สภาสตรีแห่งชาติฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการสมาพันธ์สตรีอาเซียน (ACWO) ครั้งที่ ๑๗ และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียนคนใหม่ พร้อมทั้งเทิดพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ อย่างยิ่งใหญ่ : ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๐๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

       สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปภัมภ์ ใน ฐานะประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน วาระ ค.ศ. ๒๐๑๔-๒๐๑๖ (พ.. ๒๕๕๗-๒๕๕๙) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมาพันธ์สตรีอาเซียน (ASEAN Confederation of Women’s Organization-ACWO) ครั้งที่ ๑๗ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการพัฒนาของสหประชาชาติ (United Nations: UN) โดยมีชื่องานว่า “THE UN 2030 SDGS: ACWO LEADING ASEAN WOMEN TOWARDS APROSPEROUS ECONOMY, SOCIAL HARMONY AND SUSTAINABLE ENVIRONMENT.” นำสตรีอาเซียนไปสู่ความมั่งคั่ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสริมสร้างความเข้าใจแก่สมาชิกสมาพันธ์สตรีอาเซียนในเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศและสิทธิสตรี ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดจัดงานขึ้น ๓ วัน ระหว่างวันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ถึง วันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสมุทรปราการ

           เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปภัมภ์ สมัยที่ ๒๕ (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๑) และประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน (ACWO) เป็น ประธานเปิดการประชุมสมาพันธ์สตรีอาเซียน  ACWO ครั้งที่ ๑๗  โดยมีสมาชิกจาก ๑๐ ประเทศในอาเซียน ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศไทย และ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องเรนโบว์ฮอลล์ ชั้น ๑๗ โรงแรมใบหยก สกาย ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

           ทั้งนี้ ก่อนเริ่มการประชุม ดร.วันดี ประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน ได้นำ สมาชิกทั้ง ๑๐ ประเทศ ร่วมยืนแสดงความอาลัยแด่     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้เวลาประมาณ ๑ นาที และต่อจากนั้น ทุกคนในที่ประชุม ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ร่วมกัน

                เวลา ๐๙.๐๐ น.งานเริ่มจากพิธีเชิญธง ACWO ธงสภาสตรีแห่งชาติฯ ธงองค์การสหประชาชาติ และ ธงประเทศสมาชิกสมาพันธ์สตรีอาเซียน ทั้ง ๑๐ ประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ อีต โซเพีย  (H.E. Eat Sophea) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทย และผู้แทนเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ได้แก่ Ms. Wunna Han Minster Ciunsellor, Mr. Khin La Pyae Htun First Secretary The Embassy of the Union of Myanma, Mr. Yuni Rizalina The Embassy of the Republic of Indonesia, Mrs. Suraya Ahmad Pauzi Counsellor The Embassy of Malaysia, คุณยุวดี นิ่มสมบุญ และ คุณเยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ฝ่ายภาครัฐ ประกอบด้วย คุณอุษณี กังวานจิตต์ ผู้ตรวจการทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ คุณวิสิษฐ์ เดชเสน รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คุณรัตนา สัยยะนิฐี ผู้เชี่ยวชาญด้านสตรี คุณพัชรี อาระยะกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ คุณศิริพร โรจนกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนากองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ให้เกียรติร่วมพิธีเชิญธง

           ถัดมา รองศาสตราจารย์ ดร. ชวนี ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีใจความสำคัญว่า .......

“…รัฐบาลไทยได้พยายามผลักดันความเสมอภาคทางเพศเพื่อให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของเป้าหมาย จากแนวทางของ UNที่จะนำสตรีในอาเซียนไปสู่ความมั่งคั่งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำหรับนักท่องเที่ยว ในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึงแม้พวกเราอยู่ในช่วงพิธีระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เราก็มั่นใจว่าจะต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่นดังเดิม ทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรมงานมหกรรมและกีฬา นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เที่ยวชมต่างๆแล้ว ยังจะได้รับประสบการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ซึ่งพระองค์ท่านได้นำพาประชาชนให้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยการสร้างโครงการต่างๆ เช่น ดอยตุง จังหวัดเชียงราย โครงการเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการช่างหัวมัน จังหวัดเพรชบุรี เป็นต้น…”   

