๕๗๓. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงศรีสะเกษ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชาวเมืองศรีสะเกษ ๒ หมื่นคน ฟ้อนรำ พิธีส่งมอบผ้าพื้นถิ่นอัตลักษณ์ ๒๒ อำเภอ ในโอกาสครบรอบเฉลิมฉลอง ๒๓๘ ปี เมืองศรีสะเกษ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น.  นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดงานเฉลิมฉลอง ๒๓๘ ปี จังหวัดศรีสะเกษ ในกิจกรรม “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ” ณ บริเวณลานโคปุระ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐  พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล นายสำรวย เกษกุล นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิตร นายวิชัย ตั้งคำเจริญ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ และทีมงาน พร้อมด้วยประชาชนชาวศรีสะเกษเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพียง เพื่อแสดงออกถึงความตระหนักและความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์อันเจริญรุ่งเรืองของเมืองศรีสะเกษ และเสริมสร้างความรักความสามัคคี ตลอดทั้งสืบสานรักษาและต่อยอดมรดกภูมิปัญญาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การทักทอผ้า การแส่วผ้า ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นถิ่นของประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ความสมัครสมานกลมเกลียวของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ

            .ในโอกาสนี้ นางอาหมวย บุษรารังสี นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงศรีสะเกษ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบหมายให้ นาง ศิริพร ไพบูลย์ เลขานุการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงศรีสะเกษ เป็นผู้แทนสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงศรีสะเกษ เชิญพุ่มเกียรติยศ ชาวเมืองศรัสะเกษ เป็นการแสดงออกถึงการสืบสานรักษาและต่อยอดมรดกภูมิปัญญาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การทักทอผ้า ของชนในพื้นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมา ๒๓๘ ปี และนำกรรมการ และสมาชิกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง จำนวน ๓๕ คน ร่วมฟ้อนรำกับชาวศรีสะเกษ จำนวน ๒๐,๐๐๐ คน  ในงาน “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวจังหวัดศรีสะเกษ”      ณ ลานโคปุระ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

      การจัดงานดังกล่าว ได้มีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่ตัวแทนผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรม “ร้อยรักดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวจังหวัดศรีสะเกษ” และส่งมอบผ้าพื้นถิ่นอัตลักษณ์ศรีสะเกษ จาก ๒๒ อำเภอ ในจังหวัดศรีษะเกษความยาว ๒๘๓ เมตร ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อนำไปเก็บรักษาและอนุรักษ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษต่อไป โดยมี นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล นายสำรวย เกษกุล นายวิชัย ตั้งคำเจริญ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดศรีสะเกษ/รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดศรีสะเกษ ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดศรีสะเกษ นายอำเภอทุกอำเภอ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาการอำเภอ กลุ่มวิสาหกิจทอผ้า และพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

 จังหวัดศรีสะเกษ มี วัฒนธรรมการแต่งกาย ที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ๔  กลุ่มชาติพันธุ์ คือ ลาว เขมร ส่วย(กูย) และเยอ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในศรีสะเกษ ต่างมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของศรีสะเกษ คือเสน่ห์ คือความงาม คือมรดกอันทรงคุณค่า ที่บรรพชนคนศรีสะเกษได้รังสรรค์ไว้ให้สะท้อนผ่านภาษา วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และการแต่งกาย อันนำไปสู่วัฒนธรรมอันหลากหลาย ผสมกลมกลืนเป็นชาวศรีสะเกษที่มีความงดงามท่ามกลางความหลากหลายของรูปแบบวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่มีร่วมกันของชาวศรีสะเกษ คือ การทอผ้าซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างไปตามชาติพันธุ์ และมีการสืบสานสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น

นอกจากนี้ การเปิดงาน “ร้อยดวงใจ จากภูมิปัญญาสู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ” ยังเป็นการปลุกชาวศรีสะเกษ ร่วมรักษาอัตลักษณ์ล้ำค่าของดินแดนสี่เผ่าไท ชูของดีความโดดเด่นด้านศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ผ้าทอศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน อีกด้วย

 

แหล่งที่มา : ข้อมูลประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ ประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ กรมประชาสัมพันธ์

                :  ภาพ/ข่าว สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงศรีสะเกษ

เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ดาวน์โหลด