๔๔๐. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน”ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-๑๙ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม "ปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ตามนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ของสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของกรมพัฒนาชุมชน ณ วัดเจ็ดยอด ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยมีเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระเดชพระคุณ “พระเทพปริยัติ” เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายสราวุฒิ วรพงษ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ สัญลักษณ์ธรรมจักร
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้ถวายเมล็ดพันธุ์ผัก แด่พระเดชพระคุณ “พระเทพปริยัติ” เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง และร่วมปลูกผักสวนครัวในพื้นที่สัญลักษณ์ธรรมจักร โครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชน ตามหลัก “บวร” เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤกติโควิค ๑๙ และการขานรับนโยบาย Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ ผลตอบรับแผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน เริ่มจากกรรมการและสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ เป็นต้นแบบปลูกผักสวนครัวที่บ้านเราเองและขยายผล แสดงให้พี่น้องประชาชนเห็นผล ร่วมกันปลูกผักสวนครัว ที่บ้านเราเอง ทำให้มีผักกินเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ตามแนวคิดของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ประหยัดรายจ่าย เท่ากับเพิ่มรายได้ แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และเมื่อเป็นผักที่ปลูกเองก็จะระมัดระวังเรื่องสารเคมีต่างๆ กลายเป็นพืชผักปลอดภัยที่เสริมสร้างสุขภาพร่างกายอีกด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๙. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน จัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" ร่วมกับกรรมการพัฒนาสตรีตำบลหนองหอย
วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ จัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" ร่วมกับกรรมการพัฒนาสตรีตำบลหนองหอย มอบเมล็ดพันธ์ผัก และร่วมกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อขยายผลโครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในช่วงวิกฤตโควิด ๑๙ ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นการต่อยอดโครงการ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน” ของสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ โดยมีปลัดเทศบาลตำบลหนองหอย นางสาวบงกช เบ็ญมาตร์ กล่าวต้อนรับ ประธานสตรีตำบลหนองหอย นางสาวนันทกา กัลยาณพันธ์ กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" เพื่อขยายผลโครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองหอย
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ กล่าวว่าสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ดำเนินการตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยประกาศเป็นปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุน ร่วมมือร่วมใจจากกรรมการสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ทุกท่าน โดยเริ่มจากปลูกผักสวนครัวที่บ้านตนเอง เป็นต้นแบบ และขยายผล โครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ทั้งนี้สมาคมฯ จะติดตามผล และเชิญชวนให้ทุกครัวเรือนในจังหวัดเชียงใหม่ ปลูกผักสวนครัว ตามนโยบายของสภาสตรีแห่งชาติ และกรมการการพัฒนาชุมชนต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีชาติฯ
๔๓๘. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสตรีแห่งชาติฯ จัดโครงการ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน”ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และในฐานะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ มอบเมล็ดพันธุ์ผักในโครงการ "ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน" ตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการ ปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ โดยมี นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายสราวุฒิ วรพงษ์ เป็นประธาน นายสุวรรณ เกตุดำ พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายศิริพัฒน์ กาวิละ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าศาลา ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบเมล็ดพันธุ์ผัก ณ ห้องประชุมสหกิจ เทศบาลตำบลท่าศาลา
