๖๔๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับสตรี บุคคล หน่วยงาน และองค์กรเครือข่ายที่ได้รับรางวัลในงานวันสตรีสากล ปี ๒๕๖๔ จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันนี้ (๘ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดงานวันสตรีสากล ประจำปี ๒๕๖๔ ภายใต้แนวคิด “เสริมพลังสตรีและเด็กหญิงสู่ความเสมอภาคร่วมตัดสินใจ ไร้ความรุนแรง” พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่สตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่น จำนวน ๑๕ สาขา จำนวน ๔๒ รางวัล โดยมี นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณฯ เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมชั้น ๒ กระทรวง พม. ถนนกรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพฯ
สภาสตรีแห่งชาติฯ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับสตรี บุคคล หน่วยงาน และองค์กรเครือข่ายที่ได้รับรางวัลในงานวันสตรีสากล ปี ๒๕๖๔ จำนวน ๔๒ รางวัล ซึ่งในส่วนสภาสตรีแห่งชาติฯ มีผู้ได้รับรางวัลหลายประเภท ประกอบด้วย
สตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล ประเภทบุคคลและภาคเอกชน ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับรางวัล สตรีดีเด่นในเวทีเครือข่ายระดับสากล ประเทศบุคลากรภาคเอกชน
สตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล ประเภทบุคคลภาครัฐ รองศาสตราจารย์ ดร.เรณู พุกบุญมี ผู้อำนวยโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีและแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล ประเภทบุคคลภาครัฐ
ประเภทนักธุรกิจสตรีดีเด่น (ภาคกลางและภาคตะวันออก) คุณณัฏฐ์ปภาณ จันทร์ละมูล รองประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ /บริษัท เดแอนด์แซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด นครปฐมได้รับรางวัล นักธุรกิจสตรีดีเด่น (ภาคกลางและภาคตะวันออก)

เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๖. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสตรีแห่งชาติฯ ขอความเห็นชอบคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน Run For Charity By Women

วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายวีระพันธ์ ดีอ่อน นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ประชุมขอความเห็นชอบจัดกิจกรรม ช่วงการระบาด Covid-๑๙ เพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือเด็กในถิ่นธุรกันดาร ตามโครงการปันน้ำใจเพื่่อน้อง ในถิ่นทุรกันดาร โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ และนางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) พร้อมด้วยกรรมการและสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จัดทำโครงการปันน้ำใจเพื่่อน้อง ในถิ่นทุรกันดาร โดยจะจัดกิจกรรม Run For Charity By Women's Association of Chiangmai เพื่อนำรายไ ด้ ไปช่วยเหลือเด็กในถิ่นธุรกันดาร กำหนดจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ กองพลทหารราบที่ ๗ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่่อนำรายได้ หลังหักค่าใช้จ่าย มอบให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ปรับปรุงอาคารห้องเรียนอนุบาล ปรับปรุงห้องน้ำ และทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศลในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้นำเสนอมาตรการในการจัดกิจกรรม Run For Charity เพื่อให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ พิจารณามาตรการ และอนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อไป

รายงานภาพข่าว : สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๕. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ขอความร่วมมือ สภาสตรีแห่งชาติฯ เชิญชวนองค์กรสมาชิกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Gender Equality" ให้สังคมตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ด้วยกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอความร่วมมือ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และภาคีเครือข่าย นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Gender Equality" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ กำหนดประกาศผลการตัดสินภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔
สภาสตรีแห่งชาติฯ จึงขอเชิญชวน ให้องค์กรสมาชิก และภาคีเครือข่าย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าประกวด หรือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้สนใจ ได้รับทราบ การประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Gender Equality" เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้สังคมได้ตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่ กลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่ www.dwf.go.th โทรศัพท์/โทรสาร. ๐ ๒๖๔๒ ๗๗๔๒
E-mail : th.genderequality@gmail.com หรือสแกน QR Code ตามแนบในภาพข่าว
การประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Gender Equality" จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้สังคมตระหนักเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประจําปี ๒๕๖๔ และเปิดโอกาสให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา มีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เรื่องความเท่าเทียม ระหว่างเพศอย่างมีคุณภาพ สร้างสรรค์ หลากหลาย ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน
คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา
๒. ประเภทประชาชนทั่วไป
(ทั้งนี้ ขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้บุคลากรในกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเข้าร่วมประกวด)

คุณสมบัติประเภทสื่อที่จัดประกวด แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. สปอตโฆษณา
๒. สารคดีสั้น
๓. โปสเตอร์ออนไลน์
กำหนดระยะเวลา
เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔
ประกาศผลการตัดสินภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔
รางวัลการประกวด แบ่งเป็น ๒ ประเภท
๑. ประเภทนักเรียน นิสิต/นักศึกษา
สปอตโฆษณา
รางวัลชนะเลิศ ๒๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
สารคดีสั้น
รางวัลชนะเลิศ ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๑๒,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
โปสเตอร์ออนไลน์
รางวัลชนะเลิศ ๘,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภทประชาชนทั่วไป
สปอตโฆษณา
รางวัลชนะเลิศ ๒๕,๐๐๐บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
สารคดีสั้น
รางวัลชนะเลิศ ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๑๒,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
โปสเตอร์ออนไลน์
รางวัลชนะเลิศ ๘,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
รองชนะเลิศอันดับสอง ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามโดยตรงที่ กลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
โทรศัพท์/โทรสาร. ๐ ๒๖๔๒ ๗๗๔๒
E-mail : th.genderequality@gmail.com

รายละเอียดเพิ่มเติม Downloads: สมัครออนไลน์
Tags: ประกวดสื่อสร้างสรรค์ File attachments:
รายละเอียดเพิ่มเติม ใบสมัคร
Deadline: 25 Feb 2021 09:00 to 30 Apr 2021 16:30

