียรติจากหน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆในการร่วมเดินแบบ โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการภาคีเครือข่าย และเอกชนรวมทั้งประชาชนให้ความสนใจอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ในงานยังมีการออกร้านจำหน่ายผ้าไทย เช่น ผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าหางกระรอกคู่ ตีนแดง ผ้าภูอัคนี และผ้าเอกลักษณ์จากอำเภอต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งโครงการในครั้งนี้จัดขึ้นที่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๒๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนาการจังหวัด ลงนามบันทึก "อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" รณรงค์ คนอุบลสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน

วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น.นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยมีหน่วยงาน ๑๘ องค์กร ในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานอุบลราชธานี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอุบลราชธานี สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยอุบลราชธานี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอุบลราชธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอุบลราชธานี เครือข่าย OTOP จังหวัด คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอุบลราชธานี
สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยอุบลราชธานี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอุบลราชธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี
ณ ห้องประชุมปทุมวรราช ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
โดย นางทรงลักษณ์ วรภัย พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าให้ดำรงคงอยู่ในแผ่นดิน อีกทั้งเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมรายได้ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น ภายในงาน เครือข่าย OTOP จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดแสดงและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย นอกจากนี้ยังจัดเดินแบบผ้าไทยอย่างสวยงามตระการตาอีกด้วย
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