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ดำเนินการตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ขยายผลโครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชน ตามหลัก “บวร” เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤกติโควิค ๑๙ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร ไปสู่ครัวเรือนเป้าหมาย โดยมอบเมล็ดพันธุ์ผักผ่านนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อมอบให้กับกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอเมือง นำไปแจกจ่ายพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๙ ตำบล และ ๑ เทศบาลนคร ประกอบด้วย ต.หนองหอย ต.ท่าศาลา ต.หนองป่าครั่ง ต.ฟ้าฮ่าม ต.สันผีเสื้อ ต.ช้างเผือก ต.สุเทพ ต.แม่เหียะ ต.ป่าแดด และเทศบาลนครเชียงใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๗. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จัดโครงการ ปันน้ำใจช่วยชาวประชา ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำกรรมการและสมาชิก ร่วมกันมอบถุงยังชีพให้ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๑,๒๑๐ ครอบครัว โดยมี นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวิษณุ วิทยวราวัฒน์ ท้องถิ่นเชียงใหม่ นายอาทร พิมชะนก พัฒนาการ จังหวัดเชียงใหม่ และนางจิราพร เชาวน์ประยูร์ ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและองค์กรเครือข่าย ผู้แทนจากอำเภอต่างๆ ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบถุงยังชีพ ในโครงการ ปันน้ำใจช่วยชาวประชา ณ สนามหน้าอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
ในการนี้ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้กล่าวรายงานถึง สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้มุ่งเน้นกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์ โดยเป็นการรวมพลังของสตรี เพื่อร่วมช่วยเหลือ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อ Covid ๑๙ ทางสมาคมฯ ได้จัดทำโครงการปันน้ำใจช่วยชาวประชา โดยการแจกอาหารกลางวันให้ประชาชน จำนวน ๑,๘๐๐ ชุด ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน ๙ ตำบล ระหว่างวันที่ ๑-๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และจัดทำถุงยังชีพจำนวน ๑,๒๑๐ ครอบครัว โดยใช้งบประมาณจากการจัดกิจกรรมของสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ทั้งสิ้น ๕๕๕,๐๐ ๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้มอบผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ มอบให้กับเครือข่ายสตรีผู้แทนจาก ๘ อำเภอ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ ได้แก่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ( ๙ ตำบล) และ อ.สารภี อ.หางดง อ.สันทราย อ.สันป่าตอง อ.แม่ริม อ.แม่ออน อ.แม่อาย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๖. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีถวายเทียนพรรษา
วันพฤหัสบดี ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม นำคณะกรรมการสมาคมและสมาชิกสมาคมฯ ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีถวายเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชา แต่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปีนี้สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ นำโดยนางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ พร้อมกรรมการสมาชิก และเครือข่ายสตรีได้จัดถวายเทียน ๕ วัด ได้แก่วัดพันอ้น วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดดวงดี และวัดเชียงมั่น
โดยสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ขานรับนโยบาย โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ( ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) โดยการรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการแต่งกายชุดพื้นเมือง นั่งรถราง เสน่ห์แห่งล้านนา ไหว้พระ ถวายเตียน วษา แอ่วรอบเวียงเชียงใหม่ รถรางอันงดงาม และทรงคุณค่า จากวัดศรีสุพรรณ นามว่า รถยศวดีหิรัญนคร แปลว่านครเงินของพระนางยศวดี ซึ่งอุโบสถวัดศรีสุพรรณ เป็นแห่งเดียวในโลกที่เป็นเงินอันทรงคุณค่าแห่งเมืองเชียงใหม่ พร้อมรถรางในขบวนของเทศบาลเมืองแม่เหียะ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๕. ฝายวิชาการ สภาสภาสตรีแห่งชาติฯ ขานรับนโยบายประธานสภาสตรีแห่งชาติ รณรงค์สวมใส่ผ้าไทย และปลูกผักสวนครัว เริ่มจากตัวเราเอง ก่อนขยายผลสู่ชุมชน
เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ฝ่ายวิชาการ จัดประชุมคณะกรรมการ โดยนางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ แจ้งว่า ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน นำ โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เสนอนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ( ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) โดยการรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละสองวัน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม อันล้ำค่า รากเหง้าจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่สะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ด้วยการถ่ายทอดหัตถกรรมผ่านผ้าทอจากบรรพชนสู่คนรุ่นปัจจุบัน ด้วยการส่งเสริมและเผยแพร่ ผ้าพื้นถิ่นไทยให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย
ฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนเริ่มจากคณะกรรมการฝ่ายวิชาการทุกท่าน แต่งกายด้วยชุดผ้าไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่อัตตลักษณ์ผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่ และสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่พี่น้องประชาชนในท้องถิ่นชุมชน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