ที่มา: หนังสือที่ พม. ๐๕๐๔/ว๔๙๑ ลว. ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๔. สามองค์กรหลักสตรี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ร่วมเป็นเจ้าภาพไถ่ชีวิตโคกระบือ รอดพ้นจากความตาย ถวายเจ้าอาวาสวัดพระธาตุบังพวน มอบให้ชาวนา ชาวสวน ที่มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์ รับไปเลี้ยง ประกอบอาชีพทำการเกษตรตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี คณะกรรมการและสมาชิกทั้ง ๓ องค์กร ได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน ๔๕๐,๐๐๐ บาท ถวายให้พระอาจารย์ทวี มหาวีโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย เพื่อนำไปไถ่ชีวิตโคกระบือจำนวน ๑๘ ตัว รวมกับองค์กรอื่นอีก ๕๕ ตัว รวมทั้งสิ้น ๗๓ ตัว ที่พระอาจารย์ทวี มหาวีโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุบังพวน ไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์และตลาดนัดโคกระบือ เพื่อนำมาทำพิธีมอบให้ชาวนา ชาวสวน เกษตรกรที่มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์ และรักสัตว์ นำไปเลี้ยงเพื่อใช้งาน ห้ามขาย (ตามข้อตกลงสัญญาของผู้รับโคกระบือไปเลี้ยงห้ามนำไปขายต่อ) โดยจัดให้มีการจับสลากและรับตามหมายเลขที่จับได้ แล้วนำกลับไปเลี้ยงเพื่อการประกอบอาชีพ ของเกษตรกร ต่อไป
นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่าในโอกาสนี้ สามองค์กรหลักสตรี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี สมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี คณะกรรมการและสมาชิกทั้ง ๓ องค์กร ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ตั้งโรงทานข้าวมันไก่ ๕๐๐ จาน และโรงทานน้ำดื่ม กาแฟเย็น ชาไทย ชาเขียว มันม่วงเย็น มูลค่า ๔๐,๐๐๐ บาท ด้วยอานิสงส์ผลบุญ ของความมุ่งมั่น ทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์ไถ่ชีวิตโคกระบือ ให้รอดพ้นจากความตายและ การจัดตั้งโรงทาน ขออนุโมทนา บุญร่วมกัน ให้ทุกท่านได้รับอานิสงส์นี้ คือมีอายุที่ยืนยาวปราศจากสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพภัย ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สาธุ

รายงานภาพข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธา
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์

๖๔๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือกรมการพัฒนาชุมชน เปิดพิธีฝึกอบรม พร้อมมอบกี่ทอผ้า โครงการ “ส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดตราด” ส่งผลให้ ๗๗ จังหวัด ในประเทศไทยมีการทอผ้าครบทุกจังหวัด หนุนกลุ่มอาชีพทอผ้าเสริมความรู้ สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

วันที่ ๑ มีนาคม 2564 เวลา ๑๓.๐๐ น.นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมทักษะการทอผ้าและส่งมอบกี่ทอผ้า พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีนายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมเป็นเกียรติในการฝึกอบรมและมอบกี่ทอผ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ฝึกทักษะการทอผ้าให้แก่ผู้สนใจ และจัดตั้งกลุ่มอาชีพการทอผ้าในพื้นที่ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอแหลมงอบ จำนวน ๒ กลุ่ม จำนวน ๒๕ คน ซึ่งได้มอบกี่ทอผ้าให้แก่ กลุ่มทอผ้าโรงเรียนบ้านธรรมชาติล่าง จำนวน ๑๐ หลัง และกลุ่มทอผ้าโรงเรียนวัดบางปิดล่าง จำนวน ๑๕ หลัง รวมจำนวน ๒๕ หลัง โดยมีนายณกรณ์ ตั้งหลัก วิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านผ้าไทยจากจังหวัดมหาสารคาม มาให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการทอผ้า ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ รวม ๓๐ วัน ณ โรงเรียนบ้านธรรมชาติล่าง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวขอบคุณ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ที่เป็นภาคีเครือข่ายของกรมการพัฒนาชุมชนมาอย่างดี และนายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รวมถึงนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวเบญจมาส วงษ์สุวรรณ ผู้ตรวจราชการกรม และนายมนตรี ฮมแสน พัฒนาการจังหวัดตราด รวมถึงผู้ประกอบการ OTOP จำนวน ๒๔ ราย ที่มอบกี่ทอผ้า ถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ผ้าไทยในประเทศไทยที่มีการทอผ้าทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยจังหวัดตราด เป็นจังหวัดที่ ๗๗ ในการทอผ้า การทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมายาวนานคือ กลุ่มบ้านครัว สะพานหัวช้าง เป็นกลุ่มทอผ้าที่มีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี มาจนถึงทุกวันนี้
ในสมัยอดีตจังหวัดตราดได้มีการทอผ้า แต่ได้ห่างหายไป จึงร่วมชาวชุมชน และหลายภาคส่วน ในจังหวัดตราด กระตุ้น ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมการทอผ้าของคนจังหวัดตราด ขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยไว้ ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำรัสแก่ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ทราบในประเทศไทยมีการทอเกือบทุกจังหวัด ยกเว้น ๓ จังหวัด ที่ไม่มีผ้าเป็นของตัวเอง คือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ และตราด แต่ในช่วง 2 ปี โดยสมุทรสาครมีรูปแบบผ้าปักลายปลาทู เช่นเดียวกับสมุทรปราการก็มีการทอผ้าแล้ว เป็นความโชคดีของจังหวัดตราด ที่ทำให้เกิดความตื่นตัวอยากทอผ้า ในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ทรงรื้อฟื้นผ้าทั่วประเทศ เป็นการสนองงาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอยากเห็นคนไทยคงรักษาภูมิปัญญาผ้าไทย และที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชปณิธาน ในวันสตรีไทย 1 สิงหาคม 2562 จะสนองพระเดชพระคุณ พระมหากรุณาธิคุณ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด และแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี ดำรงรักษาผ้าถิ่นไทยไว้ รวมถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย ในการที่จะสืบสาน แนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระพันปี ทรงศึกษาเรื่องผ้า คิดค้น รวมทั้งพระราชทานลายผ้า “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน สู่พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน เป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านเห็นความสำคัญ และสนใจเข้าร่วมศึกษา อยากเห็นผ้าไทยคู่กับคนไทย ด้วยฝีมือของคนไทยทุกจังหวัด ทั้งนี้ ได้เชิญ อาจารย์ณกรณ์ ตั้งหลัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้า ที่อนุรักษ์ สืบสานผ้าถิ่นไทยที่มีฝีมือการทอผ้า และความรู้ทอผ้าทั่วประเทศ จนกระทั่งสมเด็จราชชินีพระราชทานแต่งตั้ง เป็นขุนพลของผ้าไทยของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถและฝีมือแก่วิทยากรที่มามอบองค์ความรู้แก่สมาชิก ขอให้ทุกคนตั้งใจและรับเอาความรู้จากวิทยากรมาอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาการทอผ้าของเราให้คงยั่งยืนต่อไป

