๓๒๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดลำพูน จับมือ ๒๘ องค์กร ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”
๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๒

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๒  เวลา ๑๙.๐๐ น.  นายพงศ์รัตน์  ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ “โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ระหว่างจังหวัดลำพูน และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดลำพูน กับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคีเครือข่าย และภาคประชาสังคม ทั้งหมด ๒๘  องค์กร/หน่วยงาน ได้แก่ แม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน  สภาสตรีจังหวัดลำพูน  ที่ทำการปกครองจังหวัดลำพูน  สำนักงานจังหวัดลำพูน สำนักงานคลังจังหวัดลำพูน  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน  สำนักงานแรงงานจังหวัดลำพูน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดลำพูน  คณะกรรมการสันนิบาตเทศบาลจังหวัดลำพูน ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดลำพูน  เครือข่ายโอทอปจังหวัดลำพูน สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยจังหวัดลำพูน หอการค้าจังหวัดลำพูน สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน  คณะกรรมการคลัสเตอร์สิ่งทอจังหวัดลำพูน  บริษัทประชารัฐ รักสามัคคีลำพูน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดลำพูน ณ เวทีกลาง ในงานสักการะพระนางจามเทวีและงานฤดูหนาว บ้านแม่สารป่าแดด ถนนสายลำพูน - ดอยติ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน

 

                ในการนี้ นางอาภัสรา ธงพิทักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดลำพูน ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อ 1) สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก 2) เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแส ความนิยม การแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง 3) เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ผ้าท้องถิ่นไทยให้คงคู่อยู่ในแผ่นดินสืบไปและยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับกลุ่มสตรีในท้องที่/ท้องถิ่น ลดปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้

 

ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน

เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

 

ดาวน์โหลด