“วันสตรีไทย” ๒๕๕๙ : อาทิตย์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙

“วันสตรีไทย” ๒๕๕๙

“พลังสตรีไทยทั่วหล้า ใต้พระบารมี ร่วมใจภักดี พระบรมราชินีนาถของแผ่นดิน”

  • วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙

สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการสนับสนุนของ มูลนิธิก้าวหน้าของสตรีแห่งประเทศไทย สมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ และ องค์กรสมาชิก ร่วมกันจัดงาน “วันสตรีไทย” ประจำปี ๒๕๕๙ ภายใต้ แนวความคิด “พลังสตรีไทยทั่วหล้า ใต้พระบารมี ร่วมใจภักดี พระบรมราชินีนาถของแผ่นดิน” เนื่องในโอกาสมหาคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ และในโอกาสมหามงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ซึ่งการจัดงาน “วันสตรีไทย” ครั้งนี้ นับเป็น ปีที่ ๑๔  โดยกำหนดการจัดงาน ๒ วัน ระหว่าง วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกรฎาคม ๒๕๕๙ และ วันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม เมืองทองธานี

  • วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องจูปิเตอร์ ๔ – ๑๐

ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้...

ภาคเช้า ( ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ) ณ ห้องจูปิเตอร์ ๔ - ๗

         ดร.วันเพ็ญ พงษ์เก่า ประธานคณะกรรมการคัดสรรเยาวสตรีไทยดีเด่น พร้อมด้วย นางรชต กุลกำม์ธร ประธานคณะกรรมการตัดสินประกวดออกแบบตัดเย็บผ้าไทย และ พลโทหญิงประคิณันต์ แสงรุ่งเรือง ประธานคณะกรรมการตัดสินประกวดร้องเพลง กล่าวเปิดงาน และเริ่มกิจกรรมการประกวดต่างๆ ดังนี้

  1. การประกวด “เยาวสตรีสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย” เป็นการประกวดที่อยู่ใน โครงการ “เยาวสตรีไทยดีเด่น” ประกอบด้วย
    การประกวด ๔ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมฝีปากไทย, กิจกรรมฝีมือไทย, กิจกรรมรำไทย, กิจกรรมมารยาทไทย เพื่อค้นหาเยาวสตรีไทยดีเด่น ในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน ๑๕ คน โดยแบ่งการประกวดเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย...
    • ระดับ “มัธยมศึกษาตอนต้น” มีผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน ๒๔ คน
    • ระดับ “มัธยมศึกษาตอนปลาย / อาชีวศึกษา (ปวช.)” มีผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน ๓๓ คน
    •  ระดับ “อุดมศึกษา / อาชีวศึกษา (ปวส.)” มีผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน ๗ คน

เยาวสตรีไทยผู้เข้าประกวด และผ่านการตัดสินจะต้องมีคุณสมบัติและความสามารถ ๔ ประการ ดังนี้...

๑.๑ กิจกรรมฝีปากไทย เป็นการพูดต่อหน้าที่ประชุม ใช้เวลาพูดคนละ ๕ นาที จะต้องมีความเหมาะสมของเนื้อหาที่พูด บุคลิกท่าทาง
การแสดงออก พูดได้พอดีเวลา โดยมีหัวข้อ ตามที่จับสลากได้

๑.๒ กิจกรรมฝีมือไทย เป็นการแข่งขันประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การร้อยมาลัย การแกะสลัก

๑.๓ กิจกรรมมารยาทไทย เป็นการประกวดทำความเคารพ กราบไหว้ บุคคลระดับต่างๆ อาทิ การไหว้พระสงฆ์ขณะยืน การไหว้บิดา มารดา ครูอาจารย์ การไหว้ผู้ที่เคารพทั่วไป การไหว้ผู้ที่เสมอกัน การกราบพระสงฆ์

๑.๔ กิจกรรมรำไทย เป็นการเล่นดนตรีไทย การขับร้องเพลงไทย

ผู้เข้าประกวดจะต้องผ่านการแข่งขันทั้ง ๔ กิจกรรม และนำคะแนนทั้ง ๔ กิจกรรม มารวมกัน คณะกรรมการฯ จะเลือกคนที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละกิจกรรม จนกระทั่งได้ผู้ชนะเลิศทั้ง ๑๕ คน

ผลการประกวด มีดังนี้...

