๓๖๓. ฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ จัดประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เตรียมพร้อมจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี ๒๕๖๓
วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ สมัยที่ ๒๖ ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ ๒๕๖๑-๒๕๖๔) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องอาหารลียอง ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
สืบเนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กำหนดจัดงานวันสตรีสากลได้กำหนดจัดงานวันสตรีสากลประจำปี ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยในส่วนของสภาสตรีแห่งชาติฯ จะมีการเสวนา โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ในการส่งเสริมผลักดัน พัฒนาศักยภาพของสตรีในทุกมิติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชเสาวณีย์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ได้ทรงมีพระวิริยะ อุตสาหะในนำผ้าไหม ผ้าฝ้ายมาส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพจนเกิดเป็นผ้าไทย เพื่อเป็นการรักษา สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจครัวเรือน และร่วมกัน ปลุกกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่นชนบทก้าวสู่สากล อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้สตรีสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีประเด็นที่ฝ่ายเลขานุการ ขอให้คณะกรรมการได้พิจารณา จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. งานวันสตรีสากล ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓
๒. งานฉลองวันชาติคูเวตปีที่ ๒๙ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๓. Invitation to CSW64,NEW York City ภายใต้แนวคิด Beijing+25 (2020) realization of gender equality and the empowerment of all women and girls, everywhere ระหว่างวันที่ ๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓
๔. Invitation to the 18 women’Sports Festival in Macau ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓
๕. Invitation to the 19 ACWO Board of Directors (๒๐๑๘ – ๒๐๒๐) in Singapore ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๖. Invitation to the Executive Committee Meeting oF ICW in Avignon, France ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี กล่าวว่าสำหรับการประชุมในวันนี้ เป็นการเตรียมพร้อมการดำเนินงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ โดยในการประชุมเปิดโอกาสให้คณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ได้มอบหมายงานให้คณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ เดินทางไปเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศต่างๆ ตามที่ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบหมายงานให้ฝ่ายต่างประเทศพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งการเข้าร่วมงานฉลองวันชาติคูเวตปี ๒๙ ด้วย ทั้งนี้ผลการประชุมฝ่ายต่างประเทศจะรวบรวมสรุปรายงาน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เพื่อรับทราบต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๖๒. สตรีจันทบุรี ผนึกกำลัง ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน สภาสตรีฯ สืบสาน รณรงค์ใส่ผ้าไทย สร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง
วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนรณรงค์การใส่ผ้าไทย กับ นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี โดย มอบหมาย นางสุจิตรา ศรีนาม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี ร่วมลงนาม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสตรี กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ณ โรงแรมนิวแทรเวลลอด์จ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ร่วมลงนาม จำนวน 11 หน่วยงาน
นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย อันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้ง เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ และยังสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดจันทบุรี รวมถึงการส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับแก่กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีต่อไป
นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี นั้น เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาชีพส่วนใหญ่ทำสวนผลไม้ จึงมีความโดดเด่นเรื่องผลไม้นานาชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งผลไม้ และมีความโดดเด่นเรื่องอัญมณี ที่มีภูมิปัญญาในการเจียระไนพลอยของชาวจันทบุรี จนได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งอัญมณี อีกทั้งจังหวัดจันทบุรี ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งความสุข ตามสโลแกนที่ว่า “สุขทุกวันที่จันทบุรี” ในการดำเนินงานโครงการสตรีจันทบุรีร่วมสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นการสนองแนวนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ได้อย่างชัดเจน และได้รับความกรุณาจากท่านรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ทำให้การจัดงานในครั้งนี้มีความสำคัญและโดดเด่นยิ่งขึ้น
นางสุจิตรา ศรีนาม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี ได้ขับเคลื่อนโดยจัดการรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าชาติพันธุ์ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างจริงจัง ทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมและแนวทางการปฏิบัติของข้าราชการในจังหวัดจันทบุรี ที่ต้องแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันยกเว้นวันที่แต่งชุดข้าราชการ เพื่อร่วมกันเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น ทั้งยังเป็นการสร้างยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย ขอขอบคุณสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรมการพัฒนาชุมชน ที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ผ้าไทย ที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน และสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นไทยด้วยการแต่งกาย ให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น การรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศ ร่วมมือร่วมใจกัน ใส่ผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย หากเราไม่ร่วมกันรณรงค์ในความเป็นไทย คนไทยจะมีที่ยืนในผืนแผ่นดินนี้ได้อย่างไรกัน
สุดท้ายนายสมบูรณ์ หอมเอนก. พัฒนาการจังหวัดจันทบุรี ได้กล่าวว่า ในการร่วมมือกันด้วย โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” แม้จังหวัดจันทบุรี จะไม่มีผ้าอัตลักษณ์ที่โดดเด่น แต่จะช่วยกันสนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และพนักงานบริษัท ได้สวมใส่ผ้าไทย ในทุก ๆ วัน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพทอผ้าแก่สตรีทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะองค์กรสตรีของจังหวัดจันบุรี ได้ร่วมส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการสวมใส่ผ้าไทย ทำให้ครอบครัวอบอุ่น สร้างชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืน
ภาพ/ข่าว สำนักงานพัฒนาการจังหวัดจันทบุรี
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๖๑. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับสตรีชาวอุดรธานี รวม 7 หมื่นคน รำบวงสรวง พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในโอกาสวันก่อตั้งเมืองอุดรธานี ๑๒๗ ปี
วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๗.๐๐ น. นางกอบแก้ว คงน้อย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการและสมาชิกร่วมในพิธี
ที่อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เทศบาลนครอุดรธานี จัดให้มีการประกอบพิธีฉลองการก่อตั้งเมืองอุดรธานี เข้าสู่ปีที่ ๑๒๗ เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ และพระเกียรติคุณ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลงประจักษ์ศิลปาคม โดยต้นราชสกุล “ทองใหญ่” ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี
นางกอบแก้ว คงน้อย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการและสมาชิก โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานในพิธี และมีทายาทตระกูลทองใหญ่เชื้อสายของกรมหลวงประจักษ์ฯมาร่วมในพิธี ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีก็มารำบวงสรวงเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๖๐.ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบรางวัลการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง”
วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐น.ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง”โดยมีนางกรแก้ว วิริยะวัฒนาประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติฯกล่าวสรุปรายงานความเป็นมาของโครงการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง” และมี ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯนางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ นายกสมาคมสตรีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางวราภรณ์ ทัตวิมล นายก สวญ.กรุงเทพฯ พร้อมด้วยกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และสมาชิก เข้าร่วมในพิธี ณ ที่ทำการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อาคารพระกรุณานิวาสน์ กรุงเทพฯ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๙. สภาสตรีแห่งชาติฯ ผนึก กรมการพัมนาชุมชน เดินสายขึ้นแม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก รณรงค์ใส่ผ้าไทยชนเผ่า สร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง
เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๓ ณ ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลา ๑๗.๐๐ น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วย นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานกรรมการบริหาร สภาสตรีฯ คณะกรรมการสภาสตรี ร่วมพิธีลงานมบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”กับนายสุวพงศ์ กิตติภัทรพิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนชาวแม่ฮ่องสอน ร่วมกันสวมใส่ผ้าไทยชนเช่า ประกอบด้วย ผ้าไทยใหญ่ ผ้าไทยกะเหรี่ยง/ปาปะเกอยอ ผ้าไทยลีซู นิยมใช้สีสันผ้าสดใส ผ้าไทยมูเซอหรือลาหุแดง ผ้าไทยมูเซอดำหรือลาหุดำ ผ้าไทยม้ง ศึ่งได้้รับการยกย่องว่ามีฝีมือในการปัก และมีทักษะในการทำกระโปรงจีบ ผ้าไทยละเวื้อ มีการแต่งกายด้วยเครื่องประดับ ผ้าไทยกระเหรี่ยงโป นิยมการปักด้วยลูกเดีอย ซึ่งผ้าไทยชนเผ่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพี่น้องชนเผ่าชาติพันธุ์ หลากหลายอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาเป็นเวลาช้านาน มีการสืบสานศิลปวัฒนธรรมผ่านผ้าไทยชนเผ่า ที่มีความงดงามและเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชนเผ่า
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ทรงได้ส่งเสริมและพัฒนาให้การทอผ้าไทยทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ให้เป็นอาชีพเสริมแก่สตรีในยามว่างเว้นจากการทำนา จนเป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบันว่าผ้าไทยได้กลับคืนสู่สังคมไทย ได้รับความนิยมนำมาสวมใส่ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพแก่พี่น้องสตรีทั่วประเทศ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระราชทานพระราชดำรัสองค์แรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ในงานวันสตรีไทย ที่ห้องรอยัลจูบิลี่ เมืองทองธานี ขออัญเชิญพระราชดำรัสบางตอนดังนี้คือ “ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่นที่จะสนองพระเดชพระคุณพระมหากรุณาธิคุณในการรักษาสืบสานและต่อยอดพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสานรักษาและต่อยอดและแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี” ดังนั้นการรณรงค์คนไทยให้สวมใส่_ผ้าไทยทุกวันนอกจากจะเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในระดับครัวเรือนให้เข้มแข็งแล้ว พวกเรายังได้ร่วมกันสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของเราให้ยั่งยืนสืบไป
ดร.วันดี กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอกมีความงดงามทางธรรมชาติ ด้วยมีป่าไม้ แหล่งน้ำ ลำธาร พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มีเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย ด้วยผ้าไทยชนเผ่า ดังนั้นหากพี่น้องประชาชนทั้งจังหวัดร่วมใจกันใส่ผ้าไทยจะทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความสวยงามทั้งธรรมชาติและความสวยงามของวัฒนธรรม อันจะหาที่ไหนเทียบมิได้
นายสุวพงศ์ กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความงดงามทางธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ขอต้อนรับท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและท่านประธานสภาสตรีฯ ที่นำโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน และพี่น้องชาวแม่ฮ่องสอนจะร่วมกันใส่ผ้าไทยเพื่อสืบสานภูมิปัญญาชนเผ่าให้ยั่งยืนสืบต่อยังลูกหลานไทยตราบนานเท่านาน
ภาพ/ข่าว: สำนักงานพัฒนาการชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๘. สภาสตรีแห่งชาติฯ รวมพลัง กรมการพัฒนาชุมชน จับมือพ่อเมืองอยุธยา สนับสนุนผ้าไทย หนุนเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้ชุมชน สภาสตรีแห่งชาติฯ รวมพลัง กรมการพัฒนาชุมชน จับมือพ่อเมืองอยุธยา สนับสนุนผ้าไทย หนุนเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้ชุมชน
