สภาสตรีฯนำคณะสื่อมวลชน “ตามรอยผ้าไทย ลมหายใจแม่ของแผ่นดิน” ครั้งที่ ๒ เยือนโคราช ดินแดนย่าโม วีรสตรีไทย
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘

 เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑)
กับนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นางจิตรี จิวะสันติการ ประธานคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ,
นางสาวจรรยา เฮงตระกูล ที่ปรึกษาประธานสภาสตรีฯ, นางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ ประธานสมาชิกสมทบ, นางวราพร พิพิธสุขสันต์ รองเลขาธิการ, คุณศิริรัตน์ ธำรงธีระกุล, คุณสุกัญชญา ตันสุหัช กรรมการอำนวยการ และคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลาง เดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจาก นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดนครราชสีมา และ ดร.อัญมณี วงษ์กาสิทธิ์ กรรมการอำนวยการสภาสตรีฯสมัยที่ ๒๕ โดยนำชมหมู่บ้านผ้าไทย ดังนี้ คือ

๑๐ ตุลาคม เยี่ยมชมบ้านแฝก-โนนสำราญ อำเภอสีดา ซึ่งเป็นชุมชนทอผ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกต้นหูกวาง ปลูกต้นคูณ การสาวไหม การมัดย้อมผ้าให้เป็นลวดลาย การทอผ้า โดยแบ่งหน้าที่การทำงานเป็นรายครัวเรือน เมื่อทอผ้าเป็นผืนได้แล้วก็นำออกจำหน่าย นำรายได้มาแบ่งปันกัน เป็นแบบอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังมีการรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านด้านการแสดงเพื่อต้อนรับแขกผู้มาเยือน

ตำนานบ้านแฝก-โนนสำราญ  บ้านแฝก-โนนสำราญ หนึ่งในหมู่บ้านของอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ดั้งเดิมดินแดนถิ่นนี้มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ที่มีสำเนียงพูดเป็นภาษาโคราช (ไทยเดิ้ง) มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ประกอบอาชีพการเกษตร คือการทำนา ทำไร่ โดยมี นายโต เพรชนอก เป็นผู้นำหมู่บ้านในขณะนั้น

          หลังจากนั้นได้มีกลุ่มคนเดินทางมาจาก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยการนำของ หมื่น นนทลักษณ์ ศรีเชียงหา ได้เข้ามาตั้งรกรากและสร้างบ้านเรือนอยู่ด้วย โดยการเดินทางเข้ามาอยู่ที่บ้านแฝกนี้ ได้มีจำนวนครอบครัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจึงได้แยกออกเป็นอีกหมู่บ้าน ชื่อว่าบ้านโนนสำราญ โดยอาชีพหลักก็คือการทำไร่ทำนา และอีกหนึ่งอาชีพที่มักจะทำหลังฤดูการเก็บเกี่ยวและเป็นอาชีพเสริมที่ชาวบ้านแฝก-โนนสำราญ มีความชำนาญมากก็คือการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหม ซึ่งมีความโดดเด่น คือ การทอผ้าไหมทอมือลายเอกลักษณ์จนมีการขยายพื้นที่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการทอผ้าไหมตลอดมา จนกลายเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

          จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านแฝก-โนนสำราญ ยังควิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การทำมาหากินแบบดั้งเดิม เป็นสังคมเกษตรกรรม สภาพบ้านเรือนไทยสมัยก่อนยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบโบราณยังคงได้รับการสืบทอดต่อกันมาอย่างเหนียวแน่น เช่น ฮีตสอบสอง ครองสิบสี่

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชุมชน การสืบทอดอาชีพการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และ
ทอผ้าไหม ด้วยการเอาเส้นไหมมาทอเป็นผืนผ้าสำหรับตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าให้กับสมาชิกในครัวเรือน เพื่อสวมใส่ในโอกาสสำคัญๆ เช่น ไปทำบุญที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ จากอาชีพเสริมที่ทำหลังการว่างเว้นจากการทำนา กลับกลายมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว เมื่อมีการสืบสานการทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น จึงก่อเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่า มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านจนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการในการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งเข้าประกวดที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร จนได้รับรางวัลมากมาย จึงทำให้ผ้าไหมมัดหมี่บ้านแฝก-โนนสำราญ มีชื่อเสียง โด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จนได้มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านแฝก-โนนสำราญ ขึ้นมา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

ศูนย์รวมผ้าไหม ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหม ที่กลุ่มทอผ้าไหม บ้านแฝก-โนนสำราญได้ใส่ใจในกระบวนการทุกผลิตทุกขั้นตอนและนำมารวบรวมจัดแสดงและจัดจำหน่ายด้วยราคาที่เป็นธรรม ทั้งได้มีการจัดสรรรายได้ให้สมาชิกและชุมชนด้วย ยิ่งทำให้กลุ่มทอผ้าไหมมีความเข้มแข็งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งทำให้การพัฒนาต่อยอดการผลิตผ้าไหมมัดหมี่มีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้นและตรงตามความต้องการของลูกค้าและผู้ที่สนใจเป็นอย่างมากอีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณี วัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าไหมให้ลูกหลานได้เรียนรู้สืบไปด้วย

