๓๑๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับจังหวัดยะลา พัฒนาการจังหวัด จับมือ หน่วยงานภาคี และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน
วันนี้ (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ) นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมศรียะลา อาคาร ๒ ชั้น ๓ ศาลากลางจังหวัดยะลา
นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดินเพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รณรงค์ให้พี่น้องประชาชนคนไทย ร่วมใจกันแต่งกายด้วยผ้าไทยเป็นประจำทุกวัน เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงอยู่ และให้เห็นคุณค่าการอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลาได้รวบรวมข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการผ้าไทย รวมทั้งร้านตัดเย็บ เพื่อนำมาแสดงเผยแพร่ให้อย่างกว้างขวาง ด้วยการจัดกิจกรรมสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เช่น จัดนิทรรศการผ้าถิ่นไทย ออกร้านแสดงและจำหน่าย การเดินแบบผ้าชุดผ้าไทย พร้อมทั้งรณรงค์สวมใส่ชุดผ้าไทย ทุกวันตามนโยบายของจังหวัด ประกอบกับกระทรวงมหาดไทย ได้มุ่งเน้นให้ขับเคลื่อนและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดให้กรมการพัฒนาชุมชน ขับเคลื่อนงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและส่วนราชการในพื้นที่ รวมถึงการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ขึ้นในครั้งนี้
ด้านนายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดยะลา กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ที่สมัครใจร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดยะลา ในการปฏิบัติงานทุกวัน ยกเว้นในวันที่มีการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ หรือแบบฟอร์มของหน่วยงานนั้น ๆโดยมีหน่วยงานที่ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ จำนวนทั้งสิ้น ๒๘ หน่วยงาน และได้รับเกียรติจากนายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ร่วมเป็นสักขีพยาน
สำหรับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดยะลา ที่ร่วมโครงการในการผลิตผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๙ กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มศรียะลาบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มเก๋บาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มอาดือนันบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มสีมายา อำเภอเมืองยะลา กลุ่มบือแนบาติก อำเภอเมืองยะลา กลุ่มอิบรอเฮงบาติก อำเภอกรงปินัง กลุ่มแอนด์อินแฮนด์รามัน อำเภอรามัน กลุ่มบาติกมัดย้อมสีธรรมชาติ อำเภอรามัน และกลุ่มเสื้อยืดโปโลมลายู A&M by Imtihan (เอ แอน เอ็ม บาย อิมติฮาน)
สำหรับการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ในครั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการแสดงและจำหน่ายผ้าไทยในจังหวัดยะลา รวมทั้งได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไทยผ่านแค๊ตตาล็อก เพื่อเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้กับส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร และประชาชน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖
๓๑๒. สภาสตรีแห่งชาติ จับมือองค์กรสมาชิกสตรีนนทบุรี จับมือส่วนราชการจังหวัด ร่วมใจสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี มอบหมายให้ นายอดิเทพ กมลเวชช์ ปลัดจังหวัดนนทบุรี เป็นประธาน ลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่งมมือ (MOU) ร่วมโครงการ”สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี โดยนายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี กล่าวรายงาน และมีองค์กรเครือข่ายพัฒนาชุมชน คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดนนทบุรี กองทุนแม่ของแผ่นดิน ผู้นำอาสาพัฒนา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ร่วมลงนาม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้แทน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมเป็นเกียรติในการลงนามดังกล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนนทบุรี
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยคงอยู่คู่แผ่นดิน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้รณรงค์ให้สวมใส่ผ้าไทยในทุกวันอังคาร เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ผ่านการสวมใส่ผ้าถิ่นไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การลงนามวันนี้ เป็นการขอความร่วมมือหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน สมาคมองค์กร สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมมือร่วมใจกันสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน อีกด้วย
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖
๓๑๑. สภาสตรีแห่งชาติ จับมือองค์กรสมาชิก และกรมพัฒนาชุมชน เดินหน้า ชวนชาวโคราช สวมใส่ผ้าไทยตามโครงการ “อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ”
วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มอบหมายให้นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการ “อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ” ระหว่าง จังหวัดนครราชสีมา กับ ปลัดจังหวัด นายก อบจ. ท้องถิ่นจังหวัดองค์กร สตรีสภาสตรีแห่งชาติ ประกอบด้วย องค์กรสมาชิกของสภาสตรีทุกสมาคมที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประธานเครือข่าย OTOP และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีนครราชสีมา โดยมี น.ส.ศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายพิศ นันทพูนพิพัฒน์ รกท.พจ.นครราชสีมา และหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอทุกคน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าวด้วย ณ โรมแรมสบายโฮเทล อ.เมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖
๓๑๐. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมใจสวมใส่ชุดผ้าไทยทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยมี นางนิศากร สิงหเสนี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางกฤษณา แผ่แสงจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมลงนามร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดีจำนวน ๔๗ หน่วยงาน โดยมีวัตถุเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เชิดชูอัตลักษณ์ผ้าท้องถิ่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสนิยมแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย ทั้งจังหวัด ณ ลานพิธีเอนกประสงค์ หน้าศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมกันสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ได้พระราชทานโครงการด้านศิลปาชีพให้กับชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือโครงการศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริลำดับต้นๆ ของประเทศ ช่วยให้กลุ่มสตรีในพื้นที่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน มีรายได้เสริมจากอาชีพการทำประมงด้วยการทอผ้าฝ้ายด้วยกี่กระตุกแบบโบราณจนพัฒนากลายเป็นอาชีพหลัก ซึ่งปัจจุบันผ้าฝ้ายทอมือเขาเต่ามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ หากทุกคนพร้อมใจกันสวมใส่ก็จะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัดให้คนทั่วไปได้ทราบ นอกจากนี้ ผ้าไทยยังถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ปัจจุบันมีการนำผ้าไทยมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่สวยงามทันยุคทันสมัยมากขึ้น ทำให้ชุดผ้าไทยยังคงอยู่ในกระแสนิยมสามารถสวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัย และถือเป็นการสนับสนุนสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๐๙. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดเลย และพัฒนาการจังหวัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"
วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน กลุ่มองค์กร และเครือข่ายพัฒนาชุมชน ณ ห้องประชุมชัยพฤกษ์ โรงแรมเลยพาเลซ จังหวัดเลย
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ปรากฎเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย รวมถึงยังเป็นการเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแส ความนิยมการแต่งกายผ้าไทยให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ และ ยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่ม OTOP กลุ่มสตรีในท้องที่ท้องถิ่น
นางชะตา ธุลีจันทร์ พัฒนาการจังหวัดเลย กล่าวว่า กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการจัดแสดงและจำหน่ายผ้าไทย ผ้าพื้นเมืองโดยกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการจากทุกอำเภอในจังหวัดเลย การประชาสัมพันธ์กระเช้าของขวัญจากผลิตภัณฑ์ OTOP การแสดงแบบผ้าไทยในชื่อชุด กาล่า ฟินนาเล่ จากแบรนด์ "หยานัด" ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำผ้าไทยในพื้นที่จังหวัดเลย มาออกแบบและตัดเย็บแบบร่วมสมัย จากนั้นเป็นการเปิดเวทีเพื่อลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ได้อยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือกัน และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย สามารถร่วมกันพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๐๘. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เชิญ สภาสตรีแห่งชาติฯร่วมประชุมเตรียมพร้อมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. นางรชตพรโตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุม เรื่องคณะกรรมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นั้น
ในการนี้ นายอนันต์ บวรเนาวรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แทนปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก ๔๐ องค์กร ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จากสภาสตรีแห่งชาติฯ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน โดยมี ผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถสรุปผลการประชุมพอสังเขป ดังนี้
๑. กำหนดจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีหนังสือขอประทานกราบทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จมาประทานโล่รางวัลแก่สตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม ชั้น ๔ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ (เอกสารหมายเลข ๒)