           หลังจากนั้น ได้รับเกียรติจาก Ms. Anna-karin jatfors, Deputy Regional Director of UN Women in Thailand ปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อ “2030 UN Sustainable Development Goals: ACWO’s Role” องค์กร UN Women ของสหประชาชาติมองว่า สตรีที่ได้รับโอกาสและสิทธิต่างๆ อย่างเท่าเทียม จะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการพัฒนา ตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) ของสหประชาชาติ  ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่สมาพันธ์สตรีอาเซียน (ACWO) ได้มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนานำไปสู่ความมั่งคั่ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

       ต่อมา คุณประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ปาถกฐาพิเศษ ในหัวข้อ “Better Environment: Better World” ปัจจุบันปัญหาสภาวการณ์โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นเรื่องจำเป็น ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคเอกชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินโครงการที่มีส่วนช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

           จากนั้นเป็น ปาถกฐาพิเศษ โดย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้นำเสนอพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร       มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยมีใจความสำคัญว่า

..พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐเมสสาชูเขตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงครองราชย์ครบ ๗๐ ปี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ซึ่งรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๕,๕๕๐ วัน มีโครงการในพระราชดำริ จำนวน ๔,๕๖๙ โครงการ คิดโดยเฉลี่ยเป็น ๕.๕ วันต่อ ๑ โครงการ และเสด็จไปทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย ...ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยมีหลักง่ายๆ "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" คือ

  1. พอประมาณ คือ พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกิน
  2. มีเหตุผล คือ วิเคราะห์เชิงเหตุผล ประเมินและเข้าใจผลที่จะตามมา
  3. มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง คือ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์

ด้วยเงื่อนไข ๒ ประการ

  1.  เงื่อนไขความรู้ คือ การเรียนรู้ประกอบด้วยความรู้รอบด้านโดยเฉพาะการวางแผนและความระมัดระวังในการจัดการ
  2. เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีศีลมีธรรมมีความซื่อสัตย์อดทนและเฉลียวฉลาดในการดำรงชีพ ...

 

....สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังมีโครงการในพระราชดำริต่างๆมากมาย อาทิ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ที่ตั้งขึ้นสนับสนุนและประชาสัมพันธ์งานฝีมือชาวบ้านอย่างมีระบบแบบแผน หวังให้การศึกษาแก่ชาวชนบทเสริมสร้างทักษะ ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ให้บรรเทาวิกฤตสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นเรื่องชลประทาน การเกษตร และการพัฒนาชนบท สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เกื้อหนุนกัน โดยทรงเน้นเรื่องป่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานไทย ทรงมีพระราชกระแส

 “..พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ…”

ตลอดระยะเวลาทรงครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่างๆ ดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งทุกโครงการล้วนมีจุดมุ่งหมาย คือ ความผาสุก ของประชาชนทั้งสิ้น..”

           ลำดับถัดมา เป็นการนำเสนอผลดำเนินงานและแผนดำเนินงานในอนาคตของสมาชิกสมาพันธ์สตรีอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ภายใต้วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) ของสหประชาชาติ ๑๗ เป้าหมาย ประกอบด้วย การขจัดความยากจน การขจัดความอดอยากสร้างความมั่งคั่งด้านอาหาร ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ สร้างความเท่าเทียมกันทางเพศสตรีและเด็กหญิงทุกคน จัดการน้ำและพร้อมใช้สำหรับทุกคน ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานได้ตามกำลังของตน ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ฯลฯ

