๓๒. นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับเชิญร่วมประกอบพิธี "พิธีบายศรีสู่ขวัญ” ให้บุตรชายสมาชิกสมาค ออกไปทำหน้าที่ชายชาติทหาร เพื่อเรียกขวัญ ให้เป็นสิริมงคล ตามวัฒนธรรมอันดีงามของภาคอีสาน

วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมคณะกรรมการและสมาชิกสมาคม ไปร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ หลานชายคุณอุดร รัตน์ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พิธีบายศรีสู่ขวัญ และรำเรียกขวัญ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของภาคอีสาน จัดทำขึ้นเพื่อเรียกขวัญและให้กำลังใจหลานชายที่จะต้องจากไปทำหน้าที่ชายชาติทหารที่กรุงเทพมหานคร จัดทำขึ้นที่ร้านฉำฉาคาเฟ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ประเพณีการสู่ขวัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องขวัญหรือจิตใจอันก่อให้เกิดกำลังใจที่ดีขึ้น ชาวอีสานเห็นความสำคัญทางด้านจิตใจมาก ในการดำเนินชีวิตแต่ละช่วง มักมีการสู่ขวัญควบคู่กันเสมอ จึงพบเห็นการสู่ขวัญทุกท้องถิ่นในภาคอีสาน

การสู่ขวัญ เรียกอีกอย่างว่า การสูดขวัญ หรือการสูดขวน เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน หรือเสริมสิริมงคลแก่บ้านเรือน ล้อเลื่อน เกวียน วัว รถ เป็นต้น การสู่ขวัญจึงเป็นพิธีกรรมหนึ่ง ที่ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบำรุงขวัญถือเป็นการรวมสิริแห่งโภคทรัพย์

ในพิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า พิธีบายศรี พิธีสูดขวัญ หรือบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน และนิยมทำกัน แทบทุกโอกาส จะมีการทำบายศรีประกอบในพิธี โดยเป็นบายศรีแบบดั้งเดิมหรือแบบประยุกต์ ซึ่งการทำบายศรีแบบประยุกต์นี้ จะทำตามจินตนาการของผู้ทำบายศรีให้เกิดความสวยงามวิจิตรพิสดารและสอดคล้องกับความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ โดยชาวอีสานยังคงยึดถือและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน

รายงาน : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑. สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี สนับสนุนและอุดหนุนสินค้า OTOP สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ตามโครงการ"เพื่อนช่วยเพื่อน"

วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี พร้อมคณะ ไปสนับสนุนและอุดหนุนสินค้า OTOP อาหารรสเลิศ คุณภาพดี จากร้านอาหารที่มีคุณภาพจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำมาจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลอุดร จัดโดย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี โดยสามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นำรายได้คืนกลับให้ชาวชุมชน ตามโครงการ"เพื่อนช่วยเพื่อน"

รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๐.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง

เมื่อเวลา ๑๑. ๔๕. น. วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ปรึกษาสภาตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้แทนจังหวัดภาคกลาง ๒๐ จังหวัด ถวายรายงาน และกลุ่มทอผ้า เฝ้ารับเสด็จ

โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระวโรกาสให้สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน ๒๒ ราย เฝ้ารับพระราชทานคำแนะนำ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และงานหัตถกรรมจักสาน ให้มีความร่วมสมัยแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นธรรมชาติและการบอกเล่าเรื่องราวประจำภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งทรงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและแฟชั่นแถวหน้าของเมืองไทยร่วมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มทอผ้าที่เฝ้ารับเสด็จ จำนวน ๕๐ กลุ่ม

จากนั้น ได้ทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดภาคกลาง พร้อมทั้งพระราชทานลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” หนังสือดอนกอยโมเดล หนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กลุ่มสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยเล่มที่ ๒ แก่ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการ OTOP และทอดพระเนตรการแสดงรำแคนรวมญาติชาติพันธุ์พื้นถิ่นภาคกลาง ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของจังหวัดนครปฐม อาทิ กะเหรี่ยง มอญ ไทยโซ่ง ไท-ยวน ลาวเวียง ลาวคลั่ง ลาวใต้