นอกจากนี้ ฝ่ายวิชาการ ร่วมให้การสนับสนุน โครงการปลูกผักสวนครัว ระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน โดยขานรับนโยบาย การดำเนินการขับเคลื่อน เริ่มระหว่าง ๑ กรกฎาคม – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ หลักการ คือ จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มจากตัวเราก่อน โดยคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ พร้อมใจปลูกผักสวนครัว เป็นต้นแบบ ทำให้ครบวงจร ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน และสร้างเครือข่ายขยายผล ซึ่งเป็นแนวทางขับเคลื่อนที่เข้มแข็งและประสบผลสำเร็จแล้ว ของกรมการพัฒนาชุมชน ในระยะที่ ๑
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๔. สภาสตรีแห่งชาติฯ กรมการพัฒนาชุมชน และกรุงเทพมหานคร ร่วมเซ็น MOU โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ขานรับมติ ครม. รณรงค์สวมใส่ผ้าไทย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดให้ข้าราชการกทม.ใส่ผ้าไทยอย่างน้อย ๒ วัน เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างทั่วถึง
เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ” (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมี นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย อันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้งเพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทย แก่ประชาชนทั่วประเทศ และยังสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่นอีกด้วย
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ให้ถือว่ามาตรการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เป็นนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ข้าราชการ ประชาชน แต่งกายด้วยผ้าไทย ตามความเหมาะสมของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ วัน อีกทั้งยังให้ทุกกระทรวงสร้างการรับรู้และความเข้าใจนโยบายแก่ส่วนในราชการในสังกัด รวมถึงจัดทำแผนงานในการรณรงค์การใช้และสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง เพื่อสร้างค่านิยมและการตระหนัก รับรู้ รักษามรดก อัตลักษณ์ภูมิปัญญาของไทย และอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาผ้าไทยเพื่อเป็นสินค้าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การลงนามร่วมกันในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
“มติคณรัฐมนตรีในครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรพี่น้องในชนบท มีเงิน มีอาชีพหลัก มีอาชีพเสริมในการทอผ้าได้ ประชาชนก็ดีใจว่า การสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทยให้ดำรงไว้ในแผ่นดิน ประสบความสำเร็จเพราะรัฐบาลให้ความร่วมมือ ให้ความสำคัญในการเชิญชวนให้คนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทย ซึ่งทำให้ผู้ที่ทอผ้ามีกำลังใจ มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว และลูกหลานของเราให้ได้มีโอกาสดีๆ ในชีวิต ผมยินดีอย่างยิ่งที่สภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรุงเทพมหานคร ได้ให้เกียรติกับกรมการพัฒนาชุมชน ในการลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ในครั้งนี้ โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรมการพัฒนาชุมชน และกรุงเทพมหานคร รวมถึง การส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนฯ เป็นการลงนามอย่างเป็นทางการ และเป็นสัญลักษณ์ในการประกาศให้สาธารณชนได้รับรู้ความตั้งใจของทุกคน ดังนั้น ผมจึงขอขอบคุณสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรุงเทพมหานคร ที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ผ้าไทยจากภูมิปัญญา และรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย และผ้าพื้นเมืองจนเกิดผลเป็นรูปธรรม” นายสุทธิพงษ์กล่าว
ด้าน ดร.วันดี เปิดเผยว่าโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ ในแผ่นดิน" จะมีการรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศ ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ การใส่ผ้าทอไทยทุกผืน ก่อให้เกิดรายได้กระจายไปยังชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีกว่า , % รายได้ที่เกิดจากการทอผ้าออกจำหน่ายจะสามารถช่วยสตรียกระดับคุณภาพชีวิต ส่งบุตรหลานให้มีโอกาสเล่าเรียน ดูแลครอบครัวได้เมื่อยามเจ็บป่วย สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง
“หากคนไทยพร้อมใจกันสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันทั้งประเทศ จะช่วยเป็นการส่งเสริมการทอผ้าในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหา การย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ถ้าคนไทยร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย อย่างน้อย คนละ 10 เมตร หากสตรี 35 ล้านคน ใส่ผ้าไทยคนละ 10 เมตร รวม 350 ล้านเมตร เมตรละ 300 บาท เราจะช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนทันที 1 แสนล้านบาท สร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง ก่อเกิดรายได้”