           จากนั้น เวลา ๑๔.๐๐ น. ได้แบ่งกลุ่มการประชุม ออกเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อจัดอภิปรายโต๊ะกลม แลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอนโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของเป้าหมาย องค์การสหประชาชาติ (United Nations) และยังเป็นการหารือแนวทางการดำเนินงานของสมาพันธ์สตรีอาเซียน ในเชิงกลยุทธ์ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๗ ๒๐๑๘ โดยหารือเป็นกลุ่มใน ๓ หัวข้อ ดังนี้ ๑. สตรีกับการสร้างพลังด้านเศรษฐกิจ ๒. สตรีกับความสามัคคีในสังคม และ ๓. ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งการหารือดังกล่าวกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ระบุในเรื่องของประเด็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในแต่ละหัวข้อ วิธีการที่จะจัดการปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ องค์การสหประชาชาติ ปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดร.วันดี ประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน ได้เน้นย้ำให้องค์กรสตรีของแต่ละประเทศนำผลจากการหารือครั้งนี้ผลักดันสู่ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุผลอันเป็นประโยชน์ต่อสตรีในแต่ละประเทศต่อไป โดยมี Dr. Husna Binti Sulaiman Executive Director of ACWO Permanent Secretariat ACWO เป็นวิทยากรหลัก

           เวลา ๑๙.๐๐ น. เข้าสู่ งานเลี้ยงแสดงความยินดี และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน (ACWO) ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ในฐานะประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน สมัยที่ ๑๗ วาระ ค.ศ. ๒๐๑๔-๒๐๑๖ (พ.. ๒๕๕๗-๒๕๕๙) ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อ ๓๑ ตุลาคมที่ผ่านมานี้และแสดงความยินดี กับ Dr. Thet Thet Zin ประธานสมาพันธ์สตรีแห่งสหภาพพม่า (Myanmar Women’s Affairs Federation) ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น ประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน สมัยที่ ๑๘ วาระ ค.ศ. ๒๐๑๖-๒๐๑๘ (พ.. ๒๕๕๙-๒๕๖๑) ณ ห้อง Kontent ชั้น ๑๙ โรงแรมใบหยกสกาย

           ทั้งนี้ ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสมาพันธ์สตรีอาเซียน สมัยที่ ๑๗ ได้กล่าวอำลาตำแหน่ง มีใจความสำคัญว่า...

          “..ขอบคุณคณะกรรมการ ACWO และขอบคุณคณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ ด้วย ที่ให้ความร่วมมือในการทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี ในช่วงที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ ตนเองมีความตั้งใจทำงานต่างๆ ให้ออกมาดี เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของทั้งสตรีไทยและสตรีอาเซียน ทั้งนี้อยากฝาก ให้ทุกคนมีความคิดว่ายังมีภารกิจที่เราต้องทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภายนอกอีกมากมาย...

        นอกจากนั้น ภายในงานยังมีจัด นิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกหมู่เหล่า รวม ๔,๕๖๙ โครงการ นิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ นิทรรศกิจกรรมสภาสตรีแห่งชาติฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

         สำหรับ กิจกรรมวันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ คณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ
นำ คณะกรรมการและสมาชิกสมาพันธ์สตรีอาเซียน (ACWO) เข้าชม เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมสถานที่สำคัญด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ยุคสมัยต่างๆ

ผู้เข้าร่วมประชุม สมาพันธ์สตรีอาเซียน (ASEAN Confederation of Women’s Organisation-ACWO) ครั้งที่ ๑๗ ประกอบด้วย

  1. ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติฯ คุณยุวดี นิ่มสมบุญ และ คุณเยาวเรศ ชินวัตร
  2. คณะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ นำโดย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ และ ประธานสมาพันธ์สภาสตรีอาเซียน คุณเบญจมาศ ปริญญาพล รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ, คุณไปรยา บุญมี เลขาธิการ, คุณทิพวรรณ กิตติสถาพร คุณศิริรัตน์ ธำรงธีระกุล รองเลขาธิการ, คุณศรีวรรณ สายฟ้า, คุณสุกัญชญา ตันสุหัช
  3. คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นำโดย คุณจิตรี จิวะสันติการ ประธานคณะกรรมการบริหารฯ

๓.๑ องค์กรสมาชิก ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. มรรยาท รุจิวิชญ์, คุณดารณี เวณุจันทร์, คุณจรรยา มั่งมี, คุณประภาพรรณ ซอหะซัน, คุณนวลจันทร์ สามารถ, Colonel Anyaporn Hinchiranan, คุณวัลลภา  นีละไพจิตร, คุณสุนทรี  หลังทอง, คุณสมจิต  ซอฮะซัน, คุณเกศแก้ว  เจ๊ะโส้