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนรณรงค์การใส่ผ้าไทย กับ นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางนวลจันทร์ แย้มศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นางรชตภรณ์ โตดิลกเวชช์ ประธานคณะ กรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำ คณะกรรมการ อำนวยการ และคณะกรรมการกรรมการบริหารฯเข้าร่วมในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท ประชารัฐ จำกัด องค์กรสตรี โดยความร่วมมือครั้งนี้ทุกภาคส่วนจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนให้พี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หันมาใส่ผ้าไทยในทุกวัน ณ โรงแรมอยุธยาริเวอร์วิว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า “การอนุรักษ์ผ้าไทยเป็นวงจรชีวิตของเศรษฐกิจถ้ามีความต้องการผ้าไทยมากทำให้มีการผลิตมากเช่นกัน เป็นกลไกของเศรษฐกิจที่มี Demand Supply ส่งผลให้เกิดความพอใจของคนทอผ้า ผลิตผ้าไทย ลูกหลานก็จะมาสืบทอดกันมากขึ้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราช่วยกันในวันนี้ คือการรักษาภูมิปัญญา เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีความรุ่งเรือง”ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ผมเชื่อมั่นว่า ด้วย DNA ของคนอยุธยา คือ ความจงรักภักดีเพราะผ้าไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ผลิกฟื้นคืนชีพมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้มีพระราชปณิธานที่จะรักษาและต่อยอดให้ดำรงอยู่”
ทั้งนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้อันเชิญกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ใจความว่า “ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่นที่จะสนองพระเดชพระคุณพระมหากรุณาธิคุณในการสืบสานรักษา และต่อยอดพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสานรักษา ต่อยอด และแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชินี”
จากพระราชดำรัสดังกล่าว จะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจังหวัดอื่นๆ ทั้งประเทศได้ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนผ้าไทย ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ เศรษฐกิจฐานรากก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองตามมา
และขอให้ผ้าไทย เจริญรุ่งเรืองเหมือนเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวทิ้งท้าย
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ได้พระราชทานให้ทุกวันที่ ๑ สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย และได้พระราชทานหน้าที่ของสตรีไทย ๔ ประการ คือ ๑) เป็นแม่บ้านที่ดี ๒ ) เป็นแม่ที่ดีของลูก ๓ ) รักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย และ ๔) พัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ซึ่งภารกิจของสภาสตรีแห่งชาติฯ กิจกรรมหลักจะเป็นเรื่องของสตรี มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอาชีพสืบสานโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อได้ทำโครงการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน ทำให้เข้าใจถึงกรรมวิธีการผลิตการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นงานทรงคุณค่าและเป็นงานภูมิปัญญาที่สืบทอดสู่รุ่นหลาน
โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน เป็นการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยความมีอารยธรรมสูงจะบ่งบอกด้วยผ้า เงินเกิดการหมุนเวียน ถ้าสามารถเชิญชวนคนไทยครึ่งประเทศซื้อผ้าไทยเศรษฐกิจก็จะหมุนเวียนสู่ชุมชน “ถ้าไทยไม่ช่วยไทย ใครจะช่วยไทย” โดยในงาน OTOP CITY ที่ผ่านมายอดจำหน่ายประมาณ ๑ ล้านบาท ๑ ใน ๕ มาจากผ้า ผ้าคือหนึ่งในความมั่นคง การรณรงค์ควรเริ่มที่เราก่อน
ด้าน นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวเกี่ยวกับ การส่งเสริมการแต่งกายด้วยผ้าไทย ของหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ว่า เป็นการทำให้ความเป็นไทยนิยมควบคู่ไปอย่างองอาจกับสากลนิยม ไทยนิยม คือ ส่งเสริมผ้าไทย ช่วยกันสวมใส่ผ้าไทยอย่างภาคภูมิใจไม่เขินอายในผ้าไทย ทุกคนช่วยกันใช้ผ้าไทย ให้มากอย่าอาย พวกเราทุกคนร่วมมือกันจะแพร่หลาย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเองเราก็ได้นำเอาเสน่ห์ผ้าไทยมาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม ทำให้การท่องเที่ยงของอยุธยา มีความคึกคักและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้เป็นอย่างดี
ภาพ/ข่าว...สำนักงานพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน ผนึกพลัง กฟภ. ปลุกกระแสนิยม “ผ้าถิ่นไทย” จัดตลาด OTOP หนุนเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งชุมชนทั่วประเทศ
วันนี้ (๑๖ มกราคม ๒๕๖๓) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และนายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีผู้บริหาร จาก 3 หน่วยงานประกอบด้วยนายจาตุรงค์ สุขะเสน รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสายงานต่างๆพร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ
นางประยูรเหล่าสายเชื้อ กรรมการอำนวยการ และ สภาชิกวุฒิสภา นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการ พร้อมคณะกรรมการบริหาร นายกองค์กรและสมาชิก เข้าร่วมพิธี
ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร LED การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงรื้อฟื้นผ้าไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ที่อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ทรงให้ชาวบ้านทอผ้าเพื่อไปตัดชุดฉลองพระองค์และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนให้ชาวบ้านเริ่มอาชีพทอผ้า ถือเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตรกรรม ด้วยความวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาชาญของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทำให้ผ้าไทยทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้ายได้กลับคืนสู่สังคมไทย ได้รับความนิยมจากคนไทยและคนต่างชาติ และโอกาสนี้ กระผมขออันเชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ที่พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสในงานวันสตรีไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ดังว่า พระองค์จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระพันปีหลวง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทย ดังนั้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง กรมฯ จึงได้จัดโครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้ง เป็นการเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้คงอยู่คู่แผ่นดิน ตลอดจนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในเศรษฐกิจฐานรากระดับครัวเรือน ชุมชน เพื่อให้ประชาชนหลุดพ้นความยากจน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพที่ทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ประกอบอาชีพได้ที่บ้าน เป็นการลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานได้อีกด้วย
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ได้พระราชทานให้ทุกวันที่ ๑ สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย และได้พระราชทานหน้าที่ของสตรีไทย ๔ ประการ คือ ๑) เป็นแม่บ้านที่ดี ๒ ) เป็นแม่ที่ดีของลูก ๓ ) รักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย และ ๔) พัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ซึ่งภารกิจของสภาสตรีแห่งชาติฯ กิจกรรมหลักจะเป็นเรื่องของสตรี มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอาชีพสืบสานโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อได้ทำโครงการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน ทำให้เข้าใจถึงกรรมวิธีการผลิตการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นงานทรงคุณค่าและเป็นงานภูมิปัญญาที่สืบทอดสู่รุ่นหลาน ดังนั้น สภาสตรีแห่งชาติฯ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาและจับมือกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยทั่วประเทศและทั่วโลก ซึ่งหากคนไทยร่วมใจกันแต่งกายด้วยผ้าทอไทยเป็นประจำทุกวัน เพียง ๓๕ ล้านคน เฉลี่ยคนละ ๑๐ เมตร จะทำให้เกิดความต้องการผ้าถิ่นไทย ๓๕๐ ล้านเมตร ก่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่ชุมชนคิดเป็นเงินกว่า ๑๐๐ ล้านบาท นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มอาชีพสตรีในชุมชนทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการว่างงาน ปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้ร่วมกันคืนคุณให้แผ่นดิน มาร่วมสวมใส่ผ้าไทยกันทุกวัน
นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่าสืบเนื่องจากพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทย ศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่และให้ชาวโลกได้ชื่นชม ดังนั้น PEA กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยและสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดินร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น ยังส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น ทั้งนี้ ในส่วนของ PEA จะได้รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ทั่วประเทศได้เป็นผู้นำในการร่วมกันสวมใส่ผ้าไทย ก็จะทำให้ความร่วมมือครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และนำพาให้คนไทยเห็นความสำคัญของผ้าไทย เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน
นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โดยความร่วมมือครั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ขอขอบคุณในความกรุณาจากท่านผู้ว่าการ PEA ซึ่งท่านได้ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะขับเคลื่อนรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทย สอดรับกับนโยบายการดำเนินงานของ PEA ที่เป็นผู้นำสิ่งที่ดีสู่ประชาชน อันจะได้นำไปสู่การร่วมกันรณรงค์ให้คนไทยช่วยกัน “ใช้ของไทย กินของไทย แต่งกายด้วยผ้าไทย” อย่าให้ความเป็นไทยห่างหายอย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมาด้วย ๕ ย ผมยาว เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะยาง และสะพายย่าม และท้ายนี้ กรมการพัฒนาชุมชน จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการแต่งกายอันงดงามความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของคนไทย โดยการร่วมกันสวมใส่ผ้าถิ่นไทยเป็นประจำทุกวัน เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน หากท่านใดสนใจสั่งซื้อผ้าถิ่นไทยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมการพัฒนาชุมชน เบอร์โทรศัพท์๐ ๒๑๔๑ ๒๖๖๑ หรือติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทั่วประเทศ”
ภาพ/ข่าว :กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๖. สภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้า จับมือ กรมการพัฒนาชุมชนและจังหวัดลพบุรีพร้อมใจสวมใส่ผ้าไทยกันทั้งเมือง
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕เวลา 14.00 น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ มอบหมายให้นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้แทนประธานสภาสตรีแห่งชาติฯร่วมลงนามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยนายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนรณรงค์การใส่ผ้าไทย กับ นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นางจุรีพร โพธิ์ปภาพันธ์ ประธานชมรมแม่บ้านจังหวัดลพบุรี นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสตรี และกลุ่มผู้แทนสตรีจากทุกอำเภอ โดยตั้งเป้ารณรงค์เชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี หันมาใส่ผ้าไทยกันทุกวันทั้งเมือง ณ โรงแรมลพบุรีอินน์ จังหวัดลพบุรี
นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย อันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้ง เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ และยังสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดลพบุรี รวมพลังในการส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน และจังหวัดลพบุรี ถือเป็นจังหวัดแรกในการรณรงค์ให้มีการแต่งกายทั้งจังหวัด
นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" นี้ จะมีการรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศ ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ การใส่ผ้าไทยทุกผืน ก่อให้เกิดรายได้กระจายไปยังชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีกว่า 90% รายได้ที่เกิดจากการทอผ้าออกจำหน่าย จะสามารถช่วยสตรียกระดับคุณภาพชีวิต ส่งบุตรหลานให้มีโอกาส เล่าเรียน ดูแลครอบครัวได้เมื่อยามเจ็บป่วย สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง หากคนไทยพร้อมใจกันสวมใส่ผ้าไทย ในทุกวันทั้งประเทศจะช่วยเป็นการส่งเสริม การทอผ้าในชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ถ้าคนไทยร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย เพียง 30 ล้านคน จะมีความต้องการใช้ผ้าไทยถึง 30 ล้านเมตร/ปี เฉลี่ยราคาเมตรละ 300 บาท จะมีมูลค่ากว่าปีละ 9,000 ล้านบาท”
นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย มีงานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด คือ งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งจัดขึ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรี กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดลพบุรี โดยได้มีการรณรงค์ ให้หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่ม องค์กร เครือข่ายพัฒนาชุมชน และผู้เข้าร่วมงานแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย จากผ้าทอมัดหมี่ ซึ่งผ้าทอมัดหมี่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับการรณรงค์ส่งเสริมประชาสัมพันธ์การสวมใส่ผ้าไทย ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยทุกฝ่ายมุ่งมั่นขับเคลื่อนให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี หันมาใส่ผ้าไทยในทุกวัน กันทั้งเมือง
โนโอกาสนี้ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ขอเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศ ร่วมใจกันรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมการแต่งกายอันงดงาม ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าทอไทย อันจะนำไปสู่การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน”