วัดบ้านแฝกศูนย์รวมจิตใจ ณ หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องชาวบ้านแฝก-โนนสำราญนั่นก็คือ วัดบ้านแฝก เป็นวัดที่มีความสำคัญในการให้ความรู้และผลิตบุคคลากรที่มีความสามารถเข้ารับราชการและทำงานในตำแหน่งต่างๆมากมาย พระครูเกษม สีลาจารย์ เป็นบุคคลสำคัญที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธามาก เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแฝก เป็นพระนักพัฒนา พระนักปฏิบัติ โดยได้นำสร้างโบสถ์ที่มีความวิจิตรงดงาม สร้างหอระฆัง ให้เสร็จภายในหนึ่งปีที่ใช้เงินสร้างเพียง ๗๐๐,๐๐๐ บาท จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน และท่านได้มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ชาวบ้านจึงได้ร่วมสร้างพระเจดีย์ธาตุบรรจุอัฐฐิพระครูเกษม ศิลาจารย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา และที่จอมธาตุได้บรรจุพระบรมสารีธิกธาตุ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดียเพื่อกราบได้ และเป็นศิริมงคลแกชาวบ้านและชาวบ้านแฝก-โนนสำราญ และหมู่บ้านใกล้เคียง

          นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ คือ โปง ซึ่งได้ทำขึ้นตั้งแต่สร้างวัด จะใช้ตีในเวลา 6 โมงเย็น เพื่อเป็นสัญญาณในการทำวัตรเย็นของพระภิกษุสงฆ์ ต้นโพธิ์ อายุกว่า ๑๑๓ ปี ที่ให้ความสงบ ร่มเย็น ใช้เป็นลานวัดลานธรรม สำหรับการสนทนา และเป็นสถานที่ปฏิบัติ นั่งวิปัสสนาของพระสงฆ์ ที่อยู่คู่กับวัดบ้านแฝก-โนนสำราญ มาเป็นเวลาช้านาน

          พร้อมกันนี้ ดร. วันดี ได้นำคณะ แวะเยี่ยมชมโครงการโซลาร์ฟาร์ม บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 1) จำกัด บริษัทในเครือบมจ.เอสพีซีจี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 36 โครงการโซลาร์ฟาร์ม มีกำลังการผลิตขนาด 7.34 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอโนนสูง จ.นครราชสีมา 

๑๑ ตุลาคม เยี่ยมชมชุมชนจะโปะ อำเภอธงชัย ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ มีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีพิพิธภัณฑ์ผ้าของชุมชนที่เก็บสะสมผ้าไว้ เพื่ออนุรักษ์ลายผ้า ซึ่งบางผืนมีอายุกว่า ๑๐๕ ปี

ความเป็นมาของเส้นทางสายไหมบ้านจะโปะ อ.ปักธงชัย บ้านจะโปะ ตำบลเมืองปักอำเภอปักธงชัย เป็นหมู่บ้านเส้นทางสายไหม มีประวัติ ความเป็นมาหลากหลายแตกต่างกันไป บ้านจะโปะชุมชนโบราณของปักธงชัย มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุทธยาเป็นราชธานี เป็นเมืองหน้าด่านสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทอผ้าเป็นหลักทำนา เป็นรอง ค้าขายและอื่นๆ ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านใหญ่ได้มีโอกาสไปสนับสนุนหมู่บ้านให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหม สอบถามไปปรากฎว่าไม่ต้องการย้อมสีไหมแล้วเพราะฝีมือไปไกล ต้องการพัฒนาแปรรูปไหมเป็นของที่ระลึก ลักษณะของผ้าทอพื้นเมืองที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะผ้าไหมพื้นสีเดียว จะมีสีสันสดใสสวยงาม จากหลักฐานที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังของวัดตะคุ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา บริเวณด้านหลังของพระประธาน จะเห็นลวดลายจากผ้าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งมีแบบอย่างลวดลายของภาคเหนือ จากการศึกษาในครั้งนั้นพบว่า มีการอพยพ ประชากรจากภาคเหนือ แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็นช่วงไหนของประวัติศาสตร์ แต่ในปัจจุบันไม่สามารถพบเห็นผ้าพื้นเมืองตามแบบในจิตรกรรมอีกแล้ว เพราะไม่ได้ทอกันมานานสังคมไทยตามชนบทในอดีต เรื่องขัดสนเงินทองเป็นเรื่องปกติ เส้นใยไหมที่หายากพอๆ กับเงินตรา ถูกกำหนดให้มีค่าแทนเงินได้ หากบ้านใดมีเส้นใยไหมไว้ในครอบครอง ถือว่าบ้านนั้นเป็นบ้านที่มีฐานะในชมชนนั้นๆ ดังเส้นใยไหมหรือผ้าไหมจึงมีค่าใช้แทนเงินได้