๗๑๘. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ และผู้แทนองค์กรสมาชิก บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์อาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร โดยมีคณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ และผู้แทนองค์กรสมาชิก ประกอบด้วย ดร.สมจิตร ศิริเสนา เลขาธิการ ดร.อรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการ นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ กรรมการอำนวยการ นางธัญพักตร์ สุรศักดิ์นิธิกุล กรรมการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดร้อยเอ็ด องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมบันทึกเทปฯ ในครั้งนี้ด้วย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์

๗๑๗. WEBSITE ไทยรัฐเผยแพร่ กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาคhttps://www.thairath.co.th/news/local/2124865

กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด พร้อมมุ่งรักษามรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทารา และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก 75 ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก 4 ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY 2020 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ

ขณะที่ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า 60 ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ" ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ให้ในการประกวดทั้ง 4 ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง


สำหรับการประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า 1,677 ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง 1,070 ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ 294 ผืน, ผ้าขิด 92 ผืน, ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ 68 ผืน, ผ้าเทคนิคผสม 51 ผืน, ผ้ายกดอก 26 ผืน, ผ้าแพรวา 22 ผืน, ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน, ผ้าลายน้ำไหล 1 ผืน และผ้าพิมพ์ลาย 1 ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสินคัดเลือก


ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ 75 ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก 4 ภูมิภาค เหลือเพียง 75 ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค. 2564 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ 27-29 ก.ค. 2564 โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมภ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง.

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/2124865
กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๖. หนังสือพิมพ์รายวันเดลินิวส์ เผยแพร่ สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมหับกรมการพัฒนาชุมชน จัดคนผ้าทั่วอีสานประกวด "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ". อ่านต่อทีhttps://dailynews.co.th/politics/852412

สภาสตรีแห่งชาติฯ และกรมการพัฒนาชุมชน น้อมรับพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯทรงมุ่งมั่นอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย ร่วมกิจกรรมคนผ้าอีสานประกวด “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” พร้อมคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุดจาก ๔ ภูมิภาค รักษามรดกศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี โดยเน้นย้ำมาตรการป้องกัน การเว้นระยะห่างระหว่างกัน และสวมหน้ากากอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY ๒๐๒๐ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค เป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทยไม่ว่าจะในชนบทและเมือง ทรงพระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ และคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องกลุ่มทอผ้าทั้งหลาย ได้พัฒนาฝีมือ ค้นหาเทคนิควิธีการในการผลิตผ้าไทยให้ดีขึ้น เหมาะสมแก่การตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่ เหนือล้ำไปกว่าการมุ่งหวังผลแพ้ชนะ คือการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในโอกาสนี้ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้ในการประกวดทั้ง ๔ ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง กี่ทอผ้ากลับกลายมาเสียงกระตุกอีกครั้ง ตลาดให้การยอมรับเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดมิติใหม่ นำผ้าไทยไปออกแบบ ตัดเย็บ ออกแบบลวดลายได้ทันสมัย และสิ่งที่สำคัญในพระมหากรุณาครั้งนี้ ต้องการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้มีการรณรงค์สืบสานผ้าไทย ตามโครงการ“สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งหากคนไทย ๓๕ ล้านคน ใส่ผ้าไทย ๑๐ เมตร ๆ ละ ๓๐๐ บาท จะทำให้เพิ่มรายได้ ๓ แสนล้านบาท กลับคืนสู่ชุมชนไทย และยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-๑๙ ทุกคนในประเทศได้ผลกระทบเป็นอย่างมาก การสวมใส่ผ้าไทยก็เป็นการช่วยเหลือพี่น้องคนไทยร่วมกัน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทั้งประเทศสวมใส่ผ้าไทยไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และอย่างยิ่งเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และในเดือนสิงหาคมเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระพันปีหลวง มาร่วมกันถวายพระเกียรติสวมใส่ผ้าไทย ด้วยความภาคภูมิใจร่วมกัน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า ๑,๖๗๗ ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ ๒ ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง ๑,๐๗๐ ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอ ๒๙๔ ผืน, ผ้าขิด ๙๒ ผืน ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ ๖๘ ผืน, ผ้าเทคนิคผสม ๕๑ ผืน, ผ้ายกดอก ๒๖ ผืน, ผ้าแพรวา ๒๒ ผืน ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน ผ้าลายน้ำไหล ๑ ผืน และผ้าพิมพ์ลาย ๑ ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสิน คัดเลือก ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ ๗๕ ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เหลือเพียง ๗๕ ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมน์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง ผลงานของผู้ชนะการประกวด เป็น The Best of The Best จะถูกนำมาออกแบบตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ และได้รับเหรียญพระราชทาน พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง มีนัยยะสะท้อนชัดเจนถึงการทรงงานเพื่อยกระดับคุณค่าผ้าไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกทั้งพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เผยแพร่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ผ้าทุกผืนที่ทุกคน ทุกกลุ่มใช้ฝีมือร่วมกันสร้างสรรค์ เสริมส่งให้เกิดการพัฒนาศักยภาพวงการผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค

ในการนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการประกวดทุกท่าน และประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย รณรงค์ส่งเสริมคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นดั่งดอกผลของความมหัศจรรย์ที่พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานแก่พี่น้องคนไทยที่ได้นำลายผ้าพระราชทาน ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปรังสรรค์แสดงผลงานเข้าประกวดกันในครั้งนี้ ทำให้วงการผ้าไทยเกิดความคึกคัก ปลุกกระแสผ้าไทยสู่สากล สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

แหล่งที่มา : คนผ้าทั่วอีสานประกวด "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ"
อ่านต่อที่ : https://dailynews.co.th/politics/852412

เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ



๗๑๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ และกรมการพัฒนาชุมชน น้อมรับพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯทรงมุ่งมั่นอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย ประกวดผ้าอีสาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” พร้อมคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นดีที่สุดจาก ๔ ภูมิภาค

วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี โดยเน้นย้ำมาตรการป้องกัน การเว้นระยะห่างระหว่างกัน และสวมหน้ากากอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY ๒๐๒๐ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค เป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทยไม่ว่าจะในชนบทและเมือง ทรงพระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ และคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องกลุ่มทอผ้าทั้งหลาย ได้พัฒนาฝีมือ ค้นหาเทคนิควิธีการในการผลิตผ้าไทยให้ดีขึ้น เหมาะสมแก่การตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่ เหนือล้ำไปกว่าการมุ่งหวังผลแพ้ชนะ คือการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้ในการประกวดทั้ง ๔ ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง กี่ทอผ้ากลับกลายมาเสียงกระตุกอีกครั้ง ตลาดให้การยอมรับเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดมิติใหม่ นำผ้าไทยไปออกแบบ ตัดเย็บ ออกแบบลวดลายได้ทันสมัย และสิ่งที่สำคัญในพระมหากรุณาครั้งนี้ ต้องการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้มีการรณรงค์สืบสานผ้าไทย ตามโครงการ“สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งหากคนไทย ๓๕ ล้านคน ใส่ผ้าไทย ๑๐ เมตร ๆ ละ ๓๐๐ บาท จะทำให้เพิ่มรายได้ ๓ แสนล้านบาท กลับคืนสู่ชุมชนไทย และยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-๑๙ ทุกคนในประเทศได้ผลกระทบเป็นอย่างมาก การสวมใส่ผ้าไทยก็เป็นการช่วยเหลือพี่น้องคนไทยร่วมกัน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทั้งประเทศสวมใส่ผ้าไทยไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และอย่างยิ่งเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และในเดือนสิงหาคมเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระพันปีหลวง มาร่วมกันถวายพระเกียรติสวมใส่ผ้าไทย ด้วยความภาคภูมิใจร่วมกัน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า ๑,๖๗๗ ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ ๒ ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง ๑,๐๗๐ ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอ ๒๙๔ ผืน, ผ้าขิด ๙๒ ผืน ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ ๖๘ ผืน, ผ้าเทคนิคผสม ๕๑ ผืน, ผ้ายกดอก ๒๖ ผืน, ผ้าแพรวา ๒๒ ผืน ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน ผ้าลายน้ำไหล ๑ ผืน และผ้าพิมพ์ลาย ๑ ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสิน คัดเลือก ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ ๗๕ ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เหลือเพียง ๗๕ ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมน์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง ผลงานของผู้ชนะการประกวด เป็น The Best of The Best จะถูกนำมาออกแบบตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ และได้รับเหรียญพระราชทาน พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง มีนัยยะสะท้อนชัดเจนถึงการทรงงานเพื่อยกระดับคุณค่าผ้าไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกทั้งพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เผยแพร่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ผ้าทุกผืนที่ทุกคน ทุกกลุ่มใช้ฝีมือร่วมกันสร้างสรรค์ เสริมส่งให้เกิดการพัฒนาศักยภาพวงการผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค

ในการนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการประกวดทุกท่าน และประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย รณรงค์ส่งเสริมคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นดั่งดอกผลของความมหัศจรรย์ที่พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานแก่พี่น้องคนไทยที่ได้นำลายผ้าพระราชทาน ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปรังสรรค์แสดงผลงานเข้าประกวดกันในครั้งนี้ ทำให้วงการผ้าไทยเกิดความคึกคัก ปลุกกระแสผ้าไทยสู่สากล สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

แหล่งที่มา : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ


๗๑๔. องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ร่วมต้อนรับประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในโอกาสมาเยี่ยมเยียนองค์กรสมาชิกในจังหวัดอุดรธานี

วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี และคระกรรมการของ ๓ สมาคม ร่วมกัน ต้อนรับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และคณะ เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยียนองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และ นมัสการ พระครูใบฎีกากฤษณ์ กิตติญาโณ (พระอาจารย์ ตุ๋ย) ณ วัดนิมิตโพธิญาณ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ


๗๑๓. สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมใจสู้โควิด-๑๙ ทำกิจกรรมต่อเนื่อง มอบเงิน ๒ หมื่นบาท ให้โรงครัวสนามภูเก็ต และมอบอาหารกล่องให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้มารับการฉีควัคซีน

วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ ที่โรงครัวสนามจังหวัดภูเก็ต นางรุ่งรัติ ศรีสุข นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ตองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานฝ่ายกิจกรรม และกรรมการฝ่ายต่างๆ พร้อมด้วยสมาชิก มอบเงิน จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท อาหารเครื่องดื่มพร้อมไข่ไก่จำนวน ๑๐๐ ถาด ให้แก่โรงครัวสนามจังหวัดภูเก็ต โดยมี นางวันดี วุ่นซิ้ว นายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้โรงครัวสนามอีก ๖ จุด ทั่วเกาะภูเก็ต นอกจากนี้ นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ตและคณะ ได้ช่วยกันแพ็คอาหารกล่องจำนวน ๙๓๐ กล่องเพื่อนำไปแจกจ่ายให้โรงครัวสนามภูเก็ต และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยติดเชื้อโรงพยาบาลสนามจังหวัดภูเก็ต รวมถึงผู้มารับการฉีควัคซีน
นางรุ่งรัติ ศรีสุข กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ระลอกใหม่ ที่รัฐบาลกำลังเร่งควบคุมการแพร่ระบาด พร้อมเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดตามแผน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนเข็มแรกได้เร็วที่สุดนั้น สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้เข้ามาทำกิจกรรมแพ็คอาหารและมอบอาหารกล่อง ที่โรงครัวสนามจังหวัดภูเก็ต อย่างต่อเนื่อง เ ให้กับทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่จิตอาสา และศูนย์ฉีดวัคซีนภูเก็ต
นางรุ่งรัติ ศรีสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า “สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ต ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งเบาภารกิจของทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการส่งเงิน และมอบอาหารกล่องให้ท่านได้รับประทานอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ตลอดจนเป็นกำลังใจ และแทนคำขอบคุณจากใจในความเสียสละของทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-๑๙ ทุกจังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร เพื่อนำพาคนไทยทั้งประเทศผ่านวิกฤตโควิด-๑๙ ระลอกนี้ ไปได้โดยเร็ว”

รายงานข่าว : สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย – ภูเก็ตองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ



๗๑๒. สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินเเดนจังหวัดภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการพร้อมด้วยภาคีเครือข่าย และจิตอาสา ร่วมกัน เก็บกวาดน้ำมัน/ขยะ ออกจากชายหาดในยาง จังหวัดภูเก็ต

วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ น. นางสาวพรทิพย์ โล่แก้ว นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะกรรมการพร้อมด้วยภาคีเครือข่าย และจิตอาสา ร่วมกัน เก็บกวาดน้ำมันและขยะ ที่เกลื่อนกราดออกจากชายหาดในยาง จังหวัดภูเก็ต (อุทยานสิรินาถหาดในยาง) จากนั้น ได้มอบ ถุงมือยาง อุปกรณ์การเก็บกวาดน้ำมันและขยะ ให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ กรมทรัพยากรฯ เพื่อไว้ใช้ในการปฏิบัติงานเก็บคาบน้ำมัน บริเวณชายหาดในยาง ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ต่อไป

นางสาวพรทิพย์ โล่แก้ว กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์ก้อนน้ำมันสีดำถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณหาดในยาง และหาดอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก พบว่าในวันนี้ ที่บริเวณหาดในยางยังคงมีก้อนน้ำมันขนาดต่างๆ ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นจำนวนมาก สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วยกรรมการสมาคมและภาคีเครือข่าย ตลอดจนจิตอาสา จึงร่วมกับทางอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ร่วมกันจัดเก็บก้อนน้ำมันและขยะทะเลออกจากชายหาด แต่พบว่ายังมีก้อนน้ำมันถูกคลื่นซัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจึงได้มอบถุงมือยาง อุปกรณ์การเก็บกวาดน้ำมันและขยะ ให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้จิตอาสาที่จะเข้ามาเก็บกวาดน้ำมันและขยะ สามารถมีอุปกรณืใช้ทำงานได้ทันที