ขณะที่พล.ต.อ.อัศวิน เปิดเผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยอันเป็นศิลปะล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักในระดับสากล สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทย โดยรัฐบาลให้มีนโยบายในการสืบสานพระราชปณิธานดังกล่าว ด้วยการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชนแต่งกายด้วยผ้าไทยตามความเหมาะสมของท้องถิ่น เพื่อเป็นการสืบทอดการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ ตลอดจนขับเคลื่อนนโยบายในการเชิดชูอัตลักษณ์อันทรงคุณค่าของภาคท้องถิ่นไทย กรุงเทพมหานคร จึงได้ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ดำเนินโครงการสืบสานอนุรักษ์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้เกิดขึ้น
“การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยในครั้งนี้ จะสามารถสร้างสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วย อีกทั้งยังสร้างความสมัครสมานสามัคคี อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของไทย เป็นการสืบสานต่อยอดในพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งจะสืบสานและต่อยอดตามในหลวงรัชกาลที่ ๙
โดยทางกรุงเทพมหานครได้กำหนดให้อย่างน้อย 2 วันที่จะต้องใส่ผ้าไทย คือวันอังคารกับวันศุกร์ หรือใส่ทุกวันได้ยิ่งดี ยกเว้นวันจันทร์ที่ต้องใส่เครื่องแบบข้าราชการ ผมมองว่านี่เป็นความคิดที่ดีของสภาสตรีแห่งชาติฯ ที่ได้เสนอไปยังรัฐบาล ให้ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีมา ตัวผมและทางกรุงเทพมหานครพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ด้วยความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง” พล.ต.อ.อัศวินกล่าว
ขอบคุณ:ภาพ/ข่าว กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติ
๔๓๓.สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน ประกาศความสำเร็จปลูกผักสวนครัว ๑๒.๕ ล้านครัวเรือนร่วมขับเคลื่อน ๑๘ จังหวัด ปลูกครบ ๑๐๐ % พร้อมเดินหน้าเฟส ๒ “สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน”
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยประกาศเป็นปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
มีครัวเรือนเป้าหมายทั้งหมดจำนวน ๑๒.๙ ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่ามีพี่น้องประชาชนทั่วประเทศร่วมปลูกผักสวนครัวถึง ๑๒,๕๗๓,๐๗๒ ครัวเรือน คิดเป็น ๙๖.๘๙ % ยิ่งไปกว่านั้นมีถึง ๑๘ จังหวัดจากทุกภาคปลูกครบ ๑๐๐ % ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ตาก อุบลราชธานี พัทลุง สุโขทัย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สกลนคร ชัยภูมิ ตราด บึงกาฬ เพชรบุรี มุกดาหาร สมุทรสงคราม
“จากผลตอบรับแผนปฏิบัติการ ๙๐ วันในเฟสแรก มีครัวเรือนจากทั่วประเทศเข้าร่วม แสดงให้เห็นว่าพี่น้องประชาชนที่ร่วมปลูกผักสวนครัวได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้มีผักกินเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ประหยัดรายจ่าย เท่ากับเพิ่มรายได้ คิดง่ายๆ ว่า จำนวน ๑๒ ล้านครัวเรือนประหยัดเงินจากการซื้อผักครัวเรือนละ ๕๐ บาท เท่ากับประหยัดเงินได้ ๖๐๐ ล้านบาท/วัน ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท/เดือน รวมแล้วประหยัดได้กว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท/ปี หากมีมากก็แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และเมื่อเป็นผักที่ปลูกเองก็จะระมัดระวังเรื่องสารเคมีต่างๆ กลายเป็นพืชผักปลอดภัยที่เสริมสร้างสุขภาพร่างกายอีกด้วย” นายสุทธิพงษ์กล่าว
ผลสำเร็จของเฟสแรก กรมฯ จึงมองไปข้างหน้าที่จะต่อยอดให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนโดยจะขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกผักต่อด้วยการดำเนินงาน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ดำเนินการขับเคลื่อนระหว่าง ๑ กรกฎาคม – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยยังคงยึดหลักการดำเนินการในระยะที่ ๑ คือ จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ผู้นำต้องทำก่อน ผนึกกำลัง ตั้งระบบ ทำให้ครบวงจร ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน และสร้างเครือข่ายขยายผล ซึ่งเป็นแนวทางขับเคลื่อนที่เข้มแข็งและประสบผลสำเร็จแล้ว
สำหรับ เป้าหมายในเฟส ๒ จะยิ่งเข้มข้นกว่าเฟสแรก เพราะต้องการให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริงในทุกชุมชน เริ่มจาก “ความต่อเนื่องคือพลัง” ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม รวม ๑๐ ชนิด “ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม” ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม “ชุมชนสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม
และสร้างชุมชนสีเขียว “จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม” ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหารรักษ์สุขภาพ อาหารรักษ์โลก ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้าน นำไปสู่ “ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนสามัคคี วิถีพอเพียง” เกิดชุมชนเกื้อกูล สามารถดูแล ช่วยเหลือ และแบ่งปันจัดตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์หรือต่อยอดในรูปแบบอื่นๆ