  • ระดับ “มัธยมศึกษาตอนต้น” ได้แก่

๑. เด็กหญิงปานวาด ขอเจริญ  โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด

๒. เด็กหญิงพันธษา ฝางคำ  โรงเรียนฤทธิ์ณรงค์รอน กรุงเทพมหานคร

๓. เด็กหญิงอารีรัตน์ เมฆี  โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

๔. เด็กหญิงอุทัยวัลภ์ อินแนม  โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร

๕. เด็กหญิงฐานิดา แซ่ลิ่ว  โรงเรียนพระยามนธาตุศรีพิจิตร์ จังหวัดพิจิตร

  • ระดับ “มัธยมศึกษาตอนปลาย / อาชีวะศึกษา (ปวช.)”

๑. นางสาวกัญญา ตู้พิจิตร์  วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

๒. นางสาวพิมพิรัตน์ คำตุ้ย  โรงเรียนผดุงปัญญา จังหวัดตาก

๓. นางสาวปวริศา สิทธิ  โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่

๔. นางสาวสุมาลี ใสปัน  โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม จังหวัดลพบุรี

๕. นางสาวดวงกมลชนก บุญช่วย โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จังหวัดนครราชสีมา

  • ระดับ “อุดมศึกษา / อาชีวศึกษา (ปวส.)”

๑. นางสาวกนกวรรณ บุญทิพย์ภานนท์  วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

๒. นางสาวกานดา ธิชากรณ์  มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

๓. นางสาววรรษมน วงษ์แสน  วิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

๔. นางสาวดรุณี เรืองเดช  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

๕. นางสาวสุฑาสินี เหาะดอน  วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร

          นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมประกวด ที่ไม่ได้รับรางวัล จำนวน ๔๙ คน ได้รับทุนการศึกษา คนละ ๑,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตรจาก ดร.วันเพ็ญ พงษ์เก่า ประธานคณะกรรมการตัดสินเยาวสตรีสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย

ภาคบ่าย ( ๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ) ณ ห้อง จูปิเตอร์ ๔ - ๑๐

           ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวแสดงความยินดีและมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่างๆ โดยมี นางผานิตย์ มีสุนทร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มอบเงินรางวัลให้ผู้เข้าประกวด

ผู้ชนะการประกวด มีดังนี้...

กิจกรรมที่ ๑ : เยาวสตรีสืบสานวรรณกรรมไทย “การประกวดเรียงความเกี่ยวกับแม่”

  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางสาวจุฑารัตน์ ซื่อตรง  วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๘,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นางสาวจารุวรรณ บุญแสง  โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางสาวแทคริยา ฐิตญาโณ  โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จังหวัดสระบุรี

  • รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร มีจำนวน ๕ รางวัล ได้แก่...

๑. นางสาวลีมน แพน  โรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม จังหวัดตราด

๒. นางสาวเกวลิน ถนอมทอง  โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร

๓. นางสาวนริศรา เชียงแสงทอง  โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี

๔. นางสาวตติยา รวมญาติ  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก

๕. นางสาวนิตยา สารรัตน์  โรงเรียนโซ่พิสัยพิทยาคม จังหวัดบึงกาฬ

 

กิจกรรมที่ ๒ : เยาวสตรีสืบสานเพลงไทย “การประกวดร้องเพลงเกี่ยวกับแม่”

  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

นางสาวเบญจวรรณ ขยายศรี  โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์  กรุงเทพมหานคร

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๘,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

นางสาวทิพวรรณ ขนานใต้  โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๖,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

นางสาวกุลนิษฐ์  บุญสุข  โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี

  • รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร มีจำนวน ๕ รางวัล ได้แก่...

๑. นางสาวรัชฎา พินิจทึก  โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

๒. นางสาวณัฐธิดา บรรเทิงใจ  มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม

๓. นางสาวณัฐชยา ล้ำเลิศหล้า  โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

๔. นางสาวธัญชนก เรืองจุ้ย  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จังหวัดนครปฐม

๕. นางสาวนฤทัย เรืองไพศาล  โรงเรียนสารสาสน์พิทยา กรุงเทพมหานคร

 

กิจกรรมที่ ๓ :  เยาวสตรีจิตอาสา “มีผลงานจิตอาสาโดดเด่นหรือผู้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศ”