๒. มติที่ประชุมเห็นชอบ กำหนดแนวคิดหลัก (Theme) เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ “แรงงานสตรี ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความเสมอภาคสู่สังคมไทย” ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะส่งรายงานการประชุมให้กับสภาสตรีแห่งชาติฯต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖
๓๐๗. สภาสตรีแห่งชาติฯมอบรางวัลทองคำแท่งผู้ถูกรางวัลสลากบำรุงสภากาชาดไทย สภาสตรีแห่งชาติฯ
วันนี้ (11 ธันวาคม 2562 ) เวลา 10.00 น. ดร.วันดี กุญชรยาคง
จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯมอบหมายให้ อาจารย์ศรีวรรณ สายฟ้า รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เป็นประธานมอบรางวัลผู้ถูกสลากบำรุงสภากาชาดไทย สภาสตรีแห่งชาติฯ โดยมีนางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการ และกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ และ นางจงชนก พัชรประภากร สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ บ้าน
พระกรุณานิวาสน์ ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
๓๐๖. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมงานแถลงข่าว “สุดยอดเทศกาลช้อปแห่ง ปี OTOP City 2019” ร่วมฉลองปีใหม่ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย
เมื่อ ๙ ธันวาคม ๒๕๗๒ เวลา ๑๔.๐๐ น .ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติแห่งชาติ ในฐานะ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ได้รับเกียรติร่วมงานแถลงข่าว งาน” OTOP City 2019 “ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ รวม ๙ วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑-๓ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
การแถงข่าว OTOP City 2019 ภายใต้แนวคิด “เทศกาลของขวัญปีใหม่ ของฝากถูกใจ ผลิตภัณฑ์ทั่วไทยรวม สินค้า ๒ หมื่นกว่ารายการ ไว้ใน OTOP City 2019 ได้รับเกียรติจากนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่ากกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการแถลงข่าวฯ โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายประวิช สุขุม เลขานุการร่วมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และคณะผู้บริหารกรมพัฒนาชุมชน รวมทั้งภาคีข่าย ภาครัฐและภาคเอกชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดงาน OTOP City 2019 เป็นหนึ่งในงานส่งเสริมการตลาดให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่รัฐบาลให้ความสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาค เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ปี โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทุกภาคส่วน โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งผลการจัดงาน OTOP City ที่ผ่านมา (๑๓ ครั้ง) สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP ได้มากกว่า ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ในปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชนคาดว่าจะมียอดจำหน่ายในงานครั้งที่ ๑๔ ไม่น้อยกว่า ๑,๔๐๐ ล้านบาท มีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 5 แสนคน และมีผู้ผลิตผู้ประกอบการเข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ ราย โดยกำหนดให้มีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๐๐ น. ซึ่งกระทรวงมหาดไทย คาดหวังว่าจะเป็นโอกาสอันดี ที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย ทั้งนี้ จากข้อมูลเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าชุมชน มากกว่า ๒๓๗,๐๐๐ ล้านบาท ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน ฉะนั้น การจัดงานในครั้งนี้ จึงมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในครั้งนี้ เป็นการจัดงานระดับประเทศ ที่มีความพิเศษและมีกิจกรรมที่หลากหลาย มีสินค้ามากกว่า ๒๐,๐๐๐ รายการ โดยภายในงาน ประกอบด้วยโซนหลัก ได้แก่
๑.นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ภายใต้แนวคิด “จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ”
๒. การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ๕ ประเภท หรือ OTOP Classic จากทุกจังหวัด มากกว่า ๒,๕๐๐ ราย มีสินค้าให้เลือกมากกว่า ๒๐,๐๐๐ รายการ แบ่งเป็น ๑ ) OTOP ๓-๕ ดาว ๒) OTOP Lady โซนพิเศษเฉพาะผู้หญิง “ช้อปสินค้าครบจบในที่เดียว”๓) OTOP ฮาลาล อาทิ น้ำอินทผลัม พฤกษาฟาร์ม จ.กาญจนบุรี, ไชโป๊วหวาน แม่กิมฮวย จ.ราชบุรี, ขนมข้าวเหนียวมะม่วงฟรีซดราย จ.จันทบุรี,มะพร้าวเคลือบช็อกโกแลต จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๔) OTOP เพื่อสุขภาพ ๕) OTOP Premium นำเสนอผลงานศิลปิน OTOP อาทิ งานประดิษฐ์จากดินไทย โดยนางสาวนงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ จังหวัดพิษณุโลก, เครื่องเคลือบเวียงกำหลง โดยนายทัน ธิจิตตัง จังหวัดเชียงราย, ผ้าซิ่นตีนจกโบราณ โดยนายโกมล พานิชพันธ์ จังหวัดแพร่ ๖) OTOP Trader ๗) OTOP หน่วยงานภาคี และ ๘) OTOP ชวนชิม
๓. กิจกรรมนิทรรศการกรมฯ และหน่วยงานภาคี ประกอบด้วย OTOP ออนไลน์ และนิทรรศการ การจัดแสดงและจำหน่ายของ ๒๐ หน่วยงานภาคี