ขอบคุณภาพ/ข่าว สำนักงานพัฒนาการจังหวัด ลพบุรี
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๕. สภาสตรีแห่งชาติฯจัดงานวันเด็กแห่งชาติคึกคัก มอบทุนการศึกษา ๒๐๐ ทุนให้เด็กเรียนดีแต่ยากจน
วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๓ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดงาน “วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563” ภายใต้คำขวัญวันเด็กแห่งชาติของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คือ “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” โดยร่วมกับ คณะกรรมการและองค์กรสมาชิก และ ภาคีเครือข่าย มอบทุการศึกษา ๒๐๐ ทุน ณ บ้านพระกรุณานิวาสน์ กรุงเทพฯ
สำหรับเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย เยาวชนปกติทั่วไปกับกลุ่มเด็กพิเศษ/เปราะบาง โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ โรงเรียนราชานุกูล โรงเรียนสอนคนตาบอด โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โรงเรียนศรีสังวาลย์ โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา ตลอดจนเด็กๆจากละแวกชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมด้วยผู้ปกครอง ประมาณ ๕๐๐ คน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่าการจัดงานวันเด็กแห่งชาติภายใต้คำขวัญ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญ“เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” โดย “น้อมนำแนวทางจิตอาสาพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการเป็นผู้ให้ มีจิตใจโอบอ้อมอารี อุทิศตนเพื่อส่วนรวม และรู้ถึงความสำคัญของตนเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ที่มีต่อตนเองละสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ ประธานสภาสตรีแห่งชาติได้นำนโยบายของนายกรัฐมนตรีมากล่าวว่า “ เด็กไทยยุคใหม่ ต้องให้ความสำคัญทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและต้องรู้จักหน้าที่ของความเป็นพลเมืองไทยรับผิดชอบอนาคตประเทศชาติร่วมกันด้วย”
สำหรับบรรยากาศภายในบ้านพระกรุณานิวาสน์ มีกิจกรรมสร้างความสุขสนุกสนานให้กับเด็กๆหลากหลายกิจกรรม เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ น. โดยมีคณะกรรมการจัดงาน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนมอบทุนการศึกษา ประกอบด้วยที่ปรึกษาประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการอำนวย คณะกรรมการบริหาร นายกองค์กร และสมาชิกร่วมมอบทุนการศึกษาจำนวน ๒๐๐ ทุนให้เด็กเรียนดีแต่ยากจน และเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแทรกความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เหล่าน้องๆ หนูๆได้เพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปต่อยอดสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
๓๕๔. กรมการพัฒนาชุมชน รวมพลัง สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือเจ้าเมืองมหาสารคาม รณรงค์สวมใส่ผ้าไทย
วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๓ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนรณรงค์การใส่ผ้าไทย กับ นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นางวริฐา จันทรา ประธานชมรมแม่บ้านจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท ประชารัฐ จำกัด องค์กรสตรี โดยทุกฝ่ายจะมุ่งมั่นขับเคลื่อนให้พี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดมหาสารคาม หันมาใส่ผ้าไทยในทุกวัน ณ โรงแรมวสุ จังหวัดมหาสารคาม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับสภาสตรีขับเคลื่อนโครงการ อนุรักษ์ สืบสาน ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงมีพระปรีชาชาญ พระวิริยะ พระอุตสาหะ ในการรื้อฟื้นผ้าทอไทย ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ให้เป็นอาชีพเสริมจากการทำไร่ทำนาในอดีต จนถึงปัจจุบัน ทำให้ผ้าไทยได้รับความนิยมนำมาสวมใส่ ทั้งจากคนไทยและคนต่างชาติ ผ้าทอไทยเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความสวยงาม มีความโดดเด่นของแต่ละกลุ่ม ทำให้การทอผ้ากลายเป็นอาชีพหลักของกลุ่มสตรีในหลายๆ จังหวัด ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ยังได้พระราชทานพระราชดำรัสในงานวันสตรีไทย เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ ว่า พระองค์จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระพันปีหลวง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทย กรมการพัฒนาชุมชนจึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวมหาสารคาม ร่วมกันสืบสาน รักษา ภูมิปัญญาด้านผ้าไทย ด้วยการสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน อันจะช่วยทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน สร้างความเข้มแข็งแก่ครอบครัวและชุมชน