รายงานภาพ/ข่าว : สมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินเเดนจังหวัดภูเก็ต
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๒. สามองค์กรสมาชิก สภาสตรีแห่งชาติฯองค์กร ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ นายชัยโรจน์ แต้รัตนชัย สามีนางสุภาสรณ์ แต้รัตนชัย อดีตนายกสมาคมสธวท- อุดรธานี กรรมการ สมาคมแม่ดีเด่นจังหวัดอุดรธานี และสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี และนางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยคณะกรรมการและสมาชิกทั้งสามองค์กร ร่วมกันเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ นายชัยโรจน์ แต้รัตนชัย สามีนางสุภาสรณ์ แต้รัตนชัย อดีตนายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ กรรมการ สมาคมแม่ดีเด่นจังหวัดอุดรธานี และสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พร้อมรวบรวมปัจจัยได้จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท จัดซื้อพัดลมพวงหรีด ๓ เครื่อง ๗,๕๐๐ บาท ใส่ซองถวายพระ ๒,๔๐๐ บาท คงเหลือมอบให้คุณสุภาสรณ์ แต้รัตนชัย จำนวนเงิน ๔๐,๑๐๐ บาท เพื่อสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี

รายงานภาพข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๑. สภาสตรีแห่งชาติฯ ประกอบด้วยผู้แทนกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร ฝ่ายต่างประเทศ และองค์กรสมาชิกร่วมกับ ผู้บริหารและคณะเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกันจัดทำอาหารกล่อง ตามโครงการ “ปันสุข สู้ภัยโควิด-๑๙” ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร

วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.) พร้อมด้วย คณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯประกอบด้วย ดร.อรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมมการอำนวยการ นางเยาวมาลย์ วัชระเรืองศรี กรรมการอำนวยการ นางจงชนก พัชรประภากร กรรมการบริหาร นางพวงทอง อานันทนะสุวงศ์ รองประธานฝ่ายต่างประเทศ ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.).ดร.มนวิภา ประชัญคดี ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.)รองประธานฝ่ายต่างประเทศ ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.).และนายกสมาคมส่งเสริมบุคลิกสตรี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ดร.สร้อยเพชร เรศานนท์ นายกสมาคมซอนต้าประเทศไทย รองประธานฝ่ายต่างประเทศ ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.). และภาคีเครือข่าย ร่วมกันเดินทางไป จัดทำอาหารกล่องปรุงใหม่ จำนวน ๑,๒๐๐ กล่อง ตาม โครงการ “โรงครัวปันสุข สู้ภัยโควิด-๑๙ ” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน และ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมอบอาหารกล่องปรุงสุกใหม่ วันละ ๑,๒๐๐ กล่อง แก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ จนถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสนี้ ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.) ได้ร่วมสนับสนุนอาหารกล่องจำนวน ๑,๒๐๐ กล่อง เป็นจำนวนเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท และ นางพวงทอง อานันทนะสุวงศ์ รองประธานฝ่ายต่างประเทศ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.) จำนวน ๒,๐๐๐ บาท นางมนวิภา ประชัญคดี รองประธานฝ่ายต่างประเทศ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.) และนายกสมาคมส่งเสริมบุคลิกสตรี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ จำนวน ๒,๐๐๐ บาท นางจงชนก พัชรประภากร กรรมการบริหาร ( สมัยที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔.) จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ดร.สร้อยเพชร เรศานนท์ สมาคมซอนต้าประเทศไทย องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท

ภาพ/ข่าว :ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ




๗๑๐. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยขอให้ทุกคน ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิด-๑๙ ได้โดยเร็ว

วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และ คุณทะนะเทพ วิบูล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคม ร่วมกันมอบเงิน จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์บรรเทาวิกฤตโควิด-๑๙ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ในสถานการณ์โควิด ๑๙ กำลังระบาด ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
นางกอบแก้ว คงน้อย กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงการระบาดระลอกใหม่ในครั้งนี้ สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประกอบด้วยที่ท่านปรึกษา และคณะกรรมการ ตลอดจนสมาชิกของสมาคม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดทำอาหารกล่อง เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมแพทย์ และพยาบาลตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ มาอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้ คุณทะนะเทพ วิบูล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ได้ร่วมมอบเงินจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ในอัตราที่สูง ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลหลายแห่ง ต้องทำงานอย่างหนัก ขณะเดียวกันอุปกรณ์ทางแพทย์ที่จำเป็นมีไม่เพียงพอ สถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว ความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของจำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี มีความภาคภูมิใจ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการบรรเทาผลกระทบดังกล่าวและเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางแพทย์ทุกท่าน ด้วยการร่วมบริจาคเงินสมทบ และจัดอาหารกล่องให้บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ป่วย
นางกอบแก้ว คงน้อย กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยที่ท่านปรึกษา และคณะกรรมการ ตลอดจนสมาชิกของสมาคม ขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ทุ่มเท เสียสละ ทำงานอย่างหนัก และขอให้ทุกคนปลอดภัยจากไวรัสโควิด-๑๙ มีการดูแลสุขภาพ และปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตโควิด-๑๙ ได้โดยเร็ว

รายงานภาพ/ข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