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของคนไทย ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมบัติทางวัฒนธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ การทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ และที่เป็นความตื้นตันใจ เป็นที่ชื่นอกชื่นใจ ทำให้เกิดแรงกล้า แรงศรัทธาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของช่างทอผ้ากลุ่มต่าง ๆ นั่นคือการที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าไทย ให้มีความทันสมัย เป็นที่ต้องการของตลาดสากล โดยทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำ คำปรึกษาให้กับกลุ่มช่างทอผ้าโดยไม่ถือองค์เอง พระหัตถ์ที่ทรงสัมผัสกับเนื้อผ้าและผลงานแต่ละผืน แต่ละชิ้น แต่ละลวดลาย ล้วนทำให้สัมผัสได้ถึงความใส่พระทัยและความตั้งพระทัยมั่นที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอไทยของประชาชนเกิดการพัฒนาต่อยอด



นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระดำริในด้านความยั่งยืนของหัตถศิลป์ หัตถกรรมไทยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการพระราชทานแนวทางการใช้สีจากธรรมชาติในการย้อมผ้า เพื่อไม่เกิดมลภาวะต่อดิน น้ำ และอากาศ อันเป็นพระวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดคุณูปการต่อโลกใบเดียวนี้ ยังความตื้นตันใจและความสำนึกในพระมหากรุณา เป็นการปลุกพลังช่างทอผ้าในการสนองพระดำริด้วยการมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานให้เกิดการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่า และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลางในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รักษาสมบัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป

อีกทั้งยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ศิลปภูมิปัญญาไทยและสร้างความเชื่อมโยงกันในจังหวัดภาคกลาง และเป็นการประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๕๐ กลุ่ม อาทิ “ผ้ามัดหมี่ลายตาขอสับปะรด” จากกลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณบ้านวังคอไห อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ใช้เทคนิคการต่อตีนจกลายดอกแก้วสีชมพูย้อมจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นต้นขนุน สีดำย้อมมะเกลือ สีส้มย้อมจากเมล็ดคำแสด สีเขียวย้อมจากครามทับแก่นขนุน

“ผ้าด้นมือ” จากกลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การสร้างสรรค์เครื่องเรือนเป็นลวดลายชุด “กุหลาบแห่งความรัก” ย้อมครั่งและใช้เทคนิคด้นมือที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอัตลักษณ์ “ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์” บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การนำเปลือกไม้ ใบไม้และครั่งที่มีในถิ่นที่อยู่มาย้อมสีไหม-ฝ้าย แล้วนำมาทอด้วยกี่เอวเป็นผ้าทอ เครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ “ผ้าทอกระเหรี่ยงลายพระอาทิตย์และลายสลับ” จากศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง ส่วนหัวซิ่นจะทอเป็นผ้าพื้น ส่วนซิ่นทอลายมัดหมี่สีแดงอมส้มสลับลายทอยกดอก ส่วนตีนซิ่นทอลายจกแล้วเย็บกับตัวซิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ ได้คิดนวัตกรรมใช้ประโยชน์จากผักตบชวา มาทำให้เกิดมูลค่า สร้างรายได้ ทั้งรักษาสภาพแวดล้อม
โดยผลิตเป็นเส้นใยผักตบชวา นำมาทอผสมกับเส้นใยฝ้าย จะเกิดเป็นเส้นริ้วบางๆ อยู่ในเนื้อผ้ามีเฉดสีเอิร์ธโทน ผ้าซิ่นตีนจกต่อตัว ผ้ายกดอกถมเกสร จากหนานเอฟ ผ้าจกไทยวน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผ้าโบราณ นำมาพัฒนาสีสันและออกแบบลวดลายโดยมีลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็นลายหลักทอขึ้นจากไหมบ้าน สาวด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ, ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน จากวงเดือนผ้าจกไท-ยวน ถักทอด้วยเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ จากพืชที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาสกัดสีแล้วนำเส้นไหมลงไปย้อมเพื่อให้ได้สีสันตามที่ต้องการ ใช้เทคนิคการทอด้วยวิธีการจกนับเส้นไหมทีละเส้นและวิธีการยกมุกหรือการขิด จนเป็นผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนย้อมสีธรรมชาติ

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ผ่านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และตน เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่นทั่วประเทศ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด เพื่อนำไปมอบให้กับช่างทอผ้าฯ ตามพระประสงค์ และในขณะนี้จังหวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานฯ ให้แก่ช่างทอผ้าแล้ว ซึ่งลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” นี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชทานแก่ราษฎร อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย โดยแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ลาย S ที่ท้องผ้า หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแต่ละท้องถิ่น
โดย “ลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S” หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย “ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า” หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข “ลายต้นสนที่เชิงผ้า” หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ อันลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ “ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า” หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน