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีผู้ที่จะร่วมเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราดในการที่จะสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยให้ดำรงไว้ในแผ่นดินประเทศไทยของเรามีความโชคดีมากๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง เสด็จไปทุกหนแห่งของประเทศไทย มากกว่า ๕๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้พระองค์ท่านดูแลในเรื่องของอาชีพสตรีในการพลิกฟื้นผ้าไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประเทศชาติ ได้พลิกฟื้นให้การทอผ้าไทยเป็นอาชีพเสริมของพี่น้องสตรีที่ว่างเว้นจากการทำนา จากการลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีโอกาสรับฟังเรื่องราวของของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงเล่าเรื่องในหลายๆ หมู่บ้าน เช่น จังหวัดนครพนมได้มีการส่งข้าหลวง ให้มาช่วยชาวบ้านในการทอผ้า เพื่อสวมใส่เองและจำหน่าย จนกระทั่งทำให้ชีวิตของสตรี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในช่วงแรกตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ได้จัดทำโครงการตามรอยผ้าไทยลมหายใจแม่ของสตรี หวังส่งเสริมการทอผ้าไหมให้อยู่คู่แผ่นดินไทย และนับเป็นความโชคดีของพวกเราที่ได้เกิดมาทดแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระพันปีหลวง ซึ่งได้ทรงพระราชทานชีวิตให้กับผ้าไทยและผ้าไทยทุกผืนที่พี่น้องกำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราด ดังเช่นการส่งเสริมการทอผ้าทั้ง ๔ ภาค ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และความมั่นคงในชีวิตด้วยผ้าไทย ดั่งที่พระมหากรุณาธิคุณเปรียบเสมือนดั่งสายฝนที่ทุกครัวเรือนได้รับโดยถ้วนหน้า ต่อมาได้มีการทำโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยมุ่งเน้นพี่น้องสตรีและสุภาพบุรุษที่มีศักยภาพในการทอผ้า โดยเน้นการเล่าเรื่องราวชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในผืนผ้า เป็นเรื่องที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ และเอามาเผยแพร่ รณรงค์ให้พวกเราร่วมกันสวมใส่ผ้าไทย เราจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก ในช่วงหลังจากวิกฤตโควิด-๑๙ โดยการอนุรักษ์ผ้าไทย เป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง สมเด็จพระพันปีหลวงพระราชทานหน้าที่ของสตรีไว้ ๔ ประการ ๑) เป็นแม่บ้านที่ดีของบ้าน ๒) เป็นแม่ที่ดีของลูก ๓) สืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นการทอผ้า ๔) การพัฒนาตัวเองในด้านการทอผ้า จากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถ ผลิตผ้าที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัดตราด สร้างความภาคภูมิใจให้ลูกหลานต่อไป และสุดท้ายนี้กรมการพัฒนาชุมชนกับองค์กรสตรีในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความมุ่งมั่นโน้มน้าวผลักดันให้คนในประเทศทั้ง ๓๕ ล้านคน มาร่วมกันใส่ผ้าไทย เพียงซื้อผ้าเพิ่มคนละ ๑ เมตร เม็ดเงินกว่าแสนล้านบาท จะคืนสู่ชุมชนทั่วประเทศ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ ท่านที่ได้มุ่งมั่นทำภารกิจนี้ อย่างเต็มความสามารถ เป็นพันธกิจความมุ่งมั่นที่เราจะมีสัจจะร่วมกัน ที่จะเนรมิตผืนผ้าไทย ให้เป็นภาพสวยงามของจังหวัดตราด และสามารถสวมใส่ได้อย่างภาคภูมิใจในการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ให้ดำรงคงอยู่ต่อไป


