๓๐๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกอาสาสมัครดีเด่นและองค์การที่มีกิจการทางสังคมดีเด่น ในนามคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒

วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการและกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกอาสาสมัครดีเด่นและองค์การที่มีกิจการทางสังคมดีเด่น ในนามคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ โดยมีพลตรีหญิง คุณหญิง อัสนีย์ เสาวภาพ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์ฯ เป็นประธานการประชุม และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยงข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๐๒. นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ (องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ) นำคณะกรรมการบริหารสมาคม และสมาชิก ร่วมกับโรงพยาบาลเซ็นทรัลเชียงใหม่ เมโมเรียล ทำกิจกรรม โครงการในพระราชดำริ และช่วยเหลือผู้ยากไร้ ที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ (องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ) นำคณะกรรมการบริหารสมาคม และสมาชิก ร่วมกับโรงพยาบาลเซ็นทรัลเชียงใหม่ เมโมเรียล ทำกิจกรรม โครงการในพระราชดำริ และช่วยเหลือผู้ยากไร้ ณ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมี นายพิสุทธิศักดิ์ ธรรมะวุฒิสุข ปลัดอาวุโส เป็นประธานในพิธีแทนนายอำเภออมก๋อย พร้อมคณะผู้บริหาร และหัวหน้าส่วนราชการ นางเนาวรัตน์ พรหมน้อยพัฒนาการอำเภออมก๋อย นายจำลอง ปันดอน นายกอบต.แม่ตื่น นายชลนที อนุรักษ์กสิกร นายก อบต.ม่อนจอง นายสุรชัย คุณแก้ว ผอ.โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม พระครูสถิตบุญญาวาส เจ้าคณะตำบลแม่ตื่น-ม่อนจอง พร้อมด้วยครู นักเรียน ประชาชนผู้ยากไร้ จำนวนกว่า ๕๐๐ คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่าสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ เป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับโรงพยาบาลเซ็นทรัลเชียงใหม่ เมโมเรียล จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการตรวจรักษาประชาชน จำนวน มากกว่า ๕๐๐ คน ทั้งนี้มีการแจกถุงยังชีพราษฎรครอบครัวยากจน ๒๐๐ ครอบครัว และแจกแว่นสายตาผู้สูงอายุ จำนวน ๒๐๐ คน นอกจากนี้ได้ถวายผ้าห่มสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๓๐ รูป โดยมีพระครูสถิตบุญญาวาส เจ้าคณะตำบลแม่ตื่น-ม่อนจอง เป็นตัวแทนพระภิกษุสามเณร ในตำบลแม่ตื่น รับถวาย
นางสาววรัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้ จกเสื้อกันหนาวเด็ก-เยาวชนจำนวน ๕๘๕ คน โดยมีตัวแทนครูและนักเรียนจาก ๙ โรงเรียน เป็นพื้นที่รับมอบ ทั้มอบเสื้อกันหนาวพร้อมกางเกงวอร์มให้โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม ๒๔๐ ชุด พร้อมด้วยผ้าห่ม, ถุงเท้านักเรียน รวมทั้งทีหน่วยวิชาชีพบริการตัดผมเด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป มอบอุปกรณ์กีฬาให้แก่ตัวแทนครูและนักเรียนจาก ๖ โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา เลี้ยงอาหารกลางวัน แก่ราษฎร์ที่ยากไร้และมอบทุน โรงเรียนแม่ตื่นวิทยาคม อีกด้วย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๐๑. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกิจกรรม “วันพ่อแห่งชาติ” ๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ ท้องสนามหลวง

๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๖ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบหมายให้ นางประยูร เหล่าสายเชื้อ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ ร่วมพิธีวางพานพุ่มและเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๒ และมอบหมายให้นางวิภาศิริ มะกรสาร ประธานฝ่ายศาสนา สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ ร่วม พิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งแด่พระสงฆ์และสามเณรจำนวน ๔๘๙ รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มและถวายบังคม และทำบุญตักบาตร เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๒ และมีประธานองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรี ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ตามลำดับ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ความว่า เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ที่ได้มาชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง ณ ที่แห่งนี้ ต่างน้อมจิตตั้งมั่นเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาสุดมิได้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๐๐. นางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ ปลื้ม พลังแห่งความสามัคคีทีมร้านเศรษฐกิจ สภาสตรีแห่งชาติฯประจำปี ๒๕๖๒

นางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ ในฐานะ ประธานร้านเศรษฐกิจ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ประจำปี ๒๕๖๒ กล่าวว่าขอขอบคุณท่านประธานร่วมร้านเศรษฐกิจ สภาสตรีแห่งชาติประจำปี ๒๕๖๒ ประกอบด้วย นางจรรยาวรรณ สุวัณณาคาร นางเบญจมาศ ปริญญาพล นางทิพวรรณ กิตติสถาพร และที่ปรึกษาบุคคลสำคัญ ป้าครูจรรยา เฮงตระกูล นอกจากนี้ ขอขอบคุณคณะกรรมการร้านเศรษฐกิจ ที่สลับมาเข้าเวร ปฎิบัติหน้าที่ ประจำร้านเศรษฐกิจ ด้วยพลังเข้มแข็ง ประกอบด้วย นางพวงทอง อานันทนะสุวงศ์ นางมัจฉรี โอสถานนท์ นางอาภรณ์ ตุลารักษ์ นางมลีวัลย์ จริยากูล นางธาริกา มงคลสุข นางรำไพวรรณ์ หอมไกรลาศ นางยุพดี สัตตะรุจาวงษ์ นางณฐพร ชลายนนาวิน นางกิ่งแก้ว วงษ์สิงห์ นางพรทิพย์ ศรีเพียร นางประภา กิจจะนะ นางนภาสิริ ผาสุกวนิช ดร.สมใจ วิชัยดิษฐ ดร.เจริญศรี ท่วมสุข นางพัชนี เธียรธวัช นางศิริเพ็ญ วิจารณกุล นางเยาวมาลย์ วัชระเรืองศรี นางศรีนวล เสริมสุขสกุลชัย นางปภัสรินทร์ นันทสุรเศรษฐ์
นางสาวเบญจมาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอขอบคุณ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ ท่านรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ที่ให้ความไว้วางใจทีมงานร้านเศรษฐกิจ และขอบคุณ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการร้านกาชาดทุกฝ่าย องค์กรสมาชิกจากทั่วประเทศ และเครือข่าย ที่ให้การสนับสนุนมอบสินค้ามาจำหน่ายในร้านเศรษฐกิจ และขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาสนับสนุนสินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ บรรยากาศในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ อบอวลด้วยความรักความสามัคคี การแบ่งปัน ของคณะกรรมการทุกคน ช่วยกันจำหน่ายบัตรสอยกัลปพฤกษ์ ตุ๊กตาพวงกุญแจน่ารักซึ่งเป็นจุดเด่นของร้าน และยังเป็นจุดที่ประชาชนต้องมาเช็คอิน ถ่ายรูปที่ซุ้มตุ๊กตาสภาสตรีแห่งชาติ จึงเป็นความปลื้มปิติ ที่ได้มีส่วนร่วมมาทำงานทุกวัน ๑๐ วัน ๑๐ คืน อย่างมีความสุข ที่ร้านกาชาด สภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒ ภายใต้แนวคิด “เย็นศิระเพราะพระบริบาล เกิดสายธารการให้ที่งดงาม” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ -๒๒.๐๐ น. ณ สวนลุมพินีกรุงเทพฯ
นางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ กล่าวว่าในโอกาสนี้ ขอขอบคุณ
Krispy​ Kreme​ จากคุณอุษณีย์​ มหากิจศิริ
และขอบคุณ นมข้นหวานตรามะลิชนิดหลอด​ จากบริษัทอุตสาหกรรมนมไทย​ จำกัด​โดยคุณสุดถนอม​ กรรณสูต สนับสนุนสินค้า มาให้ร้านเศรษฐกิจ สภาสตรีแห่งชาติฯ จำหน่าย ในราคาพิเศษ เพื่อร่วมทำบุญกับร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒



ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๙๙. นางนันทิยา วงศ์วานิชย์ นายกสมาคมสตรีจังหวัดแม่ฮ่องสอน (องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ)ร่วมมอบผ้าห่ม ยาสามัญประจำบ้าน และเลี้ยงอาหารกลางวัน แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอปางมะผ้าและอ.แม่ลาน้อย ตามโครงการปันน้ำใจเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาส

วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นางนันทิยา วงศ์วานิชย์ นายกสมาคมสตรีจังหวัดแม่ฮ่องสอน(องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ) และ พลโทสุรพล ตาปนานนท์ ประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด พร้อมด้วย พร้อมด้วย นายเพียร ยงหนู ประธานที่ปรึกษาโครงการ ฯ นำคณะสมาชิก กลุ่มพิทักษ์ธรรม(พนักงานการไฟฟ้านครหลวง) และคณะจาก พนักงานการประปานครหลวง ร่วมกันมอบผ้าห่ม ยาสามัญประจำบ้าน และเลี้ยงอาหารกลางวัน แก่ราษฎรที่ยากไร้และประสบภัยหนาว ตามโครงการปันน้ำใจเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาส มอบผ้าห่มจำนวน ๑,๒๐๐ ผืน ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน ๑,๐๐๐ชุด โดยมีชาวบ้านมารอรับผ้าห่มในครั้งนี้จำนวนกว่า ๕๐๐ คน ณ บ้านห้วยห้อม หมู่ที่ 1 ต.ห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากนั้น ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ นางนันทิยา วงศ์วานิชย์ นายกสมาคมสตรีจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมคณะ ฯ และพลโทสุรพล ตาปนานนท์ ประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด พร้อมด้วย เดินทางสู่บ้านบ่อไคร้ ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน มอบผ้าห่มจำนวน ๑,๐๐๐ ผืน พร้อมเลี้ยงอาหารกลางวัน แก่ราษฎรที่ยากไร้และประสบภัยหนาว แก่ชาวบ้านที่มารอรับผ้าห่มในครั้งนี้ จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ คน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ตามโครงการปันน้ำใจเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาส
ด้านนายวุฒิไกร ชูธรรมเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยห้อม ได้เป็นตัวแทนชาวบ้านกล่าวขอบคุณคณะ ฯสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กับชาวบ้าน ราษฏรที่ยากไร้ในตำบลห้วยห้อม ในครั้งนี้ โดยทาง อบต.จะได้นำผ้าห่มและยาสามัญประจำบ้านที่ได้รับในครั้งนี้ นำไปแจกจ่ายราษฏรที่ประสบภัยหนาวและยากไร้ต่อไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ

๒๙๘. สมาคมศิษย์เซนต์โยเซฟฯ สุดปลื้ม นำคณะกรรมการ สร้างสีสัน ปฎิบัติหน้าที่ในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯประจำปี ๒๕๖๒ ด้วยพลังเข้มแข็ง

ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน นายกสมาคมศิษย์เซนต์โยเซฟ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะกรรมการสมาคมฯร่วมกิจกรรมปฎิบัติหน้าที่ในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ตั้งแต่ เวลา ๑๔.๐๐ น.-๑๘.๐๐ น. โดยมีรายนามคณะกรรมการสมาคมฯ ดังนี้
๑. คุณจิราภรณ์ เสาวลักษณ์
๒. คุณยุพดี สัตตะรุจาวงษ์
๓. คุณเมตตา ตันติสัจจธรรม
๔. คุณสิริกัญญา นภาพฤกษชาติ
๕. คุณภาภีม กฤษณามระ
๖. คุณอัญมณี รุ่งศรีทอง
๗. คุณอรนารถ เชิดบุญชาติ
๘. คุณวินรัตน์ สันธนะเกียรติ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๙๗. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ปลุกชาวร้อยเอ็ด สนับสนุนสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน ตามโครงการ “ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และนางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU) โครงการ “ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” กับ นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการ และนายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางนงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บ้านมหาดไทย/ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด นายมังกร ยนต์ตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมศักดิ์ เศษโฐประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ด นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด นางจิราพร เกษมทรัพย์ ประธานชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด นายธีระชัย แสนภูวา ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด นายอำนวย ระดาบุตร ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด นางจวงจิรา สุริยวนากูล นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ดร.สุมาลัย ศิริพานิช ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด นางสมปอง ว่องสัธนพงษ์ ประธานกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด นางรัชนี พลซื่อ หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด นายเจนเจตน์ เจนนาวิน นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด นายธนิต พันธ์หินกอง นายอำเภอสุวรรณภูมิ นายอภัย วุฒิโสภากร นายอำเภอเสลภูมินายชรินทร์ ภู่ชัย นายอำเภอธวัชบุรี นายวัลลพ จินดาเงิน นายอำเภอโพนทองนายสุเทพ พิมพ์พิรัตน์ นายอำเภอพนมไพร นายณรงค์ศักดิ์ สบาย นายอำเภอเกษตรวิสัยนายเริงวิทย์ ถนอมแสง นายอำเภออาจสามารถ นายคงคา ชื่นจิต นายอำเภอปทุมรัตต์นายประพันธ์พงษ์ โสภารัตน์ ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอจตุรพักตรพิมาน นายสมหวัง วงศ์คำ ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอโพธิ์ชัย นายวิธรัช รามัญ นายอำเภอหนองพอก นางละอองเพชร พุฒิพัฒน์พาณิชย์ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอศรีสมเด็จ ว่าที่ร้อยตรีอานพ ศรีบุญลือ นายอำเภอจังหาร นายเอกโอสถ รักเอียด นายอำเภอทุ่งเขาหลวง นายวิเชียร สุดาทิพย์ นายอำเภอเชียงขวัญ นายอภิชาติ อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเมืองสรวง ว่าที่ร้อยตรีอดุลเดช หมี่นวิชาชัย ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอโพนทราย นายวีระพงษ์ โคตรพงษ์ นายอำเภอเมยวดี ร้อยตำรวจเอกหญิง อรุณี อินทรมณี นายอำเภอหนองฮี นางสาวศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นางนวลจันทร์ ศรีมงคล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมลงนาม การรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มองค์กรสตรี กลุ่มอาชีพทอผ้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ของจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมจำนวน ๔๐๐ คน ทั้งนี้ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมอันลือชื่อของจังหวัดร้อยเอ็ด มากกว่า ๑๓ ราย เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทอผ้า และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยจัดกิจกรรม ณ ห้องประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ดร.วันดี กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันปีหลวง ต่อปวงสตรีและปวงชนชาวไทย ที่ได้ทรงมีพระวิริยะ พระปรีชาชาญ พลิกฟื้นผ้าทอไทยทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ให้ผ้าไทยเป็นที่นิยมในสังคมจวบจนปัจจุบัน ได้สร้างงาน สร้างอาชีพทอผ้าแก่สตรีทั่วทุกภูมิภาค หากว่าคนไทยครึ่งประเทศ จำนวน 35 ล้านคน ได้ร่วมกันใส่ผ้าไทยทุกวัน เฉลี่ยซื้อผ้าไทยเพียง 10 เมตรต่อคน จะก่อให้เกิดความต้องการผ้าไทยถึง 350 ล้านเมตร ในราคาเมตรละ 300 บาท จะเกิดการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นการสร้างงาน สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตจากระดับครอบครัวถึงชุมชนอย่างยั่งยืน
ดร.วันดี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการอนุรักษ์ รณรงค์การสวมใส่ผ้าไทยในทุกๆวันกับกรมการพัฒนาชุมชนและขยายผลไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นการใส่ผ้าไทยในทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชน จะนำมาซึ่งความสามารถในการพึ่งตนเองและเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้คนในจังหวัดร้อยเอ็ด มีคนที่สามารถทอผ้าได้เป็นจำนวนนับหมื่นคน ดังนั้นถ้าทุกคนได้ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย แต่ละคนจะได้ซื้อผ้าไทย ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าได้มีรายได้จากการทอผ้า ทำให้ครอบครัวอบอุ่น สร้างชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืน
นายดำรงค์ กล่าวแสดงเจตนารมณ์โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ว่าจังหวัดร้อยเอ็ดมีประชากรกว่า ๑.๔ ล้านคน กว่า ๘๘% มีอาชีพเกษตรกร และพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนการสวมใส่ผ้าไทยในทุกพื้นที่ และจะถือเป็นวาระสำคัญของจังหวัดอีกด้วย
นางนงรัตน์ กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้แก่ลายสาเกต ที่เป็นชื่อเดิมของเมืองร้อยเอ็ด และจะสนับสนุนการใส่ผ้าไทยและเผยแพร่ภูมิปัญญาการทอผ้าไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวร้อยเอ็ด
ในการนี้ มีนางนวลจันทร์ ศรีมงคล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ขึ้นชื่อของประเทศไทย ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดเจดีย์ชัยมงคล อำเภอหนองพอก เจดีย์หินทราย มีบึงพลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ที่ใหญ่สวยและสมบูรณ์ที่สุดของ ประเทศไทย อยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ผาหมอกมิวาย จุดชมทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามน้าตกถ้ำโสดา มีผลิตภัณฑ์ และสินค้า OTOP โดดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหมสาเกต ถั่วป่านทอง และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีสมมาน้ำ คืนเพ็งเส็งประทีป และประเพณีบุญผะเหวด โดยผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด คือ ผ้าสาเกต ผ้าไหมลายสาเกต หมายถึง ผ้าไหมที่ประกอบด้วยลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้นำเอาลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่นิยมทอในกลุ่มชนที่อยู่ในเมืองร้อยเอ็ด มาทอต่อกันในผ้าผืนเดียวกันเปรียบเสมือนเป็นการหลอมรวมความสามัคคีของชาวร้อยเอ็ดให้เป็นหนึ่งเดียว โดยแต่ละลายจะทอคั่นด้วยผ้าสีพื้นสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่ประกอบในผ้าสาเกต ได้แก่ ลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายหมากจับ ลายค้ำเพา ลวดลายทั้ง 5 ลายนี้ ได้นำมาประยุกต์ไว้ในผ้าผืนเดียวกันและได้มีการประกาศชื่อลายนี้คือ ลายสาเกต เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด มายาวนาน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๙๖.ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้า ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU)กับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

*** ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้า ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU)กับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”


***วันนี้ (2 ธันวาคม 2562)
เวลา 09.10 น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และนางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ
ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU)โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” กับ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น

๒๙๕. ดร.มยุรี กลับวงษ์ นายกสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ในร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯประจำปี ๒๕๖๒ ด้วยพลังเข้มแข็ง

๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ดร.มยุรี กลับวงษ์ นายกสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้นำคณะกรรมการสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย เข้าเวรปฏิบัตหน้าที่ประจำร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐- ๒๒.๐๐ น. ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ
ดร.มยุรี กล่าวเพิ่มเติมว่าสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสมาชิกของสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความภาคภูมิใจ ในการมาปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าภาพประจำร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ด้วยงานกาชาด เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำหรับในปี ๒๕๖๒ งานกาชาดจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เย็นศิระเพราะบริบาล เกิดสายธารการให้ที่งดงาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ราชูปถัมภกสภากาชาดไทย เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจพระบรมราชูปถัมภก องค์สภานายิกาและองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เพื่อเผยแพร่ภารกิจและกิจกรรมของสภากาชาดไทยในการช่วยช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานผู้มีอุปการคุณและประชาชนได้มีส่วนร่วมกับสภากาชาดไทย และหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
ทั้งนี้คณะกรรมการสมาคมฯรอคอยนัดหมายมาพบกันเพื่อช่วยงานบุญให้สภากาชาดไทย ผ่านร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ เป็นประจำทุกปี ตลอดมา กรรมการทุกท่านจึงมีความสุข ในการมาทำบุญเป็นผู้ให้ และบรรยากาศของร้านสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความสุขสนุกสนาน สร้างรอยยิ้ม ช่วยกันขายสินค้าต่างๆ หรือเชิญให้ลูกค้าเข้ามาซื้อบัตรสอยกัลปพฤกษ์ ด้วยการต้อนรับที่อบอุ่นมีไมตรีจิต อีกทั้งยังให้กรรมการของสมาคม มีส่วนร่วมเชิญชวนให้ลูกค้าเข้ามาซื้อบัตรสอยกัลปพฤกษ์ สร้างความสนุกสนานกับลูกค้าที่ได้รับรางวัลพิเศษอีกด้วย