อธิบดีพช.กล่าวว่า จากพลังของพี่น้องประชาชนที่สะท้อนออกมาเป็นตัวเลขความสำเร็จของเฟสแรก กรมฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายของเฟสสองเอาไว้ที่ร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนในหมู่บ้านปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อยคนละ ๑๐ ชนิด มีกลุ่มผลิตหรือแปรรูปหรือจำหน่ายพืชผักอย่างน้อยตำบลละ ๑ กลุ่ม รวมไปถึงร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนที่ปลูกพืชผักทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีกิจกรรมเชิงนวัตกรรมและศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ทุกตำบล การขับเคลื่อนครั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริงในทุกชุมชนทั่วประเทศ ทำให้พี่น้องประชาชนมีพืชผักปลอดภัยไว้กินเอง และแบ่งปัน
รวมถึงขยายผลต่อยอดสร้างรายได้ และสิ่งสำคัญคือเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ ๒ ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนในประเทศไทยของเรา
ขอบคุณที่มา: https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_4422238
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๒.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช มอบต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักที่ จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรี สานต่อ วัดสู่ชุมชน ช่วยประชาชนสู้โควิด สร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามพระดำริ “สมเด็จพระสังฆราช”
เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ลงพื้นที่ร่วมตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ (โรงทาน) ตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ และเยี่ยมชมโครงการ "สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" พร้อม พระราชธิราภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เจ้าอาวาสพระพุทธฉาย นายเทวัญ ลิปตพัลลพ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจากนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนางวิภาศิริ มกรสาร นายกสมาคมสตรีไทยดีเด่น ร่วมงาน ณ วัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวสัมโมทนียกถาแก่ผู้ร่วมงานว่า จ.สระบุรีเป็นจังหวัดที่เข้มแข็งจังหวัดหนึ่งที่ดำเนินงานตามพระราชดำริของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ขอชื่นชมในความสำเร็จหรือในการปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่งที่ได้ร่วมด้วยช่วยกัน ในภาวะเช่นนี้คณะสงฆ์ก็ต้องมาลงมาช่วยกันบำบัดทุกข์บำรุงสุข เพื่อให้พี่น้องประชาชนของเราได้อยู่รอดปลอดภัยและได้อยู่กันอย่างมีสวัสดิภาพ ไม่ลำบากยากไร้ ทำงานกันด้วยความเสียสละ ด้วยความตั้งใจ ด้วยความมีใจเมตตากรุณาต่อกัน
ทั้งนี้ ถือว่าเราประพฤติอย่างนี้ตามธรรมะคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเห็นประชาชนอยู่กันด้วยความลำบาก คณะสงฆ์จึงลงมาช่วยกันตามความสามารถเท่าที่ทำได้ ทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ทำด้วยเมตตากรุณา มีจิตใจที่ปราศจากสิ่งอันเป็นกิเลส การที่เราทำได้อย่างนี้ ประการที่หนึ่ง คือ เราสบายใจ ประการที่สอง คือ เป็นการช่วยประเทศชาติบ้านเมืองของเรา เรามาช่วยกันสานต่อตามคติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ว่า บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนของเรา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขที่พอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ท่านมีพระราชดำริ มีพระราชกระแสในเรื่องของความพอเพียงไว้ในยุคนี้ ซึ่งในหลายๆ พื้นที่ได้สนองพระราชดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ อย่างแข็งขัน วัดพระพุทธฉายนี้ก็มีข่าวปรากฏไปทั่วโลก โดยเฉพาะทางสื่อมวลชนของญี่ปุ่นก็มาถ่ายรูป รายงานว่า ประเทศไทยของเราทำอย่างนี้ในการช่วยเหลือประชาชน ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทย ว่าเราทั้งหลายมีความสามัคคีปรองดองกัน ถึงคราวตกทุกข์ได้ยากก็ช่วยกันโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
จากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้ประกอบพิธีเบิกเนตรพระพุทธรูป ๔ ปาง ประจำซุ้มมณฑปพระพุทธบาท (พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) หล่อเทียนพรรษา เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๓ หลังจากนั้น คณะสงฆ์ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนได้เดินเยี่ยมชมโครงการ "สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ปลูกต้นไม้เป็นที่ระลึก พร้อมทั้งปล่อยปลา และปลูกข้าว (โยนข้าว) ณ บริเวณวัดพระพุทธฉาย
ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการ ในสมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม ได้เดินทางต่อไปยัง ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ (แห่งที่ ๒) อ.เมือง จ.ลพบุรี เป็นประธานสงฆ์พิธีมอบต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว วัดสู่ชุมชน ภายใต้โครงการ “สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆริณายก เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-๑๙ ให้กับคณะสงฆ์จังหวัดลพบุรี จำนวน ๓๐,๐๐๐ ต้น และเยี่ยมชมแปลงผักสวนครัว วัดสู่ชุมชน โดยมี พระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี พร้อมพระเถรานุเถระ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมให้การต้อนรับ