๔. กิจกรรมส่งเสริมการขาย ได้แก่ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง, OTOP Story, กิจกรรมคัดเลือกนักขายมืออาชีพ, กิจกรรมจับรางวัลชิงโชค เพียงช้อปครบทุก ๑,๐๐๐ บาท ลุ้นรับรางวัลสร้อยคอทองคำหนัก ๑ สลึง ทุกวัน ๆ ละ ๑๐ เส้น รวม ๙๐ รางวัล วันสุดท้ายลุ้นรับรางวัลใหญ่ สร้อยคอทองคำหนัก ๕ บาท จำนวน ๕ รางวัล มูลค่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท
๕. กิจกรรมการบริการ เช่น ธนาคาร/ไปรษณีย์, Health & Spa, สนามเด็กเล่น, บริการขนส่งสินค้า ฯลฯ
สำหรับกิจกรรม Highlight ในปีนี้ ได้แก่ ๑) โซนของขวัญปีใหม่ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ของขวัญของฝาก จาก ๔๐ จังหวัด ๒) โซนหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบกับการจำลองชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ๔ ภาค จำนวน ๘ หมู่บ้าน ๓) OTOP Masterpiece นำเสนอผลงานที่มีความโดดเด่น เช่น ผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา จังหวัดนครศรีธรรมราช งานไม้แกะสลัก จังหวัดเชียงใหม่ เรือสำเภาจำลอง จังหวัดชลบุรี ดีบุกกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ๔) ผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวด Knowledge based OTOP (KBO) ๖)โซนตัดเย็บเสื้อผ้า ให้บริการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในงาน
ทั้งนี้ การสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชนในงาน OTOP City 2019 นอกจากจะได้ของขวัญ ของที่ระลึกจากภูมิปัญญาและฝีมือของคนไทยในราคายุติธรรมแล้ว ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่พี่น้อง ในชุมชนทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ ในมาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” ทั้ง ๓ เฟส โดยขยายช่องทางการซื้อสินค้าของประชาชนไปสู่ E-Marketplace ผ่านช่องทางของ thailandpostmart.com ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมสินค้า OTOP จากชุมชน และผลิตผลทางการเกษตร ในระบบ E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นการส่งเสริมการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อยโดยตรงด้วย จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนเลือกซื้อกระเช้าของขวัญและสินค้า OTOP ประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ได้เข้าร่วมมาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” แล้ว และกำลังจะเข้าร่วมโครงการ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนในชนบท เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับฐานรากต่อไป
ด้านนายประวิช สุขุม เลขานุการร่วมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของภาคเอกชนก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากช่วง ๕ ปีมานี้ ทำให้ได้ทราบถึงศักยภาพของพี่น้องคนไทย ที่มีทั้งภูมิปัญญาและวัตถุดิบในการผลิตสินค้าดี ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่ดี ทั้งในแง่การกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และด้านการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนฐานราก โดยในงาน OTOP ปีนี้ ทางคณะเศรษฐกิจฐานราก ได้จัดแสดงผลงานของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี รวมทั้งจะเชิญชวนนักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดังเข้ามาร่วมงาน และขอเชิญชวนทุกท่านมาเลือกของขวัญของฝากจากกระเช้า OTOP หรือจะซื้อไว้เป็นของที่ระลึกก็คุ้มค่ามาก เพราะสินค้ามีแต่ของดีที่มีคุณภาพทั้งนั้น
ขอบคุณข้อมูล
ภาพ/ข่าว :กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๐๕. พช.จับมือสภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้ารณรงค์ปลุกคนไทยสวมใส่ผ้าไทยในโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ร่วมลงนามกับผู้ว่าฯและผู้นำกลุ่มสตรีมาแล้ว 27 จังหวัด เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระพันปีหลวง
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตพรโตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ MOU ตามโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” กับ 4 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย
๓๐๔. สภาสตรีแห่งชาติฯ ชวนชาวเหนือ สวมใส่ผ้าไทยทุกวัน ตามโครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน “แต่งย่องผ้าพื้นเมือง หื้อลือเลืองผ้าถิ่นไทย”
วันที่ 9 ธันวาคม 2562
เวลา 09.00 น.
ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” กับ 4 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยผู้ร่วมลงนามของจังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วย นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางสุดาภรณ์ สงวนสัตย์ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทยเชียงใหม่ นายอาทร พิมชะนก พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ นายอดิศร กำเนิดศิริ รองนายกองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ คุณวรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ และผู้แทนหน่วยงานภาคี รวม 11 หน่วยงาน