๒๖๘. ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ เข้าพบนายกรัฐมนตรี ในโอกาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. นำ คกก.ขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม ร่วมหารือแนวทางรับมือปัญหาเร่งด่วน กับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ชูประเด็น มุ่งพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบาง
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๒๖  พฤษภาคม ๒๕๖๖ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ  ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูถัมภ์ ในฐานะคณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม (Social Capital Corridor : SCC) เยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำโดย  นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) โดยมี นางสาวศิริพร ไชยสุต นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน และนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรองประธาน  นำเรื่องโครงการ "พื้นที่พิเศษระเบียงสังคม" หรือ SCC (Social Capital Corridor) ปรึกษาปัญหาในการสร้างศักยภาพ "คน" สำหรับการรับมือกับปัญหาสังคมที่สำคัญและเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการป้องกันปัญหาใหม่ๆ ที่อาจมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็งมีคุณธรรมและเป็นสุข อันเป็นนโยบายหลักของประเทศและเป้าหมายสากล ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล

                นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ   กล่าวในฐานะของคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษ SICC "ระเบียงสังคม"Social Capital Corridor THAILAND ว่า  “การเข้าถึงการศึกษา และการสร้างอาชีพ เป็นสิ่งพื้นฐานในการสร้างโอกาสและสร้างความเข้มแข็งให้สตรี พึ่งพาตนเองได้

               นายจุติ กล่าวว่า โครงการ "พื้นที่พิเศษระเบียงสังคม" หรือ SCC (Social Capital Corridor) มีเป้าหมายหลักในการสร้างศักยภาพ "คน" สำหรับการรับมือกับปัญหาสังคมที่สำคัญและเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการป้องกันปัญหาใหม่ๆ ที่อาจมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็งมีคุณธรรมและเป็นสุข อันเป็นนโยบายหลักของประเทศและเป้าหมายสากล โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และองค์กรเพื่อสาธารณะ (PPP - Public Private Partnership) ซึ่งโครงการ SCC มุ่งทำเฉพาะสิ่งที่ "สำคัญ - จำเป็น - เร่งด่วน" เท่านั้น ดังนั้น การดำเนินการจึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนแบบพิเศษจากภาครัฐ โดยวิธีการพิเศษ (ทำนองเดียวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ EEC) เนื่องจากกลุ่มคนใน SCC มีความเปราะบางจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือมีลักษณะปัญหาจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

        นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ ตนพร้อมคณะกรรมการขับเคลื่อน SCC ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการ SCC ในพื้นที่ปฏิบัติการใน กทม. ได้แก่ ชุมชนโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระบรมราชูปถัมภ์ และชุมชนหมู่บ้านร่วมเกื้อ เขตทวีวัฒนา กทม. ซึ่งมีการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบางในชุมชนรวม ๕ มิติ ได้แก่ ๑) มิติเศรษฐกิจ (Economics) ทักษะ อาชีพ รายได้ ๒) มิติการศึกษา (Education) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓) มิติสิ่งแวดล้อม (Environment) ปรับสภาพแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ ๔) มิติความสัมพันธ์ (Engagement) พัฒนาสัมพันธภาพที่ดี และ ๕) มิติด้านคุณธรรม (Ethics) ส่งเสริมคุณธรรมพลังบวก เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาเพื่อ “อยู่รอด เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีความสุข” อีกทั้งมีการระทมทุนจากผู้นำภาคธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบาง โดยมีแผนความร่วมมือและดำเนินการ ๔ ขั้นตอน ซึ่งขณะนี้ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ ๒ แล้ว คือ พิมพ์เขียวแผนดำเนินงานพร้อมลงมือ และคาดว่าใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน จะเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ ๓ โดยจะมีการประเมินผลในไตรมาสที่ ๔ ต่อไป

 

      ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อน SCC ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำ และความเท่าเทียมในสังคม รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยมี นางสาวศิริพร ไชยสุต นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานฯ กราบเรียนแนวทางการขับเคลื่อนงานของ SCC และพื้นที่ดำเนินการ

 

 

เรียบเรียงข่าว :   ดร.อรุณศรี จงเจียมจิตต์

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ

 

 

 

 

 

 

ดาวน์โหลด