ดร.วันดี กล่าวว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ได้พระราชทานให้ทุกวันที่ ๑ สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย และยังได้พระราชทานดอกกล้วยไม้แคทรียา ควันสิริกิติ์ เป็นดอกไม้ประจำสตรีไทย นอกจากนี้ยังได้พระราชทานหน้าที่ของสตรีไทย ๔ ประการคือ ๑.เป็นแม่บ้านที่ดี ๒.เป็นแม่ที่ดีของลูก ๓.รักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย ๔.พัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ดังนั้นสภาสตรีแห่งชาติฯ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาและจับมือกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยทั่วประเทศและทั่วโลก หันมาร่วมด้วยช่วยกันใส่ผ้าไทยทุกวัน หากว่าคนไทย ๓๕ ล้านคนร่วมใจกันใส่ผ้าไทย เพียงซื้อผ้าเพิ่มคนละ ๑๐ เมตรละ ๓๐๐ บาท จะเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนกว่า ๑ แสนล้านบาท
นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่า จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ทำการเกษตรและประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร นอกจากนี้ยังสามารถปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สามารถที่จะพัฒนายกระดับให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเส้นไหมได้ในอนาคต นอกจากนี้มหาสารคามยังมีการทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายมาเป็นเวลาช้านานมีภูมิปัญญาของท้องถิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง จังหวัดมหาสารคามมีความพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางแห่งการผลิตไหมดิบในอนาคตอันใกล้นี้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับสภาสตรีขับเคลื่อนโครงการ อนุรักษ์ สืบสาน ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงมีพระปรีชาชาญ พระวิริยะ พระอุตสาหะ ในการรื้อฟื้นผ้าทอไทย ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย ให้เป็นอาชีพเสริมจากการทำไร่ทำนาในอดีต จนถึงปัจจุบัน ทำให้ผ้าไทยได้รับความนิยมนำมาสวมใส่ ทั้งจากคนไทยและคนต่างชาติ ผ้าทอไทยเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความสวยงาม มีความโดดเด่นของแต่ละกลุ่ม ทำให้การทอผ้ากลายเป็นอาชีพหลักของกลุ่มสตรีในหลายๆ จังหวัด ทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ยังได้พระราชทานพระราชดำรัสในงานวันสตรีไทย เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ ว่า พระองค์จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระพันปีหลวง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทย กรมการพัฒนาชุมชนจึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวมหาสารคาม ร่วมกันสืบสาน รักษา ภูมิปัญญาด้านผ้าไทย ด้วยการสวมใส่ผ้าไทยทุกวัน อันจะช่วยทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน สร้างความเข้มแข็งแก่ครอบครัวและชุมชน
ดร.วันดี กล่าวว่า สมเด็จพระพันปีหลวง ได้พระราชทานให้ทุกวันที่ ๑ สิงหาคม เป็นวันสตรีไทย และยังได้พระราชทานดอกกล้วยไม้แคทรียา ควันสิริกิติ์ เป็นดอกไม้ประจำสตรีไทย นอกจากนี้ยังได้พระราชทานหน้าที่ของสตรีไทย ๔ ประการคือ ๑.เป็นแม่บ้านที่ดี ๒.เป็นแม่ที่ดีของลูก ๓.รักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย ๔.พัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ดังนั้นสภาสตรีแห่งชาติฯ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาและจับมือกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยทั่วประเทศและทั่วโลก หันมาร่วมด้วยช่วยกันใส่ผ้าไทยทุกวัน หากว่าคนไทย ๓๕ ล้านคนร่วมใจกันใส่ผ้าไทย เพียงซื้อผ้าเพิ่มคนละ ๑๐ เมตรละ ๓๐๐ บาท จะเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนกว่า ๑ แสนล้านบาท
นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่า จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ทำการเกษตรและประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร นอกจากนี้ยังสามารถปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สามารถที่จะพัฒนายกระดับให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเส้นไหมได้ในอนาคต นอกจากนี้มหาสารคามยังมีการทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายมาเป็นเวลาช้านานมีภูมิปัญญาของท้องถิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง จังหวัดมหาสารคามมีความพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางแห่งการผลิตไหมดิบในอนาคตอันใกล้นี้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