๓.๒ สมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ประกอบด้วย คุณจุฬารัตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, คุณจันทิมา
ยิ่งลือชา, คุณณัฏฐ์ปภาณ จันทร์ละมูล
 

  1. สมาพันธ์สตรีอาเซียน ๑๐ ประเทศ

๔.๑ Women’s Council of Brunei Darussalam (CWBD) นำโดย Datin Hajah Siti Hajar Binti Pokdpss Haji Mohd Yusof President, Dayang Hajah Samsiah Vice President, Hajah Arba'Iah Oksw Abdullah Honorary Secretary, Normah Binti Jurulaki Haji Mohsin Assistant Secretary, Ms. Viviyanti Ali, Hajah Sauyah Binti Haji Kura,
Dyg Hajah Norbanun Binti Awg Haji Ali    

๔.๒ Cambodia Women For Peace and Development นำโดย Mrs. Khloth Tong Phaka President และ Mrs. Sar Sokunthida

๔.๓ National Council of  Women Indonesia นำโดย Mrs. Tantri Dyah Kiranadewi และ Mrs. Sharmila

๔.๔ Lao Women's Union นำโดย Mrs. Sirikit Boupha Vice President (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสตรี), Mrs. Ninpaseuth Xayaphones Director General (อธิบดีกรมกิจการสตรี), Mrs. Souphaphone Phommaseng และ Mr.  Viengkeo Khaopaseuth

๔.๕ The National Council of Women's Organisations Malaysia (NCWO) นำโดย Prof. Dato Dr. Sharifah Hapsah bt Syed Hasan President, Dr. Rashila Binti Ramli Hon Assistant Secretary General, Datin Nursiah Binti Sulaiman Deputy President, Mrs. Dewiana Koy, Datin Saidatul Badru Binti Mohd Said, Dr. Jariah Masud,
Ms. Asmah Binti Jaafar, Ms. Elsie Malujang, Datin Nadzley Noordin
Hon Treasurer, Mrs. Omana Rani Sreenivas Hon Secretary General, Ms. Zalihah bt hj Khalid และ Dr. Husna Binti Sulaiman Executive Director of ACWO Permanent Secretariat

๔.๖Myanmar Women’s Affairs Federation นำโดย Dr. Thet Thet Zin President,
Ms. Khin May Soe Vice President, Ms. Tin Tin Latt Vice President, Ms. Myat Myat Oo Secretary, Dr. Aye Myat Lwin General Secretary, Ms. Khin Aye New Leader
of International Relations, Ms. Khin Sapai Kyi, Ms. Khine Khin Phyu, Ms. Myat Myat Moe
แลMs. Nandar Waide

๔.๗ National Council of Women's of the Philippines (NCWP) นำโดย Ms. Tanjuatco Lina Lutgarda Macarulay Vice President, Ms. Norma J. Lozana Asst Treasurer และ Ms. Barbara T. Anonas

๔.๘ Singapore Council of Women's Organisations (SCWO) นำโดย Ms. Goh Pheck Suan June President, Ms. Hazlina Binte Abdul Halim Ms. HO Shiong Yee Ms. Neo Trina (Liang Zhen) Ms. Joanna Portilla Board Member, Ms. Sara Mei WOO Asst Hon Secretary, Dr. Anamah Tan ACWO ADVISOR VVIP Adviser, Ms. Gan Selina Mary Nee Sahetapy และ Ms. Ong Lee Wha    

๔.๙ Vietnam Women’s Union นำโดย Ms. Tran Thi Anh Thu Executive Committee Member และ Ms. Nguyen Th Minh Thuong Executive Committee Member

๔.๑๐ China (Yunnan) นำโดย Ms. Nongbu Yangzong Vice Chairwoman, Ms. Bi Jing Director, Ms. Li Ludan Deputy Director, Ms. Fuqiong Ms. Wan Min Chairwoman และ Ms. Zheng Liping Vice Director