สำหรับ โครงการ "สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เกิดขึ้นตามพระดําริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งวัดได้มีการบูรณาการระหว่างโรงทาน ตามพระดําริของสมเด็จพระสังฆราช กับศาสตร์พระราชา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นการต่อยอดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอแนวคิดการทํา “สวนครัวนําสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งมอบต้นกล้า และเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้กับเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอ เจ้าคณะตำบล
นอกจากนั้น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ สมเด็จพระสังฆราช ยังทรงอนุญาตให้วัดทั่วประเทศที่มีพื้นที่ว่างให้ประชาชนปลูกผักสวนครัวแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนช่วงวิกฤติโควิด-๑๙ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งส่งเสริมให้วัดต่างๆ ที่มีพื้นที่ เชิญชวนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน โดยดําเนินการตามวิถีพุทธวิถีเกษตรปลูกผักสวนครัวในพื้นที่วัดนั้นๆ และนําไปปรุงเป็นอาหารส่วนที่เหลือจากการปรุงอาหารในครัวเรือนแล้ว สามารถนําไปจําหน่ายคืนให้วัด เพื่อนําไปประกอบอาหาร ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร. วันดี ได้นำเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวถวายสมเด็จพระสังฆราช เพื่อประทานแก่วัดทั่วประเทศอีกด้วย
ขณะที่ กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินงาน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน วันที่ ๑ กรกฎาคม – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ เพื่อเป้าหมาย ๕ ประการสำคัญคือ ๑. ความต่อเนื่องคือพลัง ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม รวม ๑๐ ชนิด ๒.ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม ๓. ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนสีเขียว ๔.จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหาร และ ๕.ชุมชนเกื้อกูลเพิ่มพูนสามัคคี วิถีพอเพียง
ขอบคุณที่มา: https://gnews.apps.go.th/news?news=63858
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๔๓๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เข้าพบ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ “โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OT
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “ หนุนต่อยอด OTOP อาหารสร้าง “ครัวไทยเป็นครัวโลก” หลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะเข้าพบ โชว์ความสำเร็จแบรนด์ “OTOP Thai Taste” เปิดตัว ๑๐ เมนูใหม่พร้อมทาน ภายใต้โครงการ “ยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” ชูจุดแข็งเก็บรักษาไว้กินได้นาน ตอบรับสั่งซื้อทางออนไลน์ ยุค New Normal มุ่งหวังสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดครบวงจร ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ชุมชนทั่วประเทศ
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนการประชุม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะฯ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เข้าพบ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ “โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้”
พร้อมกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมความคืบหน้าของการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการรณรงค์ปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ จนมีผู้เข้าร่วมโครงการสูงเกือบ ๑๒ ล้านครัวเรือน โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมการดำเนินดังกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรดำเนินการให้ต่อเนื่อง ทำให้คนมีพืชผักสวนครัวทำอาหารปลอดภัยกินกันในครัวเรือน และเมื่อมีผลผลิตเหลือกินสามารถนำไปผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปตามโครงการได้ พร้อมกันนี้ได้แนะนำอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนว่าราชการควรมีการช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้าน หรือ OTOP ให้มีเครื่องมือ เครื่องจักรในการทำอาหารสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของพืชผักสวนครัวหรือพืชสมุนไพรที่แต่ละบ้านปลูกด้วย เพื่อให้ครัวไทยเป็นครัวโลกต่อไป
