๑๓๔. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานประเพณีวันกตัญญูบูชาคุณแม่โพสาวหาญ เพื่อเชิดชูวีรกรรมคุณงามความดี
๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

     วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๔๕ น.ที่ วัดโพธิ์สาวหาญ ต.โพธิ์สาวหาญ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย และนายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เป็นประธานการจัดงานประเพณีวันกตัญญูบูชาคุณแม่โพสาวหาญ เพื่อเชิดชูวีรกรรมคุณงามความดีที่กลุ่มชาวบ้านนำโดยแม่โพ แม่พิม สาวสองพี่น้องที่ร่วมกันช่วยพระเจ้าตากต่อสู้พม่าข้าศึก เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ซึ่งกลุ่มสตรีได้จัดงานติดต่อกันมาแล้วหลายปี โดยมี นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายปกรณ์เกียรติ กาฬษร นายอำเภออุทัย หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่ม องค์กร เครือข่ายสตรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง ๑๖ อำเภอเข้าร่วมกิจกรรม

     โดยกิจกรรมประกอบด้วยสมาชิกกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมเข้าแถวกับเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดโพธิ์สาวหาญ ก่อนที่จะมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนัก เรียน จำนวน ๑๔๖ คนๆ ละ ๓๐๐ บาท และมอบเงินบำรุงโครงการอาหารกลางวัน จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท จากนั้นได้ประกอบพิธีเซ่นสรวงดวงวิญญาณ เจ้าแม่โพธิ์สาวหาญ เสร็จแล้ว พระสงฆ์จำนวน ๑๖ รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทานและภัตราหารเพล กรวดน้ำรับพร เป็นอันเสร็จพิธี

     นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ และนายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยา กำลังจะเสียเอกราชเป็นครั้งที่ ๒ แก่พม่านั้น สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ได้ตัดสินพระทัยนำทหารประมาณ ๕๐๐ นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่า ออกจากกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงวัดโพธิ์สังหารแห่งนี้กองทัพพม่าก็เกิดยกทัพตามมาทันจึงเกิดการรบต่อสู้ถึงขั้นตลุมบอนกันขึ้น ขณะสุ้รบกันอยู่พระเจ้าตากอยู่ในวงล้อมของพม่าพลันปรากฎมีวีรสตรีนิรนาม ๒ คน นุ่งโจงกระเบนตะเบ็งมารถือดาบ ๒ มือ วิ่งออกมาฟาดฟันพม่าข้าศึกที่กำลังรุมล้อมจนพระเจ้าตากสินสามารถ ตีฝ่าวงล้อมของพม่าข้าศึกออกไปได้ แต่ปรากฎว่าวีรสตรีนิรนามทั้งสองนั้น ต้องมาสังเวยชีวิตลง ณ ทุ่งโพธิ์สังหารนี้

     ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกู้เอกราชของชาติไทยและทรงขึ้นครองราชฯแล้ว ก็ทรงรำลึกถึงคุณงามความดี ความกล้าหาญเด็ดเดียวยอมสละแม้ชีวิตของวีร สตรีนิรนามทั้ง ๒ คน จึงโปรดทำนุบำรุงบ้านโพธิ์สังหาร และวัดวาอารามขึ้นมาใหม่และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดโพธิ์สาวหาญ” อันหมายถึงหมู่บ้านโพธิ์อันมีวีรสตรีผู้ห้าวหาญ ปัจจุ บันได้สร้างรุปปั้นปูนขึ้น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงคุรงามความดีของวีรสตรีผุ้กล้าหาญทั้งสองที่ยอมสละแม้ชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลานไทยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา โดยศาลเจ้าแม่โพธิ์สาวหาญ ตั้งอยู่ที่วัดโพธิ์สาวหาญ หมู่ที่ ๓ ตำบลโพสาวหาญ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

รายงานข่าว : สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