ด้านตัวแทนกลุ่มช่างทอผ้า ได้กล่าวถึงความรู้สึกภายหลังการรับเสด็จในครั้งนี้ด้วยความปลาบปลื้มตื้นตันใจว่า เป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือ “พระองค์หญิง” เสด็จมาทอดพระเนตรผลงานที่พวกเราตั้งอกตั้งใจทอ ตั้งใจปั้น ตั้งใจวาดลวดลาย สร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีความสวยงามตามลายของบรรพบุรุษในชุมชน/หมู่บ้าน โดยพระองค์ท่านไม่ถือองค์เองเลย ทรงหยิบผ้า ทรงสัมผัสผลงาน แล้วทอดพระเนตร และพระราชทานคำแนะนำให้พวกเราได้ไปพัฒนาต่อยอด ทั้งเรื่องการย้อมผ้าเฉดสีต่างๆ

โดยทรงเน้นย้ำให้ใช้สีธรรมชาติ และปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติให้เพิ่มเติมทดแทนมากขึ้น การใช้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ผสมผสานกับความสมัยใหม่ และการออกแบบชุดที่เข้ากับวัยรุ่น เข้ากับเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่พระองค์ท่านพระราชทานแบบลายผ้า ทั้ง “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” และ “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ทำให้ชีวิตของพวกเราดีขึ้น มียอดการจำหน่ายผ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จนทอ จนผลิตผ้ากันไม่ทันเลยทีเดียว ซึ่งเราทุกคนจะเร่งพัฒนาตามที่พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำ และจะขอเทิดทูนพระองค์ท่านไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ให้เกิดความยั่งยืนกับครอบครัว กับหมู่บ้าน กับชุมชนของพวกเราตลอดไป


เมื่อเวลา ๑๑. ๔๕. น. วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ปรึกษาสภาตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้แทนจังหวัดภาคกลาง ๒๐ จังหวัด ถวายรายงาน และกลุ่มทอผ้า เฝ้ารับเสด็จ

โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระวโรกาสให้สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน ๒๒ ราย เฝ้ารับพระราชทานคำแนะนำ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และงานหัตถกรรมจักสาน ให้มีความร่วมสมัยแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นธรรมชาติและการบอกเล่าเรื่องราวประจำภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งทรงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและแฟชั่นแถวหน้าของเมืองไทยร่วมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มทอผ้าที่เฝ้ารับเสด็จ จำนวน ๕๐ กลุ่ม

จากนั้น ได้ทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดภาคกลาง พร้อมทั้งพระราชทานลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” หนังสือดอนกอยโมเดล หนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กลุ่มสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยเล่มที่ ๒ แก่ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการ OTOP และทอดพระเนตรการแสดงรำแคนรวมญาติชาติพันธุ์พื้นถิ่นภาคกลาง ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของจังหวัดนครปฐม อาทิ กะเหรี่ยง มอญ ไทยโซ่ง ไท-ยวน ลาวเวียง ลาวคลั่ง ลาวใต้

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของคนไทย ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมบัติทางวัฒนธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ การทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ และที่เป็นความตื้นตันใจ เป็นที่ชื่นอกชื่นใจ ทำให้เกิดแรงกล้า แรงศรัทธาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของช่างทอผ้ากลุ่มต่าง ๆ นั่นคือการที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าไทย ให้มีความทันสมัย เป็นที่ต้องการของตลาดสากล โดยทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำ คำปรึกษาให้กับกลุ่มช่างทอผ้าโดยไม่ถือองค์เอง พระหัตถ์ที่ทรงสัมผัสกับเนื้อผ้าและผลงานแต่ละผืน แต่ละชิ้น แต่ละลวดลาย ล้วนทำให้สัมผัสได้ถึงความใส่พระทัยและความตั้งพระทัยมั่นที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอไทยของประชาชนเกิดการพัฒนาต่อยอด



นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระดำริในด้านความยั่งยืนของหัตถศิลป์ หัตถกรรมไทยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการพระราชทานแนวทางการใช้สีจากธรรมชาติในการย้อมผ้า เพื่อไม่เกิดมลภาวะต่อดิน น้ำ และอากาศ อันเป็นพระวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดคุณูปการต่อโลกใบเดียวนี้ ยังความตื้นตันใจและความสำนึกในพระมหากรุณา เป็นการปลุกพลังช่างทอผ้าในการสนองพระดำริด้วยการมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานให้เกิดการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่า และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลางในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รักษาสมบัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป

อีกทั้งยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ศิลปภูมิปัญญาไทยและสร้างความเชื่อมโยงกันในจังหวัดภาคกลาง และเป็นการประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๕๐ กลุ่ม อาทิ “ผ้ามัดหมี่ลายตาขอสับปะรด” จากกลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณบ้านวังคอไห อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ใช้เทคนิคการต่อตีนจกลายดอกแก้วสีชมพูย้อมจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นต้นขนุน สีดำย้อมมะเกลือ สีส้มย้อมจากเมล็ดคำแสด สีเขียวย้อมจากครามทับแก่นขนุน

“ผ้าด้นมือ” จากกลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การสร้างสรรค์เครื่องเรือนเป็นลวดลายชุด “กุหลาบแห่งความรัก” ย้อมครั่งและใช้เทคนิคด้นมือที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอัตลักษณ์ “ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์” บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การนำเปลือกไม้ ใบไม้และครั่งที่มีในถิ่นที่อยู่มาย้อมสีไหม-ฝ้าย แล้วนำมาทอด้วยกี่เอวเป็นผ้าทอ เครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ “ผ้าทอกระเหรี่ยงลายพระอาทิตย์และลายสลับ” จากศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง ส่วนหัวซิ่นจะทอเป็นผ้าพื้น ส่วนซิ่นทอลายมัดหมี่สีแดงอมส้มสลับลายทอยกดอก ส่วนตีนซิ่นทอลายจกแล้วเย็บกับตัวซิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ ได้คิดนวัตกรรมใช้ประโยชน์จากผักตบชวา มาทำให้เกิดมูลค่า สร้างรายได้ ทั้งรักษาสภาพแวดล้อม
โดยผลิตเป็นเส้นใยผักตบชวา นำมาทอผสมกับเส้นใยฝ้าย จะเกิดเป็นเส้นริ้วบางๆ อยู่ในเนื้อผ้ามีเฉดสีเอิร์ธโทน ผ้าซิ่นตีนจกต่อตัว ผ้ายกดอกถมเกสร จากหนานเอฟ ผ้าจกไทยวน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผ้าโบราณ นำมาพัฒนาสีสันและออกแบบลวดลายโดยมีลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็นลายหลักทอขึ้นจากไหมบ้าน สาวด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ, ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน จากวงเดือนผ้าจกไท-ยวน ถักทอด้วยเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ จากพืชที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาสกัดสีแล้วนำเส้นไหมลงไปย้อมเพื่อให้ได้สีสันตามที่ต้องการ ใช้เทคนิคการทอด้วยวิธีการจกนับเส้นไหมทีละเส้นและวิธีการยกมุกหรือการขิด จนเป็นผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนย้อมสีธรรมชาติ

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ผ่านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และตน เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่นทั่วประเทศ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด เพื่อนำไปมอบให้กับช่างทอผ้าฯ ตามพระประสงค์ และในขณะนี้จังหวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานฯ ให้แก่ช่างทอผ้าแล้ว ซึ่งลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” นี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชทานแก่ราษฎร อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย โดยแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ลาย S ที่ท้องผ้า หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแต่ละท้องถิ่น
โดย “ลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S” หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย “ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า” หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข “ลายต้นสนที่เชิงผ้า” หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ อันลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ “ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า” หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน

ด้านตัวแทนกลุ่มช่างทอผ้า ได้กล่าวถึงความรู้สึกภายหลังการรับเสด็จในครั้งนี้ด้วยความปลาบปลื้มตื้นตันใจว่า เป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือ “พระองค์หญิง” เสด็จมาทอดพระเนตรผลงานที่พวกเราตั้งอกตั้งใจทอ ตั้งใจปั้น ตั้งใจวาดลวดลาย สร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีความสวยงามตามลายของบรรพบุรุษในชุมชน/หมู่บ้าน โดยพระองค์ท่านไม่ถือองค์เองเลย ทรงหยิบผ้า ทรงสัมผัสผลงาน แล้วทอดพระเนตร และพระราชทานคำแนะนำให้พวกเราได้ไปพัฒนาต่อยอด ทั้งเรื่องการย้อมผ้าเฉดสีต่างๆ

