๒๙๔. สภาสตรีแห่งชาติ ร่วมประชุม High level event ที่ สหประชาชาติUN ESCAP เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานความก้าวหน้าของสตรีไทย ในการประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing+ ๒๕ Review
๒๗-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ มอบหมายให้ ดร.ลาลีวรรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติ ฯ นำคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing + ๒๕Review ประกอบด้วย นางศิริรัตน์ ธำรงธีระกุล นางจุฬารัตน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสาวอรยาพร กาญจนจารี โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และ นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ซึ่งการประชุมดังกล่าว กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ โดยมี ประเทศ ผู้แทนจาก Asia-Pacific จำนวน ๔๘ ประเทศ เข้าร่วมประชุมฯ และมีระดับรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม อาทิ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐฟิจิ สาธารณรัฐคิริบาส สาธารณรัฐคีร์กีซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล สาธารณรัฐปาเลา สาธารณรัฐเกาหลี รัฐเอกราชซามัว ราชอาณาจักรไทยตูวาลู สาธารณรัฐวานูอาตู และหมู่เกาะคุก ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย ในเข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Ministerial Conference on the Beijing + ๒๕ Review ว่า ประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (Beijing Declaration and Platform for Action) ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ ๔ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๘ ซึ่งจัดโดยองค์การสหประชาชาติ โดยมีสาระสำคัญปฏิญญาปักกิ่งฯ คือ การประกาศ เจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ ด้วยการระบุประเด็นที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษในการพัฒนาสตรี ๑๒ ประเด็น ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนประเด็นตามปฏิญญาปักกิ่งฯ ด้วยการบูรณาการประเด็นต่างๆ เข้าไปในแผนพัฒนาสตรี ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินการตามปฏิญญาปักกิ่งฯ และแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้ดำเนินการทบทวนผลการดำเนินการตามปฏิญญาปักกิ่งฯ โดยอาศัยข้อมูลการดำเนินการในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา และส่งให้ฝ่ายเลขานุการ คือคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – UNESCAP) โดยมีเนื้อหาที่ระบุถึงความก้าวหน้าทางกฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลไกเชิงสถาบันด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ งบประมาณ การจัดเก็บข้อมูล และการติดตามและประเมินผล ซึ่งเป็นรายงานที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในทุกระดับมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ จากในเวทีการประชุมต่างๆ
นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ รมว.พม. ร่วมรับรอง “ร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี เพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมภายในปี ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การพัฒนาที่เท่าเทียม การขจัดความยากจน การปราศจากความรุนแรง สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานของไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) มีการบูรณาการที่สำคัญผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ซึ่งมีความชัดเจน เชื่อมโยง และสอดคล้องกับกรอบนโยบาย กฎหมาย และแผนพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมบทบาทและพลังสตรี ผ่านการฝึกอบรมต่างๆ การส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายสตรีในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคธุรกิจและภาคสังคมในระดับประเทศและอาเซียน รวมทั้งการพยายามขจัดความยากจน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี และการสนับสนุนและรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรีและเด็กผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง
ดร.ลาลีวรรรณ กาญจนจารี ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติ ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันของสภาสตรีแห่งชาติฯที่จะบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรีและสิทธิมนุษยชนสตรี และเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานของภาคีสมาชิก เพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมภายในปี ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ทั้งนี้การประชุม High level event ที่ สหประชาชาติUN ESCAP จัดขึ้น ในครั้งนี้ มี ประเทศใน ทวีป Asia-Pacific มาประชุมเพื่อ เตรียมการ ประชุมใหญ่ มี่ NewYork ในเดือนมีนาคม ๒๐๒๐ Beijing +๒๕ review
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