นายสุทธิพงษ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโอกาสนี้ขอขอบคุณ กลุ่มทอผ้าโรงเรียนบ้านธรรมชาติล่างและกลุ่มทอผ้าโรงเรียนวัดบางปิดล่าง ที่ช่วยกันรวมกลุ่ม รวมถึงพี่น้องกลุ่ม OTOP ที่ช่วยบริจาคกี่ทอผ้าแก่กลุ่ม ช่วยกันดูแล สร้างสิ่งดีๆ ถักทอบนพื้นผ้าต่อไป แสดงให้เห็นนิมิตรหมายที่ดี ของการรวมกลุ่มเพื่อสนองแนวพระราชดำริ ในการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เช่นเดียวกับทางสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว รณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยสวมใส่ผ้าไทย ตามรอยแม่ของแผ่นดิน พระพันปีหลวง ตามพระองค์ท่านพระราชดำเนินส่งเสริมผ้าไทยในพื้นที่ต่างๆ เช่น นครพนม แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น ปัตตานี ภูเก็ต และอีกหลายพื้นที่ เพื่อให้กำลังใจแก่กลุ่มทอผ้า อย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ และได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ให้ถือว่ามาตรการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เป็นนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ข้าราชการ ประชาชน แต่งกายด้วยผ้าไทย ตามความเหมาะสมของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน อีกทั้งยังให้ทุกกระทรวงรณรงค์การใช้และสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง เพื่อสร้างค่านิยม รักษามรดก อัตลักษณ์ภูมิปัญญาของไทย และอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาผ้าไทย เพื่อเป็นสินค้าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และเป็นการส่งเสริมเผยแพร่เรื่องราวของผ้าให้ลูกหลานและสังคมได้รับรู้ ผ่านการจัดนิทรรศการ และส่งเสริมการรวมมกลุ่มการทอผ้าให้มากขึ้น ผ้าไทยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการรักษาอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ไม่ให้สูญหาย แสดงให้เห็นถึงความกตัญญู มีหลักชัยที่สำคัญที่พระองค์ท่าน ส่งเสริม สนับสนุน การทอผ้า ที่ทำให้ ๗๗ จังหวัด มีการทอผ้าครบทุกจังหวัด

ในการนี้ นายสุทธิพงษ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบพืชผักสวนครัว ประกอบด้วย กะเพรา แตงกวา ผักบุ้ง คะน้า พริก จำนวน ๕๐๐ ซอง แก่ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองใหญ่ และ ได้มอบต้นกล้าผักสวนครัว แก่นายสุชาติ จิตมุ่งมโนธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางปิด มอบเมล็ดพันธุ์ผักตราศรแดง จาก บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด อีกจำนวน ๕๐๐ ซอง แก่ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลบางปิด และมอบหนังสือสำหรับเด็กสำหรับห้องสมุดโรงเรียน จากร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ กรุงเทพ ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๑๐๐ เล่ม ให้แก่นางศิริรัตน์ โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางปิดล่างอีกด้วย ดังนั้นถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดี ในการฝึกอบรมทักษะการทอผ้า ตามโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดตราด เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้า สร้างมูลค่าการทอผ้า รักษา อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ผสมผสานความทันสมัยให้มีความน่าสนใจ ใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย เพื่อมุ่งยกระดับผ้าไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นในชุมชน และเน้นย้ำ ให้ทุกคนต้องอดทน จริงจังต่อการทอผ้า ฝึกฝนเอาความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ ระหว่างการดำเนินโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดตราด ทั้ง ๓๐ วันนี้ ขอเป็นกำลังใจ และขอบคุณสมาชิกกลุ่มทอผ้าทุกท่าน ที่ช่วยกันสานฝันคนไทยให้เป็นจริง ได้สวมใส่ผ้าไทยที่เป็นฝีมือบ้านเดียวกัน และฝากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด กรุณาให้ความเมตตาเป็นกำลังใจแก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าทั้ง ๒ กลุ่ม เพื่อเป็นการรักษาความกตัญญูต่อการอนุรักษ์ผ้าไทยของบรรพบุรุษให้คงอยู่คู่แผ่นดิน ตลอดจนกระจายรายได้สู่ชุมชนฐานราก ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่มแก่ประเทศชาติ และหวังว่าในอนาคตจังหวัดตราด จะสามารถผลิตผ้าทอ ที่ทรงคุณค่า มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์งดงามแก่สายตาชาวไทย และขอขอบคุณกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP จำนวน ๒๔ ราย ที่ได้บริจาคกี่ทอผ้า จำนวน ๒๕ หลัง แก่กลุ่มสมาชิกทั้ง ๒ กลุ่ม และขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ช่วยดูแลมีความอนุเคราะห์ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ผ้าถิ่นไทยและทำให้การดำเนินโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดตราดลุล่วงไปด้วยดี และสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ การจะนำความสุขไปสู่พี่น้องคนไทยต่อไปในอนาคต อธิบดี พช. กล่าว

ที่มา: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๒. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน มอบทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน รวมเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ในกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ และกิจกรรมแบ่งปันความสุข บรรเทาความทุกข์ด้วยการช่วยเหลือและแบ่งปัน ณ จังหวัดตราด

วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (พช.) พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ (Children Development Fund Mobile : CDF Mobile) และกิจกรรมแบ่งปันความสุข บรรเทาความทุกข์ด้วยการช่วยเหลือและแบ่งปัน พร้อมมอบทุนอุปการะเด็ก พร้อมของใช้จำเป็นสำหรับเด็ก จำนวน ๑๐๐ ทุน ๆ ละ ๑,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และของใช้จำเป็นสำหรับเด็ก จำนวน ๑๐๐ ชุด ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และมอบทุนการศึกษาเด็กเรียนดีที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ที่มาจากครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้มอบทุนการศึกษา ในโครงการแบ่งปันความสุข บรรเทาความทุกข์ ด้วยการช่วยเหลือและแบ่งบัน รวม ๑๐๐ ทุน โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน ๕๐ ทุน ๆ ละ ๒,๐๐๐ บาท และระดับมัธยมศึกษาจำนวน ๕๐ ทุน ๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในการนี้ นายภิญโญ ประกอบผล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นาวาเอกปฏิรูป อยู่พรหม ผู้บังคับการฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ ๑ นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด นายฉันท์ แป้นเพชร นายอำเภอแหลมงอบ นางสาวเบญจมาศ วงษ์สุวรรณ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดตราด คณะข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดตราด ร่วมในพิธีมอบทุน โดยมีนางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมฯ โอกาสนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ เครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP ชวนชิม และ ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดตราด คณะกรรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด ร่วมนำอาหารกลางวันมาเลี้ยงเด็ก ผู้ปกครอง และผู้มาร่วม จำนวน ๒๓ ร้านค้า ณ กองบังคับการฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ ๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยลูกหลานชาวไทยอยู่ตลอดเวลา พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาของพี่น้องคนไทย โดยเฉพาะปัญหาความขาดแคลนของเด็กในชนบทห่างไกล ด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม กองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในกิจกรรมกองทุนเด็กพัฒนาชนบทเคลื่อนที่ ในวันนี้ คือการนำเอาความห่วงใย ความยินดี ในการนำเอาสิ่งที่ดี มาสู่เด็กๆ เป็นทุนการศึกษาพร้อมด้วยอุปกรณ์การเรียนการศึกษา นำเงินกองทุนฯ ไปใช้ในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กก่อนวัยเรียน อายุแรกเกิดถึง 6 ปี โดยได้มอบทุนช่วยเหลือเด็กเล็กที่ยากจนและด้อยโอกาสในชนบท ทรงมีพระราชประสงค์ มุ่งพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีภาวะโภชนาการและสุขภาพดี มีความรู้ทางวิชาการ การงานอาชีพ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ แต่ต้องรู้จักเรียนรู้ต้องมีร่างกายที่แข็งแรงทักษะทางมือช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาน ตำรวจตระเวนชายแดน ส่งเสริมให้เด็กๆ รู้จักเพาะปลูกพืชผักสวนครัว มีความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริม สร้างเสริมให้เด็กเรียนรู้การปลูกพืชปลูกผักสวนครัวในโรงเรียน เด็กมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างมาก เด็กในวันนี้คืออนาคตในวันหน้า ตามโครงสร้างทางสังคมที่ประเทศไทย ที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในวันนี้ขอฝากแง่คิดเรื่องของการศึกษาว่า คุณครู ผู้ปกครอง ต้องส่งเสริมให้ลูกหลานได้พัฒนา ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ต้องทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ มีความมั่นคงทางอาหาร มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีการออกกำลังกาย ด้านจิตใจ พัฒนาให้เด็กมีความสุข ด้านอารมณ์ ให้เด็กมีภาวะทางอารมณ์ที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี อยู่ในธรรมชาติ อยู่อาศัยบ้านเรือนสะอาด สร้างโอกาสให้ได้เรียนรู้อยู่กับทะเล ต้นไม้ แปลงผัก ด้านสติปัญญา ได้รู้จักใช้จินตนาการ จากอ่านหนังสือนิทาน ให้ศึกษาหาความรู้ที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เพียงหาได้ในห้องเรียนหรือตำรา แต่ทุกสิ่งรอบตัวนั้นสามารถเสริมสร้างเด็กได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชผักสวนครัว และด้านสังคม ให้เด็กต้องรู้ระเบียบ วินัย รู้จักปฏิบัติตน

ฝากพ่อแม่พี่น้อง ให้ตระหนัก กองทุนการศึกษาต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมหากรุณาธิคุณ ทรงห่วงใยลูกๆหลานๆทั่วประเทศ อยากให้ลูกหลานได้มีการศึกษาที่ดี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาทรงตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาไว้ทั่วประเทศ ตั้งแต่ประถมจนจบปริญญา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทาน จัดตั้งมูลนิธิ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน พี่น้องประชาชนทุกคนที่เห็นความสำคัญ ของการให้การศึกษา และการอบรมคุณธรรมแก่เยาวชน แม้วันนี้ทุนจะมาชั่วครั้งชั่วคราว จะมีช่องทางในการเรียนได้สูงๆ ได้มีโอกาสที่ดีของชีวิต ทุกคนโชคดี ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงดูทุกมิติ ด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกคน


ด้าน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวว่า “สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์อุปนายิกา ก่อตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ มีองค์กร สมาชิกทั่วประเทศกว่า ๒๐๐ องค์กร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานหน้าที่ของสตรีว่า แม่บ้านที่ดี ดูแลบ้านเรือน เป็นแม่ที่ดีของลูก รักษาวัฒนธรรมของแผ่นดิน แต่งกายด้วยผ้าไทยอันเป็นลมหายใจของวัฒนธรรมไทย สร้างรายได้ให้กับชุมชน และการพัฒนาตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ สำหรับทุนการศึกษาโครงการแบ่งปันความสุข บรรเทาความทุกข์ ด้วยการช่วยเหลือและแบ่งบัน รวม ๑๐๐ ทุน อันเป็นทุนเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่มาจากครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคน ทุนปัญญาถือว่าเป็นทุนอันดับแรกใจนชีวิต เป็นการติดอาวุธ ติดมือติดปัญญาของลูกหลานของเรา ประเทศชาติจะเจริญได้ก็ด้วยความรู้ ด้วยปัญญาของลูกหลาน สิ่งที่ได้มอบให้ในวันนี้ เป็นกำลังใจให้กับเด็กๆ และผู้ปกครอง ในการส่งเสียลูกหลานของเรา การศึกษา มีความรู้ มีอาชีพ เพื่ออนาคตของลูกหลาน กำลังสำคัญสร้างชาติในวันข้างหน้าต่อไป นอกจากนี้ ยังมีทุนสามารถขอทุนไปที่มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้า ผู้ปกครอง คุณครู สามารถขอทุนการศึกษา เพื่อลูกหลานประชาชนได้ โดยผ่านผู้ว่าราชการาจังหวัด ได้ทุกจังหวัด