ด้านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานร่วมกับสถาบันอาหารจัดทำ “โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” โดยนำสูตรมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้จำนวน ๑๐ เมนู มาพัฒนาเป็นสินค้าอาหารพร้อมบริโภค สะดวกต่อการรับประทาน มีการทดลองปรับปรุงสูตรการผลิตอาหารถิ่นที่ผ่านการคัดเลือก ให้เหมาะสมต่อการยืดอายุ โดยการนำเทคโนโลยีการผลิต ๒ เทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ เทคโนโลยีการยืดอายุด้วยเครื่องฟรีซดราย (Freeze Dryer) หรือเทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และเทคโนโลยีการยืดอายุอาหารโดยใช้เครื่องรีทอร์ท (Retort) หรือเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจหากเก็บรักษาให้พ้นความชื้นและแสงแดด สามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานกว่า ๑ ปี โดยมีเป้าหมายจัดทำเป็นสินค้าต้นแบบเพื่อให้เกิดการผลิตสู่เชิงพาณิชย์และดำเนินการทดสอบตลาดแบบครบวงจร สินค้าได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ และใช้ตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์ OTOP Thai Taste ระบุข้อมูลโภชนาการต่อหน่วยบริโภค และจุดเด่นเรื่องราว (Story) ของผลิตภัณฑ์ ลงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ ตามมาตรฐานสินค้าระดับสากล คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๖ โดยสินค้าต้นแบบที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีฟรีซดราย ในอนาคตตั้งราคาจำหน่ายไว้ ๘๙ บาท ส่วนสินค้าที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ท จะจำหน่ายในราคา ๕๐ บาท จากเดิมที่ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าแบบปรุงสดได้ในราคาประมาณ 30 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๕๐ รายนั้น กระจายอยู่ในหลายจังหวัด จาก ๕ ภูมิภาคทั่วประเทศ แม้การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตจะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ ผู้ประกอบการให้ความสนใจและมองเห็นโอกาสที่จะปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้สอดรับกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ประเมินว่าจากการดำเนินงานในครั้งนี้จะช่วยสร้างรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบและเกิดการจ้างงานภายในชุมชนที่ร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า ๕๐ ชุมชน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า ๔.๒ ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากวิถีชีวิตแบบปกติใหม่หรือ New Normal ที่ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น เกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น และนิยมซื้อทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์โควิด-๑๙ เป็นตัวเร่งสำคัญ ผู้บริโภคเองต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย รูปแบบต่าง ๆ อาหารพร้อมปรุง อาหารพร้อมรับประทาน อาหารที่มีอายุเก็บรักษานาน และอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตสูง ผู้ประกอบการ OTOP ด้านอาหารและเครื่องดื่มเองก็ต้องปรับตัว ปรับวิธีคิด ปรับขั้นตอนและกระบวนการผลิต โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์มีอายุยาวนานขึ้น เพื่อตอบโจทย์ตลาดให้ทัน ขณะเดียวกันต้องเร่งยกระดับสินค้าอาหารให้ได้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย ให้ตลาดเกิดการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาสินค้าอาหารด้วยการแปรรูปโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์นับเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการมิอาจละเลยได้อีกต่อไป
ขณะเดียวกันได้มีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ และมีศักยภาพทางการผลิตในเชิงพาณิชย์ จำนวน ๕๐ ราย จาก ๒๔ จังหวัด ๕ ภูมิภาค แบ่งเป็นภาคเหนือ ๑๐ ราย จาก ๖ จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง และพะเยา ภาคใต้ ๑๐ ราย จาก ๕ จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ยะลา นราธิวาส พัทลุง และนครศรีธรรมราช ภาคกลาง ๕ ราย จาก ๕ จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๖ ราย จาก ๓ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และอุบลราชธานี และภาคตะวันออก ๙ ราย จาก ๕ จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง และชลบุรี เพื่อให้เข้าร่วมโครงการฯ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่ม และประเมินองค์ความรู้ผ่านทางโทรศัพท์
“ขั้นตอนต่อจากนี้คือการผลักดันสินค้าต้นแบบสู่ตลาด เพื่อดำเนินการทดสอบตลาดแบบครบวงจรและสร้างการรับรู้ไปสู่เครือข่ายการผลิตอาหารไทย และผู้บริโภค เช่น บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ทั้ง ๗๖ จังหวัด ผู้ประกอบการอาหาร และ ผู้บริโภคทั่วไป จำนวน ๑๐ ผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า ๒,๖๐๐ ชิ้น/จังหวัด และ กทม. ๗, ๔๐๐ ชิ้น รวม ๒๐๕,๐๐๐ ชิ้น ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภืประสานความร่วมมือ กระจายสินค้าส่งไปยังทั่วประเทศ คาดว่าจะรับมอบสินค้าจากสถาบันอาหารครบตามจำนวนภายในเดือนสิงหาคมนี้” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าวอย่างมั่นใจ