  • ผู้ผ่านการคัดเลือก ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร มีจำนวน ๔ รางวัล ได้แก่
  1. นางสาวอารียา พงพันธุ์  โรงเรียนเมตตาวิทยา จังหวัดเพชรบูรณ์
  2. นางสาวขวัญชนก ถึกสุวรรณ  โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด
  3. นางสาววราภรณ์ วงษ์เส วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
  4. นางสาวกชกร ทองจันทร์  โรงเรียนดรุณาราชบุรี จังหวัดราชบุรี

 

กิจกรรมที่ ๔ : การประกวดสุดยอดผ้าไทย ๔ ภูมิภาค

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดกิจกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม คือ

๑. การประกวดผ้าทอผืนงาม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภท “ผ้าไหม”&“ผ้าฝ้าย”

๒. การประกวดผ้าทอเยาวชน ประเภท “ผ้าไหม”

การประกวดสุดยอดผ้าไทย ๔ ภูมิภาค แบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๒ ขั้นตอน ดังนี้...

  • ขั้นตอนที่ ๑ การประกวด ระดับ “ภูมิภาค”

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ๔๓ จังหวัด รวม ๒๑๐ ผืน

ดำเนินการตัดสินพร้อมกันเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ศูนย์ดำเนินการประกวด ๓ ศูนย์ ซึ่ง ประกอบด้วย…

ศูนย์ “ภาคเหนือ” ดำเนินการประกวดที่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

ศูนย์ “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ดำเนินการประกวดที่ ศูนย์การศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี

ศูนย์ “ภาคกลางและภาคใต้” ดำเนินการประกวดที่ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี

  • ขั้นตอนที่ ๒ การประกวด ระดับ “ประเทศ”

มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ๒๔ จังหวัด รวม ๕๖ ผืน

ดำเนินการตัดสินวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

       ในภาคบ่าย หลังจากเสร็จสิ้นการประกวดต่างๆ แล้ว มีการประกาศผลและการมอบรางวัล ณ ห้องจูปิเตอร์ ๑๐ โดย ดร.วันดี กุญชรยาคง
จุลเจริญ
ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ
มอบเกียรติบัตร และ นายทวีป บุตรโพธิ์ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบเงินรางวัลให้ ผู้ชนะการประกวดสุดยอดผ้าไทย ๔ ภูมิภาค ดังนี้…

๔.๑ การประกวดผ้าทอผืนงาม ประเภท “ผ้าไหม”&“ผ้าฝ้าย”

  • ประเภท “ผ้าไหม”
  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            ดร.อุดม สมพร จังหวัดราชบุรี

         (เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นายทวีศักดิ์ ศรีลาไลย์ จังหวัดสุรินทร์

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางสีนวล หมวกทอง จังหวัดอุตรดิตถ์

  • รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นายโกมล พานิชพันธ์ จังหวัดแพร่

 

  • ประเภท “ผ้าฝ้าย”
  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางแว่นแก้ว ภิรมย์ จังหวัดเชียงราย

        (เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            กลุ่มสตรีพัฒนาผ้าทอ แพรกหา จังหวัดพัทลุง

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นางสุนทรี วิชิตนาค จังหวัดสุโขทัย

  • รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางวงษ์ศิลป์ บุราณ จังหวัดชัยภูมิ

 

๔.๒ การประกวดผ้าทอเยาวชน ประเภท “ผ้าไหม”

  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นายอรรถพล แสงหล้า จังหวัดลำพูน

         (เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

             นายธงทอง วันลักษณ์ จังหวัดสุรินทร์

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร 

            นายวริศพล สีเทียม จังหวัดอุตรดิตถ์

  • รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นางสาวเบญจวรรณ กลิ่นยี่สุ่น จังหวัดอุทัยธานี

 

กิจกรรมที่ ๕ : การประกวดออกแบบตัดเย็บผ้าไทย ประเภท “ชุดทำงาน”&“ชุดราตรี”

  • ประเภทชุดทำงาน
  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นายประกาศิต แก้วรากมุข

        (เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นายรัฐพล ทวีศรี

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นางสาวณัฐธิดา พละศักดิ์

  • ประเภทชุดราตรี
  • ผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

           นายอัศไนย แพหิรัญ

         (เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)

  • รองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

            นายกิตติพันธ์ วัชชพันธ์

  • รองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

             นายจุฑา บุญรอด

 

* * * * * * * * * *