ด้าน นายภิญโญ ประกอบผล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า จังหวัดตราดรู้สึกขอบคุณและเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้มามอบทุนการศึกษา และเยี่ยมจังหวัดตราด ในวันนี้ จังหวัดตราด มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๗๖ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทยติดกับประเทศกัมพูชาโดยมีเขาบรรทัดเป็นพรมแดนธรรมชาติ แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง ในโอกาสที่ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนจังหวัดตราด รวมทั้งจัดกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ (Children Development Fund Mobile : CDF Mobile) ในครั้งนี้ รู้สึกขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ให้การสนับสนุนทุนให้แก่เด็กในพื้นที่จังหวัดตราด แบ่งปันความสุข บรรเทาความสุข อันเป็นการสร้างกำลังใจแก่เด็กในจังหวัดตราด
“กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สามารถติดต่อได้ ณ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และส่วนภูมิภาค สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ทั่วประเทศ หรือตั๋วแลกเงิน เช็ค หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เลขที่บัญชี ๙๕๕-๐-๐๒๘๕๖๙ โดยเงินบริจาคช่วยเหลือเด็กท่านสามารถนำใบเสร็จรับ
เงินไปลดหย่อนภาษีได้” อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณที่มา : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๑. สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จ.พระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการ และสมาชิก ร่วมปฎิบัติธรรม กับ กรมยุทธศึกษาทหารบก เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๖๔

วันที่ ๒๓ – ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จ.พระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการ และสมาชิก ร่วมปฎิบัติธรรม กับ กรมยุทธศึกษาทหารบก เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมีคณะผู้บังคับบัญชากรมยุทธศึกษาทหารบก สมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กรมยุทธศึกษาทหารบก กำลังพลและครอบครัว ร่วมปฏิบัติธรรม โดยสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขออนุโมทนายอดเงินทำบุญ ๑๐๒,๙๕๕ บาท จากสตรีผู้มีจิตศัทธาทุกท่าน และกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จ.พระนครศรีอยุธยา รับเป็นเจ้าภาพสร้างห้องสุขาให้พุทธธรรมสิกขาสถาน จำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และในโอกาสสำคัญนี้ พล.ท. วิสันติ สระศรีดา เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ได้มอบเกียรติบัตรให้กับผู้ร่วมปฎิบัติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๖๔ ณ ศาลามหาสติปัฏฐาน อุทยานพุทธธรรมสิกขา กรมยุทธศึกษาทหารบก


รายงานภาพข่าว : สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จ.พระนครศรีอยุธยา
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๔๐. สามองค์กรหลัก สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี จัดเลี้ยงอาหารกลางวัน และจับมือสร้างร้านกาแฟ ปัญญาคาเฟ่ เป็นสถานที่ฝึกฝนอาชีพ สร้างโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้เยาวชนในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี และ พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี ร่วมกันจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ให้เยาวชน ณ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี
และในโอกาสนี้ สามองค์กรหลัก สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี สมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี และสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี ได้ร่วมกันสมทบสร้างร้านกาแฟร้านปัญญาคาเฟ่ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอาชีพให้กับเด็กๆที่ศูนย์ฯให้กับศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี เป็นจำนวนเงิน ๕๗,๐๐๐ บาท และ คุณพรวิไล แสนประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ร่วมสนับสนุน เพิ่มอีก เป็นจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท รวมเงินสมทบสร้างร้านกาแฟ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐๗,๐๐๐ บาท โดยมี นายกฤษณา ธีระวุฒิ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี

รายงานภาพข่าว :สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานีองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๓๙. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กรมกรมการพัฒนาชุมชน สนองพระปณิธาน สมเด็จเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ จากผ้าพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” จัดประกวดผ้าลายพระราชทาน สืบสาน อนุรักษ์ ปลุกกระแสผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล พร้อมดึงรายได้เข้าสู่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก

สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กรมกรมการพัฒนาชุมชน สนองพระดำริ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เชิญชวนคนไทยทั่วประเทศร่วมประกวดผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
วันศุกร์ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับเกียรติ เข้าร่วมการแถลงข่าวการประกวดผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายอัครชญ แก้วอาภรณ์ ผู้แทนที่ปรึกษาคณะกรรมการประกวดผ้าลายพระราชทาน ร่วมในการแถลงข่าวการประกวดผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ นอกจากนี้ยังมีบุคลสำคัญ ประกอบด้วย นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารโว้ก นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รวมถึงแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ สุราลัยฮอลล์ ชั้น ๗ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า นับเป็นโชคดีของพวกเราคนไทย ที่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน มีพระเมตตาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สืบสานมายังสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระเมตตาต่อพวกเราอย่างยิ่ง ในการที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมสิ่งที่สำคัญที่สุดของความเป็นไทย เรื่องหนึ่งคือ เรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกาย สนับสนุน ส่งเสริม รื้อฟื้น ชีวิตผ้าไทย มาตั้งแต่พระพันปีหลวง จนนับเนื่องมาถึงปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านก็ทรงมีพระดำรัสที่สำคัญ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ วันสตรีไทยแห่งชาติ ว่าจะทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของพระองค์ท่าน สิ่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือการฉลองชุดพระองค์ด้วยผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนให้ผ้าไทยที่สมเด็จย่าของพระองค์ท่าน ทรงชุบชีวิตขึ้นมา ให้มีอายุที่ยืนยาวชั่วกับชั่วกันคู่กับแผ่นดินไทย พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพเรื่องของผ้ามาก ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องผ้าไทย พระองค์ทรงพระราชทานหนังสือ THAI TEXTILES TREND BOOK S/S 2022 ให้กระทรวงวัฒนธรรมช่วยพิมพ์ ช่วยเผยแพร่ในหนังสือ จะเห็นได้ชัดว่าทรงเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นเลิศ รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงาน ๓ ภาค ของประเทศไทย ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราชภาคเหนือ จังหวัดลำพูน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร โดยพี่น้องประชาชนได้นำผ้ามาจัดแสดง พระองค์ท่านทรงมีพระดำริในการให้คำแนะนำในเรื่องผ้า สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงอุทิศทุ่มเท ความเพียรพยายาม แนะนำติดตามงาน และที่สำคัญคือ ผ้าเป็นสิ่งที่ล่อเลี้ยงชีวิตของพี่น้องประชาชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ครัวเรือน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน โดยพระองค์ท่านมองเห็นถึงจุดอ่อนของวงการผ้าไทย คือ แบบผ้าเก่า ไม่มีความโดดเด่นตามยุคตามสมัย พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยะภาพช่วยฝ่าทางตันออกไปได้ ตามพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ทรงได้แนะนำการประยุกต์พัฒนาลวดลายให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ชัดว่าวงการทอผ้าไทย มีความคึกคักเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการตื่นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ต่อลมหายใจของผ้าไทยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ท่านชุบชีวิตมาด้วยยาวิเศษ คือความเพียรพยามความวิริยะอุตสาหะ ความรัก ความเมตตาต่อพสกนิกรชาวไทย จะมีลมหายใจที่แข็งแรงและยาวนานไปสู่รุ่นต่อรุ่น คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า สภาสตรีแห่งชาติฯ ก่อตั้งเมื่อปี ๒๔๙๙ เป็นต้นมา กระทั่งถึง วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๔ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงรับสภาสตรีแห่งชาติไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงได้ชื่อว่า “สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์” จวบจนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ เชิดชูบทบาทสตรีไทย ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสถานภาพของสตรีไทยตามพระราชเสาวนีย์ ๔ ประการ ในวันสตรีไทยในการเป็นแม่ที่ดี เป็นแม่บ้านที่ดี รักษาเอกลักษณ์ไทย และใส่ใจพัฒนาตนเอง ยึดมั่นสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรสตรีกว่า ๒๐๐ องค์กร
สำหรับการได้รับการเลือกตั้งจากองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ให้เป็นประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๕ – ๒๖ จึงเป็นโอกาสที่มีคุณค่าอย่างที่สุด ในการทดแทนพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรของพระองค์มาอย่างยาวนาน ด้วยทรงมีพระราชดำริในการอนุรักษ์ สืบสานผ้าไทยมากกว่า ๖๐ ปี สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้มีโอกาสสนองงานสืบสานพระราชปณิธาน อาทิโครงการตามรอยผ้าไทยลมหายใจแม่ของแผ่นดิน ด้วยต่างสำนักในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทำให้พี่น้องสตรีไทยทั้ง ๔ ภาค ล้วนได้มีอาชีพ มีรายได้ และความมั่นคงในชีวิตด้วยผ้าไทย ทำให้ผ้าทุกผืนมีคุณค่าจนเกิดเป็นอาชีพหลักสร้างความมั่นคงต่อตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดีด้วยความภาคภูมิใจทั้งนี้ต่อมาสภาสตรีฯ ได้ดำเนินโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยไม่เน้นที่ความสวยงามเป็นหลักเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการต่อยอดในการอนุรักษ์ผ้าพื้นถิ่น ซึ่งได้จับมือกับกรมการพัฒนาชุมชน ลงนาม MOU ร่วมกับ ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีสำคัญหลายองค์กร ประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาภูมิภาค ในการสวมใส่ผ้าไทย และผลักดันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย จนเป็นมติคณะรัฐนมตรี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ เห็นชอบการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยใช้และสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละสองวัน ทั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ผ้าไทยเป็นที่ต้องการมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการในชุมชน อันเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก อันเป็นเป้าหมายที่สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน พยายามผลักดันให้ผ้าไทยสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนไทยทุกคนให้ได้
ด้วยพระปรีชาและพระกรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้ประทานลวดลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” จึงเป็นการสร้างปรากฏการณ์แห่งอนาคตสำหรับการพัฒนาลวดลายและคุณภาพผ้าในยุคใหม่ เพราะโจทย์ใหญ่ของการพัฒนาผ้าไทยวันนี้คือรูปแบบ เรื่องราว ดังนั้นจึงเป็นดังการประทานแรงบันดาลใจของพระองค์ ไปสู่ช่างฝีมือ กลุ่มทอผ้า ทุกกลุ่มทุกภูมิภาค ให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตชีวา พัฒนาสืบสานต่อยอดอย่างไม่หยุดยั้ง เกิดความนิยมโดยแพร่หลาย ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทุกคนร่วมกันหันมาสวมใส่ผ้าไทย ส่งเสริมหัตถศิลป์ผ้าไทยด้วยความภาคภูมิใจ ช่วยเศรษฐกิจไทยให้มั่นคง และยั่งยืนตลอดไป