สำหรับการต่อยอดการแปรรูปผักสมุนไพร ในขณะนี้กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “ยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้” โดยได้คัดเลือกเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอาหารถิ่นรสไทยแท้ และมีวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน จำนวน ๑๐ เมนูเป็นเมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้พร้อมรับประทานภายใต้แบรนด์ “OTOP Thai Taste” ด้วยรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ที่ทันสมัย เก็บรักษาได้นานกว่า ๑ ปี ได้แก่ แกงฮังเลไก่ น้ำยา(น้ำเงี้ยว) มัสมั่นไก่ แกงไตปลา ต้มโคล้งปลาย่าง แกงป่าไก่ น้ำยาป่า แกงเห็ด แกงส้มมะละกอ และแกงกระวานไก่ ปรับปรุงสูตรและพัฒนากระบวนการผลิตด้วย ๒ เทคโนโลยียืดอายุผลิตภัณฑ์ ทั้งจากเครื่องฟรีซดราย (ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง) และจากเครื่องรีทอร์ท(ฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน) พร้อมทยอยส่งทดสอบตลาดทั่วประเทศ คาดกระจายครบทุกจังหวัด ๒๐๕,๐๐๐ ชิ้นภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบและเกิดการจ้างงานภายในชุมชนที่ร่วมโครงการฯ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า ๔.๒ ล้านบาท สามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้ ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวด้วยว่ากระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน “น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และเพื่อสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยมีครัวเรือนเป้าหมาย ๑๒.๙ ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ระยะเวลาดำเนินการ ๙๐ วัน ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
สำหรับแผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน“ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” กรมฯ ได้ประกาศเป็น Quick Win หรือวาระเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลลัพธ์ในเร็ววัน โดยมี ๖ กิจกรรมสำคัญ คือ ๑. จะพัฒนาใครเขา ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ๒. ผู้นำต้องทำก่อน ๓. ผนึกกำลัง ตั้งระบบ ทำให้ครบวงจร ๔. ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน ๕. สร้างเครือข่ายขยายผล ๖. การคัดเลือกบุคคลต้นแบบและเชิดชูเกียรติ ทั้งนี้มุ่งหมายให้บรรลุผลตามแผน คือ มีความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือน และระดับกลุ่มอาชีพ ซึ่งกรมฯมีครัวเรือนเป้าหมายที่จะดำเนินการรณรงค์ทั้งหมดจำนวน ๑๒.๙ ล้านครัวเรือนสำเร็จตามโครงการเฟสแรกในวันนี้
โดยสิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น คือ ประชาชนมีผักทานเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ประชาชนชอบรับประทานผักอะไรก็ปลูกอันนั้น คิดง่าย ๆ หากประชาชน จำนวน ๑๒ ล้านครัวเรือนประหยัดเงินจากการซื้อผักครัวเรือนละ ๕๐ บาท เท่ากับเราจะช่วยให้ประชาชนประหยัดเงินได้ ๖๐๐ ล้านบาท/วัน ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท/เดือน และสามารถประหยัดได้กว่า ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท/ปี เหลือจากรับประทานในครัวเรือน ก็แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และความคาดหวังในอนาคต คือ เมื่อประชาชนได้ปลูกผักรับประทานเองได้ ต่อไปประชาชนจะได้รับประทานผักที่ปลอดภัย เพราะปลูกทานเอง เราจะระมัดระวังเรื่องของสารเคมีต่าง ๆ ที่จะใช้โอกาสที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมปลูกผักต่อ หรือต่อยอดในรูปแบบอื่น ได้แก่ ๑. พัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน หรือฝึกประสบการณ์ให้กับสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆได้ ทั้งในและนอกประเทศ ๒. ธนาคารอาหารของชุมชน ตู้เย็นข้างบ้านมีผักกินตลอดกาล หรือกองทุนเมล็ดพันธุ์ชุมชน ๓. พัฒนาขยายผลเป็นโคก หนอง นา โมเดล สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสิ่งแวดล้อมสมดุลอย่างยั่งยืน “สนับสนุนธุรกิจ Start Up ขายผักสด หรือผลิตภัณฑ์อาหารสมุนไพร” ๔. เชื่อมโยงประสานการสนับสนุนโดยคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ซึ่งมีอยู่ ทุกจังหวัดให้เป็นกลไกกลางในการเชื่อมโยงผักปลอดภัยจากผู้ผลิตสู่ตลาด ๔ ร ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร ๕. ส่งเสริมการแปรรูปผักสมุนไพร นำไปสู่การลงทะเบียน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มช่องทางการตลาด
นอกจากนั้นแล้ว กรมการพัฒนาชุมชน ยังมีแผนการดำเนินงานต่อไป คือ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ซึ่งจะดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ เพื่อเป้าหมาย ๕ ประการสำคัญคือ ๑. ความต่อเนื่องคือพลัง ส่งเสริมการปลูกพืชผักที่ปลูกอยู่แล้วให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ๒. ปลูกพืชผักเพิ่มเติมจากเดิม รวม ๑๐ ชนิด ๓. ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เช่น มะนาว กล้วย มะละกอ เป็นต้น เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้มีมูลค่าเพิ่ม ๔. ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตวิญญาณรักสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนสีเขียว ๕. จากวัฒนธรรม สู่นวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจากพืชผักอาหาร
ขอบคุณที่มา: บ้านเมืองออนไลน์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