๔๗๑. สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ โดยฝ่ายวิชาการ เปิดอบรมเรื่อง รู้ เข้าใจและตระหนักอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) ให้กับองค์กรสมาชิก และประชาชนผู้สนใจฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดการโครงการวิชาการให้ความรู้สู่ประชาชน เรื่อง รู้ เข้าใจและตระหนักอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยนางสาวสุนันท์ โชคดารา ประธานฝ่ายวิชาการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการวิชาการฯ และมี ดร.สุฑาทิพย์ วาทีทิพย์ เลขาธิการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ เข้าร่วมในพิธี ซึ่งผู้เข้ารับการการอบรม ประกอบด้วย นายกสมาคม ผู้แทนองค์กรสมาชิก สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ กรรมการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ และประชาชนผู้สนใจ รวมจำนวน ๖๐ คน โดยได้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่งวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายศรัญ ทองคำ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มาให้ความรู้สร้างภูมิคุ้มกัน การหลอกลวงอาชญากรรมทางไซเบอร์ และในส่วนของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) สำนักงานตำรวจแห่งชาติฯ โดย พลตำรวจโทจิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พลตำรวจตรีอธิป พงษ์ศิวาภัย ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมการเทคโนโลยี และพันตำรวจเอกสุพจน์ พุ่มแหยม ผู้กำกับการ ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมการเทคโนโลยี มอบหมายให้ พันตำรวจโทหญิง สินีนาฏ เชิดชูตระกูลทอง และว่าที่ พันตำรวจตรี กมลภพ หาญเวช สารวัตรกองกำกับการ ๒ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมการเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ควบคู่กับการเตือนภัยเกี่ยวกับอาชญากรรมทางออนไลน์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่มักใช้ ระบบ AI เข้ามาหลอกลวงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเปิดกลลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ , มุกต่างๆที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกลวง รวมถึงวิธีการป้องกันตัวหากเจอสถานการณ์ต่างๆที่กลุ่มคนร้ายอุปโลกน์ขึ้นมา เป็นต้น เพื่อเป็นการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้ประชาชนรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อ
สำหรับบรรยากาศในวันนี้ ผู้เข้ารับการอบรมแสดงความสนใจตลอดเวลาของการจัดอบรม มีการซักถาม และได้รับการคำอธิบายจากวิทยากร จนเป็นที่พึงพอใจ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดการอบรมเรื่อง รู้ เข้าใจและตระหนักอาชญากรรมทางไซเบอร์ ได้ดีสร้างบรรยากาศสนุกสนาน นอกจากนี้ยัง ได้รับความรู้ เท่าทัน ความก้าวล้ำของเทคโนโลยี โดยเฉาพะการใช้ AI หรืออัจฉริยะประดิษฐ์ และการเตือนภัยไซเบอร์ เปิดโปงหลากหลาย AI ที่มิจฉาชีพใช้ลวงเอาเงินจากประชาชนอีกด้วย
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คระกรรมการบริหาร สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