ด้าน นายอัครชญ แก้วอาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย กล่าวว่า การแถลงข่าวการประกวดลายผ้าพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการ kick off ในการส่งเสริม อนุรักษ์ รักษา สืบสาน และต่อยอด โดยการส่งเสริมศิลปินคนรุ่นใหม่โดยมุ่งเน้นการทำงานทักทอผ้าต้องไม่ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ทรงพระราชทานผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงพระอักษรลายเชิงผ้ารูปหัวใจ สื่อความหมายถึงความรักที่พระองค์มีต่อประชาชนชาวไทยทุกคน = Eternal Love ซึ่งทุกลวดลายเปี่ยมไปด้วยความหมาย การประกวดลายผ้าครั้งนี้ เพื่อต้องการส่งเสริม รักษา ต่อยอด พระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงตามกติกาที่ได้วางไว้ สุนทรียศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่ส่งต่อบรรพบุรุษดำเนินต่อเนื่อง สิ่งที่คงอยู่กับโลกปัจจุบันในเรื่อง แนวโน้ม ขับเคลื่อนรูปแบบความต้องการในยุคปัจจุบัน เพื่อต้องการยกระดับ คุณภาพลายผ้าไทย เส้นใย และสร้างศิลปินคนรุ่นใหม่ที่ทำงานเรื่องผ้าโดยไม่จำกัดอายุ มีความถนัด ความชอบในด้านการทอผ้า แต่ขาดเวทีโอกาสในเผยแพร่คุณค่าของตนเอง เวทีนี้จะสร้างคุณค่าแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนใจในการเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้เป็นอย่างมาก และพระองค์ท่านยังทรงเน้นย้ำถึงการทอผ้าต้องไม่มีการลดขั้นตอน ต้องปฏิบัติตามบรรพบุรุษ ทออย่างไร ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนนั้นๆ และในการประกวดช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พระองค์ท่านจะทรงเสด็จเป็นองค์ประธานตัดสินในระดับประเทศด้วยพระองค์เอง และทรงเชิญพระราชบริพารที่ถวายงานเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินรอบกิตติมศักดิ์ รวมถึงมีรางวัลพิเศษ the best of the best รางวัล ๑๕ ประเภทผ้า ตามเทคนิค เอกลักษณ์ของผ้าประจำถิ่นของจังหวัดนั้นๆ เป็นแรงกระตุ้นสิ่งสำคัญ นำผ้าที่ชนะเลิศไปตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ ใส่ไปงาน OTOP Midyear ๒๐๒๐ ในเดือนสิงหาคม และมีเหรียญรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ ๓ รางวัลและพระองค์ท่านยังเข้าถึงใจประชาชน ทรงพระราชทานรางวัลชมเชยแก่ผู้เข้าร่วม เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นแรงบันดาลใจ จึงขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่เห็นความสำคัญของการพลิกฟื้นผ้าไทยและสนองแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน ต่อการดำเนินงานประโยชน์ต้องตกอยู่แก่ประชาชนแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติม เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งกว่ารางวัล ก็คือ การที่พระองค์ท่านพระราชทานเหรียญรางวัลและร่วมฉลองพระองค์ จากผ้าที่ได้รับชนะเลิศ ซึ่งเป็นเกียรติประวัติและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก จากลายผ้าพระราชทาน ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ บนผืนผ้าลายขอ รูปตัว S แบบมาตรฐาน พระองค์ท่าน ทรงพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้ก่อให้เกิดรายได้ แต่ต้องเป็นการทำมือ เช่น ทำสร้อยอัญมณีลายขอ จะเห็นได้ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาได้นำเอาสิ่งที่สำคัญ มาเป็นของขวัญอันล้ำค่าให้แก่ปวงประชาชน และรูปหัวใจที่ร้อยเรียงเปรียบเสมือนหัวใจแห่งความรัก ความดูแล เอาใจใส่ที่พระองค์ท่านมอบให้แก่ประชาชน พระองค์ท่านได้พระราชทานแบบ เพื่อมอบให้ชาวบ้านได้นำไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีรูปแบบที่ทันสมัย เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และทรงมีความละเอียดอ่อนในเรื่องของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้กรมการพัฒนาชุมชน จดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยไว้ โดยพระองค์ท่านทรงลงพระนามมอบให้ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป

ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – เดือนเมษายน ๒๕๖๔ และประกวดในระดับภูมิภาคในห้วงเดือนพฤษภาคม๒๕๖๔ และประกวดในระดับประเทศในห้วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยสามารถติดต่อได้ที่กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอทุกแห่ง ดังนั้นการประกวดในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่า จะเป็นต้นแบบรังสรรค์ผ้าไทยให้เกิดความหลากหลาย สร้างเทคนิคที่โดดเด่น ตามความถนัดของตนเองและสร้างคุณค่าในสังคมควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะระดับประเทศ จะเป็นเกียรติประวัติ โดยได้รับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์พระองค์ท่าน เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด ภายใต้แนวคิด “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน และขอเชิญชวนให้ทุกท่านสวมใส่ผ้าไทยอย่างพร้อมเพียงกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีแก่พระองค์ท่าน และสามารถดูรายละเอียดการประกวด และข้อมูลเกี่ยวกับผ้าลายพระราชทานลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ได้ทางเว็บไซต์กรมการพัฒนาชุมชน www.cdd.go.th

ขอบคุณที่มา: เว็บไซต์กรมการพัฒนาชุมชน www.cdd.go.th กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๖๓๘. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ฯ สืนสานประเพณีจัดงานวันตรุษจีน เสริมศิริมงคล ให้ชีวิตตลอดปี

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. ที่สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการสมาคม จัดงานวันตรุษจีน ร่วมกันสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีจีน จัดเลี้ยงอาหารกลางวัน มีการจับสลากรางวัล และมอบอั่งเปาตามประเพณีจีน และไหว้สักการะสิ่งศักด์สิทธ์ ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้เจ้าที่ ตั้งจิตอธิฐานขอพร ให้การทำงานร่วมกันของกรรมการและสมาชิกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี เป็นไปด้วยความราบรื่น ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และต่อครอบครัว สุขภาพแข็งแรงโชคดีตลอดปีใหม่


รายงานภาพข่าว: สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