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๙๔. สภาสตรีแห่งชาติ ร่วมประชุม High level event ที่ สหประชาชาติUN ESCAP เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานความก้าวหน้าของสตรีไทย ในการประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing+ ๒๕ Review

๒๗-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ มอบหมายให้ ดร.ลาลีวรรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติ ฯ นำคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing + ๒๕Review ประกอบด้วย นางศิริรัตน์ ธำรงธีระกุล นางจุฬารัตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสาวอรยาพร กาญจนจารี โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และ นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ซึ่งการประชุมดังกล่าว กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ โดยมี ประเทศ ผู้แทนจาก Asia-Pacific จำนวน ๔๘ ประเทศ เข้าร่วมประชุมฯ และมีระดับรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม อาทิ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐฟิจิ สาธารณรัฐคิริบาส สาธารณรัฐคีร์กีซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล สาธารณรัฐปาเลา สาธารณรัฐเกาหลี รัฐเอกราชซามัว ราชอาณาจักรไทยตูวาลู สาธารณรัฐวานูอาตู และหมู่เกาะคุก ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย ในเข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing + ๒๕ Review ว่า ประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (Beijing Declaration and Platform for Action) ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ ๔ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๘ ซึ่งจัดโดยองค์การสหประชาชาติ โดยมีสาระสำคัญปฏิญญาปักกิ่งฯ คือ การประกาศ เจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ ด้วยการระบุประเด็นที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษในการพัฒนาสตรี ๑๒ ประเด็น ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนประเด็นตามปฏิญญาปักกิ่งฯ ด้วยการบูรณาการประเด็นต่างๆ เข้าไปในแผนพัฒนาสตรี ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินการตามปฏิญญาปักกิ่งฯ และแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้ดำเนินการทบทวนผลการดำเนินการตามปฏิญญาปักกิ่งฯ โดยอาศัยข้อมูลการดำเนินการในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา และส่งให้ฝ่ายเลขานุการ คือคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – UNESCAP) โดยมีเนื้อหาที่ระบุถึงความก้าวหน้าทางกฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลไกเชิงสถาบันด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ งบประมาณ การจัดเก็บข้อมูล และการติดตามและประเมินผล ซึ่งเป็นรายงานที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในทุกระดับมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ จากในเวทีการประชุมต่างๆ
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ รมว.พม. ร่วมรับรอง “ร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี เพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมภายในปี ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การพัฒนาที่เท่าเทียม การขจัดความยากจน การปราศจากความรุนแรง สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานของไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) มีการบูรณาการที่สำคัญผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ซึ่งมีความชัดเจน เชื่อมโยง และสอดคล้องกับกรอบนโยบาย กฎหมาย และแผนพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมบทบาทและพลังสตรี ผ่านการฝึกอบรมต่างๆ การส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายสตรีในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคธุรกิจและภาคสังคมในระดับประเทศและอาเซียน รวมทั้งการพยายามขจัดความยากจน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี และการสนับสนุนและรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็กผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง
ดร.ลาลีวรรรณ กาญจนจารี ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันของสภาสตรีแห่งชาติฯที่จะบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรีและสิทธิมนุษยชนสตรี และเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานของภาคีสมาชิก เพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมภายในปี ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ทั้งนี้การประชุม High level event ที่ สหประชาชาติUN ESCAP จัดขึ้น ในครั้งนี้ มี ประเทศใน ทวีป Asia-Pacific มาประชุมเพื่อ เตรียมการ ประชุมใหญ่ มี่ NewYork ในเดือนมีนาคม ๒๐๒๐ Beijing +๒๕ review

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