๓๓๔. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานเชิญผู้แทนสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมประชุมคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓
นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ และนางเยาว์มาลย์ วัชระเรืองศรี คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ โดยมีนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ องค์กรนายจ้าง องค์การลูกจ้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสตรี อาทิ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีผู้อำนวยการกลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สืบเนื่องจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กำหนดจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้แนวคิด “แรงงานสตรี ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความเสมอภาค สู่สังคมไทย” และได้ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จมาประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม ชั้น ๔ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
การประชุม มีประเด็นที่ฝ่ายเลขานุการ ขอให้คณะกรรมการได้พิจารณา จำนวน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย การพิจารณาประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่จะใช้คัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาตามลำดับ ดังนี้
ประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดประเภทของสตรีทำงานดีเด่นไว้ ๘ ประเภท จำนวน ๒๙ รางวัล ประกอบด้วย (เอกสารหมายเลข ๓)
- สตรีนักบริหารดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีเครือข่ายด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๕ รางวัล
- สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น จำนวน ๔ รางวัล
- ศิลปินสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สื่อมวลชนสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีนักวิชาการด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
ทั้งนี้ สาขาสตรีทำงานดีเด่นที่ไม่มีผู้เสนอชื่อในปีที่แล้วประกอบด้วย
สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น (ภาคกลางและภาคใต้) และสตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น รวมทั้งหมด ๓ รางวัล จึงทำให้ผู้ได้รับรางวัลสตรีทำงานดีเด่นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวน ๒๖ รางวัล
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการพิจารณาแล้วเห็นว่าประเภทรางวัล จำนวน ๘ ประเภท มีการกำหนดมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และสามารถนำมากำหนดประเภทรางวัลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ได้ สำหรับจำนวนรางวัลนั้น แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จะไม่มีผู้เสนอชื่อจำนวน ๓ รางวัล แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มีผู้เสนอชื่อและได้รับรางวัลดังกล่าว โดยฝ่ายเลขานุการจึงขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่าประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ดังนี้
๑. กำหนดหลักเกณฑ์และสรรหาคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๒. พิจารณาสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ เข้ารับประทานโล่ รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณในวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๓. รายงานผลการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ ต่อคณะกรรมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมาย การประชุมในวันนี้เป็นการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เพื่อพิจารณาประเภท จำนวนรางวัล คุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย
คุณสมบัติ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเป็น
รายประเภท สาขาของสตรีทำงานดีเด่น ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กำหนด
๒) รายละเอียดหลักเกณฑ์ของแต่ละสาขาที่จะใช้ในการพิจารณา
คัดเลือก ซึ่งจะนำไปกำหนดเป็นน้ำหนักคะแนนในการคัดเลือก
๓) หน่วยงานที่จะเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่นเข้ารับการคัดเลือกโดย
กำหนดหน่วยงานไว้เป็นการเฉพาะของแต่ละประเภทรางวัลที่สามารถเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่น
ทั้งนี้ การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นทั้งหมดคณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคัดกรองเบื้องต้น โดยพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ก่อนและนำคะแนนของผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดไล่ตามลำดับเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในอัตรา ๓ คน ต่อจำนวน ๑ รางวัล สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการขอนำเสนอให้ใช้การกำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินการตามปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด หรือควรมีการปรับปรุงเป็นอย่างไร
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