โดยทรงเน้นย้ำให้ใช้สีธรรมชาติ และปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติให้เพิ่มเติมทดแทนมากขึ้น การใช้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ผสมผสานกับความสมัยใหม่ และการออกแบบชุดที่เข้ากับวัยรุ่น เข้ากับเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่พระองค์ท่านพระราชทานแบบลายผ้า ทั้ง “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” และ “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ทำให้ชีวิตของพวกเราดีขึ้น มียอดการจำหน่ายผ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จนทอ จนผลิตผ้ากันไม่ทันเลยทีเดียว ซึ่งเราทุกคนจะเร่งพัฒนาตามที่พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำ และจะขอเทิดทูนพระองค์ท่านไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ให้เกิดความยั่งยืนกับครอบครัว กับหมู่บ้าน กับชุมชนของพวกเราตลอดไป






๒๙.นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ บรรยายพิเศษ “โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนและประเมินผลทุนหมุนเวียน” เพิ่มศักยภาพกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ให้ข้าราชการ และสมาชิกกองทุนผู้กู้เงินฯ ในจังหวัดพระนครศรีอย

วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยายพิเศษ “ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนและประเมินผลทุนหมุนเวียน ” ให้แก่ข้าราชการ ในสำนักงานพัฒนาชุมชน และสมาชิกกองทุนผู้กู้เงินฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ผู้อํานวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เจ้าหน้าที่กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประเภทเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เข้าร่วมรับฟังอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา โรงแรมคันทารี่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ ขึ้นในกรมการพัฒนาชุมชน โดยกรมฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๒เมษายน ๒๕๕๙ ให้ควบรวมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้ากับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งทำให้การบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ภายใต้การดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการจัดสรรทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นกลไกในการพัฒนาและบริหารประเทศให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ซึ่งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นหนึ่งในทุนหมุนเวียนดังกล่าว โดยมีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานทำหน้าที่กำกับและประเมินทุนหมุนเวียน ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับจังหวัดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
เพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในระดับจังหวัด ให้มีการบริหารกองทุนที่มีประสิทธิภาพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดอ่างทอง ได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน และการประเมินผลทุนหมุนเวียนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปีบัญชี ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานของกองทุนและโครงการที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ประเภทเงินทุนหมุนเวียน และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและพัฒนาการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ต่อไป


รายงานข่าว :สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒๘. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งขาติฯ ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองแบบล้านนา พร้อมเปิดสูตรเด็ดคุณนาย "คั่วแคจิ้นแห้ง" ในรายการ คุณนายจ่ายตลาด ทางสถ

นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งขาติฯ ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองแบบล้านนา เยือนถิ่นวัฒนธรรมแบบล้านนา ชมความสวยของ อุโบสถเงิน หลังแรกของโลก ที่วัดศรีสุพรรณ พร้อมแวะชมงานฝีมือหมู่บ้านเครื่องเงิน ตามหาของอร่อยแบบพื้นเมืองในกาดก้อมวัวลา และเปิดสูตรเด็ดแบบเชียงใหม่ฝีมือคุณนาย “คั่วแคจิ้นแห้ง"



ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๗.สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมเตรียมความพร้อม การจัดงานวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ภายใต้แนวคิด “ พระบารมีส่องหล้า ต่อยอดการพัฒนาสตรีไทย ”

วันนี้ ( ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ) เวลา ๐๙.๐๐ น.ที่ห้องราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๖๕ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ เป็นประธานเปิดการประชุมการเตรียมพร้อมการจัดงานวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยมี นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๗ พร้อมด้วย นางสุฑาทิพย์ วาทีทิพย์ ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๗ และผู้บริหารจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๖. สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมหารือ การเตรียมความพร้อมการจัดงานวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ภายใต้แนวคิด “ พระบารมีส่องหล้า ต่อยอดการพัฒนาสตรีไทย ”

วันนี้ ( ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ) เวลา ๑๓.๐๐ น.ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๖๕ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ และนางพัชรีอาระยะกุล. ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการประชุมการเตรียมพร้อมการจัดงานวันสตรีไทย ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยมี นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๗ และ นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พร้อมด้วย นางสุฑาทิพย์ วาทีทิพย์ ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๗ และผู้บริหารจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมประชุม
สืบเนื่องจากวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ของทุกปีกำหนดให้เป็น “ วันสตรีไทย ” สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ ส่วนราชการ องค์กรสมาชิก จัดงาน“ วันสตรีไทย ” เพื่อให้สตรีไทยทั้งประเทศ เห็นความสำคัญของการการพัฒนาตนเอง การเป็นแบบอย่างของการครองตน ครองคน ครองงาน เพื่อเป็นรากฐานความมั่นคงของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในปี มหามงคล ๒๕๖๕ ได้รับความร่วมมือจาก กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรสมาชิก และภาคีเครือข่าย หนดจัดงานวันสตรีไทยประจำปี ๒๕๖๕ ภายใต้แนวคิด “ พระบารมีส่องหล้า ต่อยอดการพัฒนาสตรีไทย ” ในวันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ TRUE ICON HALL ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การพิจารณาคัดเลือกสตรีไทยทั่วประเทศ ซึ่งมีประวัติและผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของบุคคล ชุมชน และสังคมในภาพรวม ประกอบด้วย สตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓ จำนวน ๘๒ คน สตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๔ จำนวน ๖๘ คน สตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๕ จำนวน ๙๑ คน เยาวสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓ จำนวน ๒๔ คน รวม ๒๖๕ คน เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติฯ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๒๕. สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี นำคณะกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม " จิตอาสาอาสาพระราชทาน“ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕

วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ ที่ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดอุดรธานี สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี นางกอบแก้ว คง นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี พร้อมด้วยกรรมการ และสมาชิกสามสมาคมฯ ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดงาน " จิตอาสาอาสาพระราชทาน “ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดอุดรธานี
โอกาสนี้ นางกฤษณา ธีระวุฒิ ประธานศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดอุดรธานี ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณ ๓ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ที่นำคณะกรรมการและภาคีเครือข่าย ที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาอาสาพระราชทาน และสนับสนุนสินค้า ไม้กวาด ถุงผ้า กาแฟ ที่เป็นผลงานจากฝีมือเด็กในศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเด็ก ๆ อีกด้วย

รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี


๒๔.ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการ และองค์กรสมาชิก ร่วมพิธี กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลและถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕

วันนี้ ( ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ) เวลา ๐๗.๐๐ น. ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปภัมภ์ นำคณะกรรมการ และองค์กรสมาชิก เข้าร่วมพิธี ทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลและถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธี
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำผู้ร่วมพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จำนวน ๓๐ รูป โดยนางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้นำคณะกรรมการพร้อมด้วยผู้แทนองค์กรสมาชิก ร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร เพื่อถวายเป็นพระกุศล โดยได้รับเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร นำพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เดินบิณฑบาต เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติฯ
จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ ถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร และวางแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร และ ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย วางแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
โอกาสนี้ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ วางแจกันดอกไม้เบื้องหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

ลำดับในพิธีต่อมา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำผู้ร่วมพิธีฯ กล่าวถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยมีใจความสำคัญว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ได้ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสืบสานพระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามโครงการจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ทรงเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าในการสมัครใจช่วยเหลือผู้อื่น ทรงยอมเสียสละกำลังพระวรกาย เวลาส่วนพระองค์ และพระสติปัญญา ในการทรงงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ ในขณะเดียวกัน ก็ทรงมุ่งมั่นในการศึกษาในระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งยังทรงสนพระทัยในธรรม ด้วยการเสด็จไปยังวัดต่าง ๆ เพื่อทรงบำเพ็ญพระกุศล อีกทั้งยังได้ทรงสนทนาธรรมกับเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นการส่วนพระองค์ อยู่เป็นเนืองนิจ

"เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ สภาสตรีแห่งชาติ ขอเชิญชวน องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และภาคีเครือข่าย พร้อมด้วยพี่น้องประชาชนร่วมกันถวายความจงรักภักดี ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 29 เมษายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ https://royaloffice.th ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ https://wellwishes.royaloffice.th/ โดยพร้อมเพรียงกัน" นางสุกัญญา ประจวบเหมาะ กล่าว

๒๓. จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นางธิดา ชูโชติ นายกสมาคมสตรีอาเซียนกาฬสินธุ์ เป็น“คนดี ศรีกาฬสินธุ์” เป็นแบบอย่างผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ตามแนวทางค่านิยม ๑๑ ประการ ของผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นางธิดา ชูโชติ นายกสมาคมสตรีอาเซียนกาฬสินธุ์ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ เข้ารับประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเกียรติตามค่านิยม "ทรัพยากรต้องรักษา" ภายใต้โครงการ “คนดีศรีกาฬสินธุ์” ระดับจังหวัด ประจำปี ๒๕๖๕ จากนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ ตามแนวทางค่านิยม ๑๑ ประการ ของผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอแสดงความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่ งกับนางธิดา ชูโชติ นายกสมาคมสตรีอาเซียนกาฬสินธุ์ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการได้รับรางวัลเกียรติยศ “คนดีศรีกาฬสินธุ์” ประจำปี ๒๕๖๕

ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